รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 18/02/2019 นักวิชาการ: ดร.จักรพงศ์ พงศ์ธไนศวรรย์ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ
กระแสข่าวเรื่องฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ที่ปกคลุมทั่วกรุงเทพมหานครและเมืองอื่นๆ ในประเทศไทยในขณะนี้ สร้างกระแสตื่นตัวด้านอันตรายจากมลพิษทางอากาศอย่างมหาศาล นำมาซึ่งประเด็นการป้องกันและแก้ไขต้นตอของปัญหา โดยเฉพาะสาเหตุจากการคมนาคมขนส่งบนท้องถนน เทคโนโลยีรถ EV หรือรถยนต์ไฟฟ้า จึงกลายเป็นทางเลือกที่ถูกพูดถึงมากขึ้น เพราะโครงสร้างรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเทคโนโลยียานยนต์รูปแบบใหม่ที่ไม่ใช้น้ำมัน เชื้อเพลิง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือรถยนต์ที่ใช้น้ำมันในปัจจุบัน
ดร.จักรพงศ์ พงศ์ธไนศวรรย์ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่าปัจจัยที่สำคัญในการนำรถยนต์พลังงานไฟฟ้ามาใช้บนท้องถนน และทำให้เกิดการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในไทย คือการขับเคลื่อนโดยนโยบายของภาครัฐ
“หัวใจสำคัญคือนโยบาย สำหรับกรณีของประเทศไทย ภาครัฐเริ่มสนับสนุนบ้างแล้วในเชิงการเก็บภาษีสรรพสามิต โดย…
แต่ก็ยังไม่มีนโยบายรองรับอื่นๆ เช่น ภาษีรถยนต์ไฟฟ้า ที่จูงใจให้คนหันไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าจริงจัง รถยนต์ไฟฟ้าจึงยังไม่เป็นที่นิยม กอปรกับรถไฟฟ้าในไทยมีราคาค่อนข้างสูงพอสมควรเมื่อเทียบกับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน
“พฤติกรรมคนไทยก็เหมือนคนชาติอื่นๆ คือมองที่ต้นทุนเป็นหลักว่าเงินที่จ่ายไปนั้นคุ้มกับต้นทุนไหม ปัญหาหลักใหญ่ของรถไฟฟ้าในไทย คือความกังวลว่ารถ EVจะวิ่งได้ไกลไหม เดิมปกติเราใช้รถน้ำมันวิ่งได้ 400 กิโลเมตรต่อหนึ่งถัง แต่รถยนต์ไฟฟ้าจะทำได้แบบนั้นไหม ถ้าไฟฟ้าหมด จะค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ใกล้ฉันได้ที่ไหน ได้อย่างไร”
ดร.จักรพงศ์ ย้ำว่าเทคโนโลยีเดี๋ยวนี้พัฒนาไปมาก รถไฟฟ้าสามารถวิ่งได้มากกว่า 200 กิโลเมตรต่อวัน และมีแบตเตอรี่รุ่นใหม่ๆ ราคาถูก น้ำหนักเบา กระนั้นก็ตาม การใช้รถยนต์ไฟฟ้าก็ยังถูกมองว่าไม่คุ้มค่าต่อการใช้งาน คนไทยก็ยังไม่มั่นใจที่จะเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล เป็นยานพาหนะหลักของครัวเรือน ในขณะที่การปฏิรูปให้รถขนส่งมวลชนให้พลังงานไฟฟ้าทั้งระบบนั้นก็เป็นเรื่องยาก ต้องใช้ทุนสูงและเวลามาก
ดร.จักรพงศ์ชี้ว่าระบบสาธารณูปโภคด้านโครงสร้างพื้นฐานของรถไฟฟ้าในไทย ยังไม่เอื้ออำนวยให้ประชาชนคนไทยเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นรถยนต์หลัก หรือใช้เป็นรถยนต์คันแรกของตนเอง นอกจากนี้ จุดชาร์จไฟรถไฟฟ้าก็ยังมีไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจที่จะใช้รถไฟฟ้าเต็มระบบ
“เรื่องสถานีชาร์จแบตเตอรี่เป็นปัญหาส่วนหนึ่ง เหมือนไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน คนที่มีรถก็ต้องมั่นใจว่าต้องมีจุดชาร์จเพียงพอ แต่คนทำจุดชาร์จรถ ก็บอกว่าจะทำจุดชาร์จรถได้ ก็ต้องมีคนใช้รถจำนวนหนึ่งก่อนถึงจะทำจุดชาร์จได้ สุดท้ายแล้วเลยไม่เกิดทั้งคู่ ดังนั้นในตอนนี้รถยนต์ไฟฟ้า ไฮบริดที่ใช้พลังงานไฟฟ้าสลับกับน้ำมันจึงยังตอบโจทย์มากกว่า”
รถ EV รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย จะเกิดขึ้นจริงได้ ต้องอาศัยนโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นหลัก เห็นได้จากตัวอย่างในต่างประเทศ รวมไปถึงต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรถไฟฟ้าในไทย เช่น จุดชาร์จไฟรถไฟฟ้า ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้งาน
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้