รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 10/12/2018 นักวิชาการ: รศ.ดร.วิชิต คนึงสุขเกษม ที่ปรึกษาอธิการบดีและอดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาฯ
ผลการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียนหรือ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2018 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคมสร้างความประหลาดใจระคนผิดหวังแก่แฟนบอลชาวไทย หลังจากทีมชาติไทยตีเสมอมาเลเซียด้วยประตู 2-2 แต่ก็ต้องตกรอบรองชนะเลิศด้วยกฎประตูทีมเยือน จนเกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ย่อมๆ ในโลกโซเชียล
กระนั้น เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านฟุตบอลหลายเจ้าต่างพากันวิเคราะห์ว่ารูปแบบการเล่นของทีมชาติไทยยังไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับความกดดันเมื่อเข้าสู่ช่วงเวลายิงลูกโทษ ทำให้ยิงพลาด อย่างไรก็ดี ทีมชาติไทยยังมีเวลาเตรียมตัวอีกหนึ่งเดือนก่อนถึงการแข่งขันศึกใหญ่ เอเชี่ยนคัพ 2019 ที่จะจัดขึ้นในเดือนมกราคม 2562 ที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
รศ.ดร.วิชิต คนึงสุขเกษม ที่ปรึกษาอธิการบดีและอดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า รูปแบบการเล่นของทีมฟุตบอลทีมชาติไทยขึ้นๆ ลงๆ อยู่บ่อยครั้ง บางครั้งก้าวถึงจุดที่ประสบความสำเร็จ แต่บางครั้ง ก็ไปไม่ถึงฝัน
“การแข่งขันในเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ ผมมองว่าเกิดจากความกดดันเป็นหลัก ผมไม่อยากโทษ นักเตะ เพราะในสถานการณ์แบบนั้นมันคือเหตุการณ์ที่ชี้เป็นชี้ตาย” อาจารย์วิชิตกล่าว พร้อมเสริมอีกว่าการฝึกจิตใจให้พร้อมรับความกดดัน หรือการสร้างความแข็งแกร่งทางจิตใจคงต้องบรรจุเป็นหนึ่งในการฝึกของนักเตะไทย
อาจารย์วิชิตระบุว่า ความผิดพลาดในเอเอฟเอฟ ซูซูกิ มีหลายประการทั้งจากตัวผู้เล่นเอง และจากรูปแบบการเล่นโดยผู้ฝึกสอนมิโลวาน ราเยวัช ที่ถนัดเกมรับมากกว่าเกมรุก และเป็นที่ขัดใจแฟนบอลชาวไทยที่ชื่นชอบการจู่โจมมากกว่าการตั้งรับ
“เรามีนักเตะที่ผลิตไม่ทัน ในส่วนกองหน้าของเรายิงประตูได้น้อย ถ้าดูจากไทยลีกของเราเห็นได้ชัดว่านักเตะชาวไทยยิงประตูได้น้อยกว่านักเตะต่างชาติ ทีมชาติชุดนี้ก็เห็นได้ชัดว่าประตูที่ได้มาจากกองกลางและกองหลัง ทางที่ดีเราควรพัฒนากองหน้าให้ดีกว่านี้”
อย่างไรก็ตาม อาจารย์วิชิตยังเสริมอีกว่าฝีมือของทีมชาติไทยปัจจุบันยังประเมินได้ยาก คงต้องรอดูในเอเชี่ยนคัพ ซึ่งจะมีนักเตะมาเสริมทัพมากขึ้น
กระนั้น อาจารย์วิชิตระบุว่า ไทยก็ไม่ควรประมาทคู่แข่ง และทะนงตัวว่าทีมชาติไทยเป็นชาติที่เก่งที่สุดในอาเซียน เพราะปัจจุบัน แต่ละชาติก็มีแนวทางในการพัฒนาทีมฟุตบอล อย่างชัดเจน และหากต้องการให้ทีมฟุตบอลของไทยไปให้ถึงฝั่งฝัน จะต้องมีการลงทุนตั้งแต่ระดับเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจน
“เราจะมามัวแต่หาช้างเผือกก็คงไม่ได้ ทุกอย่างต้องเริ่มต้นตั้งแต่เด็ก จะมาพึ่งหาตัวนักเตะเก่งๆ มาเล่นคงไม่ได้ เราต้องลงทุนในเด็ก ทำระบบอคาเดมีชัดเจน”
อาจารย์วิชิตย้ำว่าการขยับขยายให้วงการฟุตบอลของไทยก้าวไปสู่แนวหน้าในนานาชาติ ต้องอาศัยระยะเวลา ณ ตอนนี้มีการเริ่มต้นฝึกฝนในระดับเยาวชนตั้งแต่อายุ
7-8 ขวบ แต่ก็เป็นระบบสร้างเด็กที่ไม่ครบวงจร ยังไม่ใช่ระบบอคาเดมีหรือโรงเรียนกินนอนแบบสโมสรฟุตบอลดังๆ ใช้ปั้นนักฟุตบอลมืออาชีพโดยเริ่มต้นตั้งแต่เด็ก
“ผมเคยไปดูงานที่ประเทศเซเนกัล เป็นประเทศยากจนในแอฟริกา แต่ฟีฟ่าไปสร้างโรงเรียนฟุตบอลให้เขาเฟ้นหานักเรียนมาฝึก เป็นโรงเรียนกินนอน แถมสอนภาษา 4 ภาษาให้แก่เด็ก คือภาษาอังกฤษ สเปน อิตาลี เยอรมัน สอนเพื่อให้เด็กเหล่านี้พอโตขึ้นจะได้ไปเล่นในประเทศที่มีลีกฟุตบอลใหญ่ๆ ทุกวันนี้คุณดูสิ มีนักเตะ ชาวเซเนกัลในลีกเหล่านี้มากแค่ไหน” ปัญหาด้านงบประมาณอาจเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้สมาคมฟุตบอลยังไม่สามารถจัดทำโรงเรียนฟุตบอลในระบบอคาเดมีได้ แต่อาจารย์วิชิตชี้ว่าสโมสรฟุตบอลในไทยต้องเป็นกำลังอีกส่วนในการจัดตั้งโรงเรียนหรือระบบฝึกที่ปูพื้นฐานนักฟุตบอลตั้งแต่วัยเด็ก และอาศัยการร่วมมือกันของทั้งภาคเอกชนและสโมสรฟุตบอลแห่งประเทศไทย
“ผมเชื่อว่าถ้าเราทำอคาเดมีที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพเทียบเท่ากับอะคาเดมีต่างชาติ ทั้งในด้านการฝึกฝน การเรียนการสอนจากครูที่มีความเชี่ยวชาญ ใช้เวลาประมาณ 10 ปี วงการฟุตบอลไทยจะเกิดความเปลี่ยนแปลงแน่นอน คำถามคือเมื่อไรเราจะเริ่ม ทุกวันนี้มีแล้วแต่ไม่สมบูรณ์ ไม่ใช่โรงเรียนฝึกสอนเอาจริงเอาจังอย่างที่ควรจะเป็น”
ดังนั้น ก้าวต่อไปของวงการฟุตบอลไทย คงต้องอาศัยเวลา คงเกิดขึ้นปุบปับไม่ได้ อาจารย์วิชิตยกตัวอย่างความสำเร็จของลีกญี่ปุ่นที่ทุกวันนี้สามารถเอาชนะไทยได้อย่างหมดจด ทั้งๆ ที่เมื่อ 30-40 ปีก่อน วงการฟุตบอลของญี่ปุ่นยังตามหลังไทย แต่หลังจากมีระบบปั้นเยาวชน ก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน
“ค่อยๆ สะสม ใจเย็นๆ อย่ารีบร้อน ค่อยๆ ทำแบบที่ผมบอก จะเห็นผลแน่นอน” อาจารย์วิชิตทิ้งท้าย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้