รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 15/10/2018 นักวิชาการ: ผศ.ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา ข่าวใหญ่วงการบันเทิงของจีนและระดับโลกคงหนีไม่พ้นการหายตัวไปของดาราสาวจีนชื่อดังเป็นเวลากว่าสามเดือน ซึ่งล่าสุดมีความคืบหน้า ว่าดาราสาวถูกรัฐบาลจีนควบคุมตัวเพื่อสอบสวนคดีการเลี่ยงภาษี แต่ล่าสุดก็ได้รับการปล่อยตัวพร้อมคำสั่งให้เสียภาษีย้อนหลังและค่าปรับอีก 4.2 พันล้านบาท
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า แม้ตัวดาราสาวจะขายสินทรัพย์เพื่อชำระค่าปรับได้เรียบร้อยภายใน 2 วันหลังจากถูกปล่อยตัว แต่ชาวจีนเห็นว่าการหนีภาษีเป็นเรื่องที่น่าอับอายและบทลงโทษนี้ยังถือว่าเบาไปในทางตรงกันข้ามชาวไทยหลายคนเชื่อว่าหากฟ่าน ปิงปิง อยู่ในไทยอาจไม่ถูกสอบสวนหนักขนาดนี้เพราะระบบการเก็บภาษีของประเทศไทยยังมีช่องโหว่
ผศ.ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่าภาษีประเภทที่เรียกว่าภาษีเงินได้แบบเดียวกับกรณีดาราสาวฟ่าน ปิงปิง สำหรับในประเทศไทยสามารถจัดเก็บได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็นตามโครงสร้างเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง
“มีปัจจัยสำคัญหลายอย่างที่ทำให้เราเก็บได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น อย่างที่เรารู้กันว่ามนุษย์เงินเดือนเสียภาษีมากที่สุด ทั้งนี้เพราะเงินเดือนถูกเก็บภาษี ณ ที่จ่าย หลบเลี่ยงยาก แต่ขณะเดียวกันไทยเราก็มีภาคเศรษฐกิจนอกเยอะมาก ซึ่งหลบเลี่ยงภาษีได้ง่าย”
ข้อมูลจากกรมสรรพากรที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้เข้าไปทำวิจัยด้วย เผยว่า ประเทศไทยมีคนเสียภาษีเงินได้จริงๆ ราว 3-4 ล้านคน ขณะที่ประชากรวัยแรงงานมีประมาณ 40 ล้านคน ซึ่งในผู้เสียภาษีเงินได้จริงนี้ๆพบว่ามากกว่าร้อยละ 80 ของผู้เสียภาษีเป็นมนุษย์เงินเดือนในระบบ สูงกว่าสัดส่วนรายได้แรงงาน หรือ Labor income ในบัญชีรายได้ประชาชาติไปมาก สะท้อนให้เห็นว่าการจัดเก็บภาษีเงินได้ของไทยกระจุกตัวอยู่ที่คนกลุ่มเดียว คือกลุ่มมนุษย์เงินเดือน
อาจารย์อธิภัทรกล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยอีกประการที่สำคัญคือการที่กฎหมายภาษีของเราให้ความสำคัญกับเงินได้แต่ละแหล่งไม่เท่าเทียมกัน เช่น บุคคลที่มีรายได้จากเงินเดือน กับบุคคลที่มีรายได้จากเงินปันผลหรือการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เสียภาษีไม่เท่าเทียมกัน ประกอบกับเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายและมาตรการลดหย่อนต่างๆ ซึ่งก็ทำให้ฐานภาษีที่เก็บได้ยิ่งแคบลง
“การจัดเก็บภาษีเงินได้ของเราไม่เปิดโอกาสให้มนุษย์เงินเดือนสามารถหักค่าใช้จ่ายมากนัก มีการกำหนดระดับการหักสูงสุดที่ตายตัว และยังไม่ปรับขึ้นอัตโนมัติตามอัตราเงินเฟ้อ ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าตกลงแล้วประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรมหรือไม่”
อาจารย์อธิภัทรชี้ว่า กฎหมายภาษีไทยไม่สะท้อนการทำงานของคนปัจจุบันเท่าที่ควร เช่นกรณีการแบ่งประเภทละเอียดยิบย่อยในหมวดอาชีพเฉพาะที่มีอัตราการจัดเก็บภาษีไม่เท่าเทียมกัน ทำให้เกิดต้นทุนในการดูแลจัดการโดยกรมสรรพากร และเกิดช่องว่างในการหลบเลี่ยงภาษี และไม่มีความยืดหยุ่นในการหักภาษีเงินได้ ทำให้ภาษีรายได้ที่ควรจะจัดเก็บน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
นอกจากนี้การมีสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี เช่น กองทุน LTF หรือ RMF รวมถึงนโยบายช็อปช่วยชาติ ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้การจัดเก็บภาษีถูกกระจุกตัว อยู่กับคนไม่กี่กลุ่ม โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับประโยชน์จากกองทุนลดหย่อนภาษี
“คำถามคือเรากำลังให้ LTF เพื่อช่วยคนชั้นกลาง หรือคนรายได้น้อยอยู่หรือเปล่า เพราะกลไกที่เราหักลดหย่อนไปตามขั้นบันไดภาษีทำให้คนรวยได้รับการประหยัดทางภาษีมากกว่าคนที่อยู่ขั้นบันไดต่ำกว่า จากข้อมูลเราเห็นว่ากว่าครึ่งหนึ่งของผลประโยชน์ภาษี LTF ไปตกอยู่กับคนรวย Top 5% ของประเทศ”
อาจารย์อธิภัทรชี้ว่า กรมสรรพากรคงไม่สามารถตรวจสอบและเข้าไปติดตามในทุกๆ บัญชีได้ โดยเฉพาะเศรษฐกิจนอกระบบจำนวนมากที่มีอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นควรใช้วิธีการค่อยเป็นค่อยไปอย่างระมัดระวังและใช้วิธีการจูงใจให้คนไทยเริ่มมั่นใจและเข้าสู่ระบบการจัดเก็บภาษีในระบบ
“ต้องกลับมาตั้งคำถามใหม่ว่าภาษีปัจจุบันทำให้คนมีความสุขกับการอยู่ในระบบอีกหรือเปล่า เราควร มีกลไกที่ทำให้คนรู้สึกวางใจในการเข้าระบบภาษีมากขึ้น รัฐบาลควรใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแค่ไหน คุ้มค่าขนาดไหน นอกจากนี้ก็ควรมีความโปร่งใสให้ประชาชนตรวจสอบได้”
กรณี ฟ่าน ปิงปิง เป็นภาพสะท้อนของประเทศที่เอาจริงเอาจังด้านการจัดเก็บภาษี และมีบทลงโทษของผู้ละเมิดกฎหมายอย่างรุนแรง หากไทยมุ่งมั่นจริงจังในมาตรการการจัดเก็บภาษีโดยปฏิบัติต่อผู้เสียภาษีรายได้ทุกกลุ่มทุกประเภทอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม สร้างความมั่นใจให้ผู้เสียภาษี ก็คงจะช่วยให้สามารถยกระดับ การจัดเก็บภาษีในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้