รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 21/01/2019 นักวิชาการ: รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ
สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก พีเอ็ม 2.5 ในกรุงเทพมหานครและเขตเมืองใหญ่ของประเทศไทยในขณะนี้สร้างความตื่นกลัว เรื่องอันตรายและความตื่นตัว เกี่ยวกับวิธีการรับมือป้องกันภัยไม่ว่าจะเป็นการหาซื้อหน้ากากและผ้าปิดหน้าจนขาดตลาดไปจนถึงการเรียกร้อง ให้รัฐบาลมีมาตรการจัดการปัญหาอย่างเร่งด่วน
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้จัดเวทีแสดงทัศนะโดยคณาจารย์และนักวิชาการในหัวข้อ “จุฬาฯ ฝ่าวิกฤติรับมือฝุ่น PM 2.5” เพื่อไขข้องใจในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยระบุปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กพีเอ็ม 2.5 ขึ้นในขณะนี้ว่ามาจากหลายสาเหตุ ทั้งจากสภาพอากาศในช่วงเปลี่ยนฤดู ไม่มีลมพัด ฝุ่นจึงไม่ระบายออกเหมือนในช่วงเวลาอื่นๆ รวมถึงการปล่อยควัน จากโรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้างที่ก่อให้เกิดฝุ่นคลุ้ง แต่ต้นตอหลักของปัญหามาจากการคมนาคมและการขนส่ง
รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา กล่าวว่า จากข้อมูลที่มีการสำรวจพบว่าสาเหตุหลักของฝุ่นใน กทม. มาจากการจราจรในเมือง โดยฝุ่นจะเกิดจากการเผาผลาญ ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์รถ พบมากสุดในเครื่องยนต์ดีเซล โดยเฉพาะรถยนต์เก่าที่ขาดการบำรุงรักษาและปล่อยควันดำ
“การบำรุงรักษาเครื่องให้อยู่ในสภาพดีโดยติดตั้งตัวกรองท่อไอเสียช่วยลดมลพิษได้ เพราะนอกจากฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ยังมีพวกแก๊สอื่นๆ ที่รถยนต์ควันดำปล่อย ดังนั้นผมจึงอยากให้ไปดูดัชนีคุณภาพอากาศด้วยว่ามีระดับความรุนแรงแค่ไหน มากกว่าจะห่วงเฉพาะฝุ่นพีเอ็ม 2.5 เพียงอย่างเดียว”
อาจารย์มาโนชมีข้อเสนอแนะว่า การแก้ปัญหาในระยะสั้น คือการลดการเดินทางของคนในเมืองและการขนส่งสินค้าที่ไม่จำเป็น เช่น ลดการใช้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลในช่วงอากาศวิกฤติ หรือเปลี่ยนมาเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาที่เร่งด่วนในระยะถัดมา คือความเข้มงวดในการตรวจสภาพรถยนต์ และการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล รวมทั้งการปฏิรูประบบขนส่งสาธารณะเพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์เพื่อสาธารณะอย่างเป็นระบบ
“การสร้างระบบขนส่งที่เป็นระบบแก้ปัญหาได้ถึง 2 อย่าง ทั้งเรื่องการลดมลพิษและการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด แต่ทุกวันนี้ปัญหาขนส่งสาธารณะที่เห็นได้ชัด คือรถเมล์ไทยเก่ามากและปล่อยควันดำเยอะมาก แต่แทบไม่ได้รับความสนใจแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เมื่อเทียบกับกรณีปัญหาของแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์ และรถตู้”
อาจารย์มาโนชชี้ว่า รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนหลากหลายรูปแบบ ในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ก้าวแรกที่ออกจากบ้านจนถึงก้าวสุดท้าย ที่จุดหมายปลายทาง โดยเฉพาะการพัฒนารถโดยสารประจำทางซึ่งเป็นระบบขนส่งที่เป็นกลไกหลักในการเชื่อมผู้โดยสารจากบ้าน สู่ระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่นๆ
“แต่ปัญหาคือรถเมล์ไทยไม่น่าใช้ คนเลยไปขับรถยนต์แทน รถ ขสมก.เก่ามาก มีปัญหาจัดซื้อจัดจ้าง ติดกฎระเบียบทำให้เดินต่อไม่ได้ ส่วนรถร่วมก็ถูกรัฐควบคุมราคาค่าขนส่ง ไม่ยอมให้ขึ้นค่าโดยสาร ขณะที่ต้นทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ เลยไม่มีเงินมาปรับปรุงรถ รถก็เน้นวิ่งเร็วเพื่อทำรอบหาลูกค้า เห็นแบบนี้คนส่วนใหญ่ก็ไม่อยากใช้”
อาจารย์มาโนชชี้ว่าขณะนี้ปัญหาฝุ่นละอองพีเอ็ม 2.5 ยังเป็นสถานการณ์ที่รอการคลี่คลาย เช่น รออากาศเปิด มีลมพัดฝุ่นออก หรือมีฝนช่วยลดปริมาณฝุ่นในอากาศ แต่ถ้าหากรัฐบาลและประชาชนไม่ลุกขึ้นมาร่วมแก้ไขปัญหาในระยะยาว ปัญหานี้ก็จะกลับมาปรากฏเช่นเดิม เรื่อยๆ ในช่วงเวลาเดิมของทุกปี
การแก้ปัญหาระยะยาว จำเป็นต้องสร้างการมีส่วนร่วมของคนในสังคม ต้องตระหนักว่าปัญหาฝุ่นเป็นปัญหาของทุกคน ต้องปรับพฤติกรรมใหม่ เช่น การส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้เดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ หรือใช้รถจักรยาน การเดินเท้า ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาเมืองให้เอื้อต่อการเดินบนทางเท้าที่ดีกว่านี้
นอกจากนี้ยังต้องยกระดับมาตรฐานเครื่องยนต์และเชื้อเพลิง เช่น การส่งเสริมให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเองก็มีการนำนวัตกรรมอย่างรถยนต์ไฟฟ้าหลายรูปแบบมาใช้สัญจรในมหาวิทยาลัยแล้ว เพื่อเป็นแนวทางการเดินทางที่ประหยัดพลังงานและไม่สร้างมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อม
“มองในเชิงสิ่งแวดล้อม รถไฟฟ้าสร้างมลพิษน้อยกว่ารถสันดาปหรือรถยนต์ทั่วไปอยู่แล้ว แต่ที่พูดยากเพราะไทยเองก็เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของรถสันดาป เรามีรถยนต์สันดาปเยอะ เรื่องนี้เลยต้องชั่งน้ำหนัก แต่การเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการลดการปล่อยฝุ่นควันบนท้องถนน
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้