รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 22/10/2018 นักวิชาการ: ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
จากกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก กรณี ครม.เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติป้องกันการ ทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.. ที่กำหนดให้เจ้าของต้องนำสัตว์เลี้ยงไปขึ้นทะเบียน โดยมีค่าธรรมเนียมตัวละ 450 บาท หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 25,000 บาทนั้น นับเป็นความพยายามที่จะควบคุมจัดการทะเบียนสัตว์เพื่อจัดระเบียบและสร้างความรับผิดชอบแก่เจ้าของสัตว์เลี้ยง
แม้ว่าในขณะนี้ ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวถูกตีกลับไปให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาทบทวนใหม่ เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชนจนเกินไป แต่ก็เป็นที่สงสัยว่า ร่าง พ.ร.บ. มีที่มาอย่างไร เงินค่าธรรมเนียมที่ได้จะนำไปจัดการใช้สำหรับอะไร รวมทั้งมีข้อกังวลว่าจะทำให้เกิดการทิ้งสุนัขและแมวมากยิ่งขึ้นเพื่อเลี่ยงค่าธรรมเนียมหรือไม่
ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า เนื่องจาก พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ที่มีการระบุให้องค์กรจัดสวัสดิภาพสัตว์และสถานสงเคราะห์สัตว์ไปขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์ แต่เนื้อหายังไม่ครอบคลุมเรื่องสัตว์จรจัด จึงมีการจัดทำฉบับร่างเพื่อปรับปรุงฉบับนี้ขึ้น โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญในการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง เพื่อแยกแยะสัตว์ที่มีเจ้าของและสัตว์จรจัด โดยเฉพาะสุนัขและแมว
“ธรรมชาติของคนไทยจะเลี้ยงสุนัขแบบปล่อย ไม่อยู่ในขอบเขตบ้าน ทำให้เวลาเจอตามถนนแล้วไม่รู้ว่ามีเจ้าของหรือไม่ แม้จะมีกฎหมายบังคับให้แสดงเครื่องหมายประจำตัวสัตว์เลี้ยง แต่ก็ยังไม่มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ทำให้ยากต่อการจัดการ หากจับไปศูนย์พักพิงสัตว์ ก็จะทำให้เกิดเหตุการณ์ตามหาวุ่นวายได้ แต่ถามว่าราชการทำผิดไหมที่จับไป ก็ไม่ผิด เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสัตว์มีเจ้าของ” ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ชี้ถึงประเด็นปัญหา
การขึ้นทะเบียนเพื่อจัดระเบียบสัตว์เลี้ยง จะทำให้รัฐวางแผนในการเข้าไปให้ความช่วยเหลือเจ้าของได้เต็มที่ และทำให้การทำงานของหน่วยงานง่ายขึ้น หากไม่รู้ว่าสัตว์เลี้ยงที่มีเจ้าของมีจำนวนเท่าไร สัตว์จรจัดมีเท่าไร การจัดหางบประมาณเพื่อมาดูแลสุขภาพ ป้องกันโรค และควบคุมจำนวนก็ทำได้ยาก เมื่อมีสุนัขจรจัดเยอะ ปัญหาที่ตามมาคือโรคติดเชื้อต่างๆ โดยเฉพาะโรคพิษสุนัขบ้า ที่เป็นโรคจากสัตว์สู่คนที่ร้ายแรง รวมทั้งโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ หรือโรคจากเชื้อกลายพันธุ์ที่ติดจากสัตว์สู่คน ซึ่งเป็นสิ่งที่คนมักมองข้ามในสัตว์เลี้ยง
“ปัจจุบันประเทศไทยมีสุนัขจรจัดเกือบ 5 แสนตัว จากการวิจัยพบว่า ถ้าจำนวนสุนัขจรจัดยังเพิ่มขึ้นในอัตรานี้ ในปี 2580 เราจะมีสุนัขจรจัด 5 ล้านตัว ซึ่งตามหลักแล้วเราต้องทำหมันสุนัขให้ได้ 70% ของสุนัขทั้งหมด ถึงจะไม่ทำให้จำนวนเพิ่มขึ้นได้ คิดว่าหากเราจัดระเบียบสัตว์เลี้ยงได้ ปัญหาที่ตามมาก็จะลดลงมาก เพราะรัฐสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ ตัวประชาชนเองมีการเลี้ยงสัตว์แบบรับผิดชอบ หลายๆ ส่วนช่วยกันควบคุมจำนวน และตัดวงจร”
ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ยังได้ยกตัวอย่างประเทศที่จัดการปัญหาสุนัขจรจัดสำเร็จ เช่น ที่สหรัฐอเมริกา ขั้นแรกคือการจัดระเบียบ มีการขึ้นทะเบียนเพื่อแยกแยะสัตว์มีเจ้าของกับจรจัด ขั้นที่สองก็ควบคุมไม่ให้จำนวนเพิ่มขึ้น สุนัขที่มีเจ้าของเวลาขึ้นทะเบียนก็ต้องมีค่าใช้จ่าย ทำให้เจ้าของไม่อยากมีเพิ่มและพาไปทำหมัน เป็นการควบคุมโดยเจ้าของเอง ส่วนสุนัขในศูนย์พักพิง รัฐบาลต้องเข้าไปช่วยควบคุมด้วยการฉีดวัคซีน ทำหมัน และหาบ้านใหม่ให้สุนัขควบคู่กันไป
“แต่ละประเทศก็จะมีกฎระเบียบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในต่างประเทศจะมีค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนค่อนข้างแพง บางประเทศก็มีการลดราคาค่าขึ้นทะเบียนให้แก่สุนัขที่ทำหมันแล้ว บางประเทศขึ้นทะเบียนแล้วไปฉีดวัคซีนฟรี นอกจากนี้ บางประเทศยังต้องทำประกันให้สุนัขเหมือนทำประกันรถ คือถ้ารถเราไปชนคู่กรณีแล้วเราผิด ก็ต้องชำระค่าเสียหายด้วย”
ด้านค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนที่เป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันมาก ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี แสดงทัศนะว่า ในฉบับร่างระบุให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้กำหนดเรื่องนี้ โดยต้องไม่เกิน 450 บาท ซึ่งหมายความว่าอาจจะจัดเก็บน้อยกว่านี้หรือไม่จัดเก็บเลยก็ได้ รวมทั้งให้ท้องถิ่นสามารถกำหนดได้ว่าจะจัดการอย่างไรเพื่อใช้จ่ายงบประมาณนี้ต่อไป
“หากไม่จัดเก็บก็แปลว่าเขาต้องมีงบประมาณเพียงพอที่จะดูแลสัตว์จรจัดในท้องที่ของเขา โดยวัตถุประสงค์สุดท้ายคือต้องไม่เกิดโรคระบาด หรือบางท้องถิ่นอาจกำหนดให้ขึ้นทะเบียนแล้วทำหมันฟรี ฉีดวัคซีนฟรี ก็ทำได้ การที่รายละเอียดตรงนี้ยังไม่ถูกกำหนดออกมาก็ทำให้เป็นประเด็นที่คนตั้งข้อสงสัยกัน ส่วนตัวคิดว่า อปท.มียิบย่อยมาก จึงควรจะมีเกณฑ์หรือหลักการร่วมของแต่ละองค์กร เพื่อที่จะจัดระเบียบ ไม่อย่างนั้นต่างคนก็ต่างทำ”
ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี กล่าวว่า ในส่วนของคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีนโยบายและกิจกรรมที่จะช่วยหน่วยงานราชการและผู้รักสัตว์เลี้ยงเป็นประจำ โดยคณะฯ มีการออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ออกไปตามแหล่งชุมชน เช่น วัด พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเพื่อบริการตรวจสุภาพและทำหมันสัตว์ฟรี หรือที่โรงพยาบาลสัตว์ของคณะฯ ก็มีนโยบายทำหมันในราคาต้นทุน และมีบริการทำหมันฟรีเป็นระยะ ตามโอกาสพิเศษต่างๆ นอกจากนี้ คณะฯ ยังมีการรณรงค์เรื่องการทำหมันสัตว์อายุน้อยก่อนวัยเจริญพันธุ์ เพราะมีงานวิจัยออกมาแล้วว่าถ้าทำหมันสุนัขและแมวในวัยนี้ จะช่วยลดปัญหามะเร็งเต้านมในสัตว์เพศเมีย ลดมะเร็งต่อมลูกหมากและโรคต่อมลูกหมากอักเสบในสัตว์เพศผู้ได้
สำหรับข้อกังวลว่าการมีค่าธรรมเนียมจะทำให้มีคนนำสัตว์เลี้ยงไปทิ้งมากขึ้นหรือไม่นั้น ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ตั้งข้อสังเกตว่า กทม.มีการออกข้อบังคับให้มาขึ้นทะเบียนฟรี โดยมีบริการทั้งฉีดวัคซีนฟรี ทำหมันฟรี ฝังไมโครชิพฟรี มากว่า 10 ปีแล้ว จนปัจจุบันก็ยังทำอยู่ โดยสามารถรับบริการได้ที่สำนักอนามัยในแต่ละเขตพื้นที่ แต่คนจำนวนหนึ่งก็ยังไม่ไปขึ้นทะเบียนกันเพราะกลัวมีภาระต้องรับผิดชอบในฐานะเจ้าของมากขึ้น
“คิดว่าคนที่ทิ้งก็อาจจะมี แต่การขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงในเมืองไทย คิดว่าวันนี้น่าจะถึงเวลาแล้ว อยากให้เราช่วยกันมองที่ส่วนรวมเป็นหลัก ถ้าเทียบกับในประเทศที่พัฒนาแล้ว เขามีการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยงมานานแล้ว และเป็นความประสงค์ของเจ้าของเอง ด้วยซ้ำที่จะปกป้องสัตว์เลี้ยงของตนเองและสามารถตามหาได้เมื่อหายไป ตรงนี้ต้องเป็นความประสงค์ของประชาชนเองด้วย ที่อยากจะมีสัตว์เลี้ยงและ เลี้ยงอย่างมีความรับผิดชอบต่อทั้งตัวสัตว์เองและสังคม”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้