รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 04/03/2019 นักวิชาการ: ดร.มุกดา ประทีปวัฒนะวงศ์ นักวิจัยประจำศูนย์แม่โขงศึกษา จุฬาฯ
ข่าวสารผู้สมัครรับเลือกตั้งในเวทีการเลือกตั้งปี 2562 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 มีนาคมนี้ กำลังเป็นกระแสร้อนแรงในโลกโซเชียล ตั้งแต่การพูดคุยถึงคุณสมบัติของผู้สมัคร นโยบายของแต่ละพรรค การลงพื้นที่หาเสียง รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องการเลือกตั้งอย่างเผ็ดร้อน
ปรากฏการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นมิติใหม่ของการเมืองไทยที่สื่อโซเชียลนำมาผลิตและแพร่กระจายข่าวสารอย่างแพร่หลาย ด้วยความรวดเร็วและฉับไว ช่วยให้ผู้สนใจข่าวสารการเลือกตั้งสามารถตามติดเหตุการณ์ได้อย่างต่อเนื่อง แต่สื่อโซเชียลจะเป็นเครื่องมือช่วยให้ชนะสมรภูมิการเลือกตั้งครั้งนี้หรือไม่นั้นเป็นคำถามบนเวทีเสวนาเรื่อง “เลือกตั้ง 4.0 สื่อโซเชียลกับการเมืองไทย” ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันเอเชียศึกษา ร่วมกับศูนย์แม่โขงศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (25 ก.พ.)
ดร.มุกดา ประทีปวัฒนะวงศ์ นักวิจัยประจำศูนย์แม่โขงศึกษา จุฬาฯ ชี้ว่าปัจจุบันสื่อโซเชียลเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสาร ใช้เป็นช่องทางการหาเสียงเพื่อดึงดูดให้คนมาลงคะแนนเสียงผู้สมัคร ขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางหลักที่ใช้ดึงดูดคนรุ่นใหม่ ในฐานะผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกซึ่งมีมากถึงเกือบ 7 ล้านคน
“ถือว่ายังเป็นผู้ลงคะแนนเสียงแบบสวิงโหวต เพราะยังไม่ปักใจเลือกพรรคใดพรรคหนึ่งชัดเจน หลายคนยังไม่เคยไปเลือกตั้งด้วยซ้ำ”
ดังนั้น นักการเมืองที่ต้องการทำคะแนนเสียงในช่องทางออนไลน์จำเป็นต้องบริหารภาพลักษณ์ตนเองในโลกออนไลน์ให้มีความน่าเชื่อถือ มีความสามารถในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยจะต้องเลือกภาพลักษณ์ตั้งแต่การแต่งตัว การทำกิจกรรมหาเสียง ซึ่งจะมีรูปหรือคลิป ปรากฏ การสร้างแคมเปญเป็นบุคคลที่มีความนิยมสาธารณะ รวมไปถึงการทำให้นโยบายมีความติดดิน เข้าใจง่าย
“สื่อโซเชียลมีคุณลักษณะอย่างหนึ่งคือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งาน ดังนั้นผู้สมัครเลือกตั้งจะมีการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนอยู่เสมอ มีการโต้ตอบพูดคุย มีชีวิตชีวา มีการใช้แฮชแท็ก รวบรวมความเห็นต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องทันสมัยมาก”
สื่อโซเชียลยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบด้าน จากเดิมที่เป็นการติดตามเพียงนักการเมืองไม่กี่รายเพียงทางเดียว แต่ในปัจจุบันเราสามารถรับรู้ข่าวสารและนโยบายของพรรคต่างๆ ได้อย่างสะดวก และเห็นปฏิกิริยาของนักการเมืองรายนั้นที่มีต่อประชาชน
สื่อโซเชียลส่งผลกระทบให้สื่อกระแสหลักจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับโลกออนไลน์ เช่นเดียวกับการติดตามกระแสทางเมืองในโลกโซเชียล แม้ว่าคนที่ตามการเมืองจะไม่ใช่ทั้งหมดของคนที่ใช้โซเชียล แต่ก็มีกระแสเพียงพอที่ช่วยสร้างข่าวการเลือกตั้งให้อยู่ในโลกไซเบอร์
“สุดท้ายก็กลายเป็นว่าทุกพรรคต้องมีสื่อโซเชียล ไว้หาเสียง เดี๋ยวนี้จะมีใครเปิดทีวีฟัง หรือมีรถหาเสียงขับผ่าน คนฟังก็ได้ยินแค่ 2-3 นาที รถหาเสียงทุกวันนี้มี QR Code มีเพจให้คนกดติดตามแล้ว เป็นการปรับตัวทางการเมืองแบบใหม่ที่ทันสมัย ช่องว่างระหว่างนักการเมืองกับคนโหวตก็น้อยลง”
อาจารย์มุกดากล่าวต่ออีกว่า สื่อโซเชียลช่วยให้ เปิดช่องทางการสื่อสารระหว่างนักการเมืองที่ต้องการหาคะแนนเสียงกับประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ขณะเดียวกันก็ต้องมีความกระชับ เข้าใจง่าย สามารถดึงดูดความสนใจให้คนมาติดตามหรือวิพากษ์วิจารณ์ การหาเสียงในยุคปัจจุบันจึงมีสีสันและมีความสร้างสรรค์มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะต้องการซื้อใจคนรุ่นใหม่
“การหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้แข่งขันกันสูงมากๆ แต่ละพรรคมีกลยุทธ์การหาเสียงกันเข้มข้นมาก บางพรรคใช้นักการเมืองรุ่นใหม่มาดึงดูดคนรุ่นใหม่ เพราะเห็นว่าหลายคนเบื่อนักการเมืองรุ่นเก่าๆ ก็มี”
ผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวนมากจึงสร้างภาพลักษณ์ ที่ชวนให้ระลึกจดจำได้ง่าย เช่นใช้ความเด่นดัง ใช้ความมีชื่อเสียง สร้างกระแสนิยมให้คนชื่นชอบและให้ความสนใจเหมือนดารานักร้อง ดังนั้นภาพลักษณ์นักการเมืองยุคปัจจุบันจึงดูมีความติดดิน ใกล้ชิด สนิทสนมกับประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากขึ้น
อาจารย์มุกดา เสริมว่า การใช้สื่อโซเชียลหาเสียงเลือกตั้ง กกต.เริ่มอนุญาตให้ทำได้ตั้งแต่ตอนปี 2556 คือตอนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. แต่หลังจากนั้นการหาเสียงก็เหมือนถูกกระจายอำนาจออก ทำให้ควบคุมยากขึ้น และในปัจจุบันกฎหมายของการหาเสียงเลือกตั้งยังขาดความชัดเจนในบางประเด็น เช่น กฎหมายไม่อนุญาตให้ดารามาหาเสียงเลือกตั้ง แต่ในปัจจุบัน นิยามของคำว่าดาราไม่มีความชัดเจนอีกต่อไป เพราะในยุคสื่อโซเชียล ใครก็สามารถสร้างกระแสเป็นคนดัง หรือเป็นเน็ตไอดอลได้ง่าย การใช้สื่อโซเชียลหาเสียงเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องใหม่ที่ท้าทาย
“แม้ว่า กกต.จะแจ้งว่าต้องลงทะเบียนว่าใช้ช่องทางไหนบ้างในโลกโซเชียลในการหาเสียง และต้องหยุดหาเสียง 1 วันก่อนการเลือกตั้ง ก็มีคำถามว่าถ้ามีคนคอมเมนต์หรือถามคำถามใหม่ๆ ระหว่างนั้นจะทำอย่างไร กกต.คงต้องกลับมานิยามใหม่ เพราะกฎหมายตอนนี้ยังไม่ชัดเจน”
เลือกตั้งประเทศไทยยุค 4.0 ถือเป็นการเลือกตั้ง ระดับประเทศที่สื่อโซเชียลเข้ามามีบทบาทและส่งผลกระทบต่อการรับรู้ของคนไทยและผู้มีสิทธิเลือกตั้งอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่ยอดกด Like ยอดติดตาม Follow จะส่งผลต่อคะแนนโหวตหรือไม่นั้น คงต้องติดตามดูกันอย่างใกล้ชิด
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้