รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 23/03/2017 นักวิชาการ: อ.ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ อาจารย์จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
รศ.ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
เมื่อไม่นานมานี้ กรณีการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีแวต (VAT) ร้อยละ 1 กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง หลังจากที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกมาบอกว่า หากขึ้นภาษีแวต จะทำให้รายได้ประเทศเพิ่มขึ้นกว่าแสนล้านบาท พร้อมเสริมว่าถ้าขึ้นภาษีจะเสียสละกันได้ไหม ซึ่งต่อมา นายกรัฐมนตรีบอกว่า เป็นเพียงการอธิบายเกี่ยวกับระบบภาษีอย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา
อ.ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ อาจารย์จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่าภาษีมูลค่าเพิ่มของไทย มีการกำหนดเพดานสูงสุดไว้ที่ร้อยละ 10 ตามประมวลรัษฎากร แต่ไทยไม่เคยเก็บภาษีแวตถึงร้อยละ 10 มีการทำพระราชกฤษฎีกาเก็บที่ร้อยละ 7 ทุกปีเรื่อยมา
เหตุที่ไม่มีการขึ้นภาษีแวต เพราะว่าแวตเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ทุกคนได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะคนจน หรือคนมีรายได้น้อย จะมีสัดส่วนแบกรับภาระมากกว่าคนรวย ดังนั้นรัฐบาลจึงพยายามคงระดับภาษีไว้ในอัตราเดิมตลอด
“แต่มันก็มีแนวคิดเพิ่มภาษีแวตมานานแล้ว เพราะภาระทางการคลังของไทยมีมากขึ้นทุกๆ ปี เราเริ่มเข้าสู่สังคมสูงอายุเรื่อยๆ ต้องมีการทำอะไรกับศักยภาพการเติบโตของประเทศ ต้องลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานมารับมือตรงนี้ ในระยะกลาง 5 ปีต่อไปเราต้องใช้เงินมากขึ้นแน่นอน” อ. ดร. อธิภัทร ระบุ พร้อมชี้ว่าถ้าจะกล่าวว่ารัฐบาลถังแตกก็คงเกินไปหน่อย เพราะเรา ต้องใช้เงินมากขึ้นมารับมือส่วนนี้จริงๆ
อ.ดร.อธิภัทรกล่าวว่า ภาษีมูลค่าเพิ่มถือเป็นแหล่งภาษีใหญ่สุดของประเทศไทย คิดเป็นสัดส่วนแล้วประมาณร้อยละ 26 ของภาษีทั้งหมดที่เก็บได้ รองลงมาคือภาษีเงินได้นิติบุคคล อยู่ที่ร้อยละ 22 ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อยู่ที่ร้อยละ 11
“ปัญหาคือภาษีปัจจุบันเรามีความเป็นธรรมมากน้อยแค่ไหน ภาษีแวตเป็นภาษีถดถอย คนจนรับภาระมาก ไม่เหมือนภาษีเงินได้ที่ต้องให้คนรวยจ่ายมากกว่า” อ. ดร. อธิภัทรกล่าว พร้อมชี้ว่าปัจจุบันไทยมีประชากรในวัยกำลังแรงงานราว 40 ล้านคน แต่ที่เสียภาษีเงินได้จริงๆ มีเพียง 4 ล้านคนเท่านั้น
ปรากฎการณ์นี้เรียกว่า “ฐานภาษีแคบ” มีคนจ่ายภาษีน้อยเนื่องจากมีคนมีรายได้เข้าข่ายเสียภาษีน้อย คนเสียภาษีเงินได้ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือนที่อยู่ในระบบ ขณะที่ไทยมีอาชีพนอกระบบ ฟรีแลนซ์หรือคนที่ทำธุรกิจส่วนตัวจะมีช่องทางหลบเลี่ยงมาก
“ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไทยเราถือว่าเก็บสูง สูงสุดประมาณร้อยละ 30 ของรายได้ แต่เอาเข้าจริงเรามีลดหย่อนเยอะ มีช็อปช่วยชาติ บริจาค หักได้หนึ่งเท่าสองเท่าอะไรก็ว่าไป” อ.ดร. อธิภัทร ระบุ
อ.ดร.อธิภัทรกล่าวว่าไทยยกเว้นรายได้ที่เข้าข่ายเสียภาษีหลายประเภท เช่น รายได้จากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (Capital Gain) ซึ่งไทยไม่เคยมีการเก็บภาษีส่วนนี้มาหลายทศวรรษ เพราะต้องการสนับสนุนตลาดทุน ทั้งๆ ที่หากมีการเก็บภาษีส่วนนี้ ผู้ที่จะได้รับผลกระทบจะเป็นชนชั้นกลางรายได้สูงเป็นส่วนมาก
“เรายกเว้นรายได้ตรงนี้ไปเพราะบอกว่าต้องการสนับสนุนตลาดทุน แต่มันก็มีหลายๆ ประเทศใช้วิธีเก็บภาษีจากเฉพาะนักลงทุนที่ลงทุนระยะสั้น (Short term) คือพวกนักเก็งกำไร ส่วนพวกนักลงทุนจริงๆ ที่ถือครองหุ้นมากกว่า 1 ปี (Long term) เราก็ใช้วิธีไม่เก็บ หรือเก็บภาษีน้อยก็ได้” อ.ดร.อธิภัทรกล่าว พร้อมย้ำว่าเราต้องสร้างความเป็นธรรมให้กับคนจ่ายภาษีปัจจุบันก่อน ต้องจริงจังกับฐานภาษีมากขึ้น
ด้าน รศ.ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงว่าขึ้นลงอัตราภาษีขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐซึ่งโดยทั่วไปถ้ารัฐต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจก็จะลดภาษี แต่ถ้าต้องการ ชะลอไม่ให้ร้อนแรงไปก็ใช้วิธีการขึ้นภาษีก็ได้ อย่างไรก็ตาม สภาพปัจจุบันของเศรษฐกิจไทยยังเปราะบาง จึงไม่น่าจะใช่เวลาที่ต้องขึ้นภาษี
“ผมคิดว่าตอนที่นายกออกมาพูด ตลาดการเงินเขาก็คงงงๆ ยังไม่เชื่อ ผมเองก็คิดว่าไม่น่าจะเป็นได้เพราะมันดูขัดแย้งกัน ขาหนึ่งเราก็จะขึ้นภาษี อีกขาหนึ่งเราใช้จ่ายมาก มีการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐมาก มันเลยดูขัดแย้งกันเอง” รศ.ดร.สมประวิณ กล่าว
แต่ก็เป็นไปได้ว่าอนาคตจะมีแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระบบภาษี ซึ่ง รศ.ดร.สมประวิณเชื่อว่าอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายฐานภาษี จูงใจให้คนจ่ายภาษีมากขึ้น การที่พลเอกประยุทธ์ ออกมาพูดเรื่องภาษีอาจทำให้คนตีความได้ว่ายังไม่ได้จะขึ้น แต่เป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาลจะทำอะไรอย่างหนึ่งหรือเปล่า
“การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ ต้องสื่อสารเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อระบบเศรษฐกิจ ตลาดการเงินมีความระมัดระวังและปรับตัวรวดเร็ว ไม่ใช่สื่อสารแล้วทำเลย ควรวางไปถึงระยะกลางและระยะยาว เพื่อให้ นักลงทุนปรับตัวได้ถูกด้วย” รศ.ดร.สมประวิณ สรุป
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้