รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 11/03/2019 นักวิชาการ: ผศ.ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
หลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ….ผ่านการเห็นชอบโดย สนช. ในวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ก็มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์และพูดคุยถึงกฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่ตั้งข้อสังเกตว่าข้อมูลส่วนบุคคลและโซเชียลมีเดียอาจจะถูกสอดส่องเฝ้าระวังจากการมีกฎหมายฉบับนี้
ด้วยประเด็นข้อสงสัยดังกล่าว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้จัดงานเสวนา “เจาะลึก พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์’62 คุ้มกันหรือควบคุมพื้นที่ออนไลน์” เพื่อเปิดเวทีให้ผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องมาร่วมหาคำตอบให้สังคมด้วยความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว
ผศ.ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในวิทยากรผู้ร่วมเสวนาชี้ว่า พ.ร.บ.ไซเบอร์ฉบับนี้เป็นฉบับที่ปรับปรุงแก้ไขมาจนเสร็จสิ้นแล้ว โดยตามระยะเวลาการร่าง พ.ร.บ. เริ่มตั้งแต่ปี 2557 และมีประเด็นที่เกิดกระแสต่อต้านอย่างหนักในเรื่อง “ซิงเกิล เกตเวย์” จนต้องรีบกลับมาแก้ร่างใหม่
“ปรับนู่นปรับนี่ไปเรื่อยๆ เพราะตอนแรกออกมามีปัญหามาเยอะ ไม่มีการรับฟังเสียงประชาชน ประชาชนไม่มีส่วนร่วม ตอนหลังเลยเริ่มคุย เริ่มถามความเห็น ให้เอกชน ผู้เชี่ยวชาญช่วยกันดูร่างจนออกมาเป็นร่างแบบที่เป็นมาตรฐานสากล”
ปัจจุบันชุดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบดิจิทัลของประเทศไทย ประกอบไปด้วย พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกกันว่า พ.ร.บ.คอมพ์ และร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กับร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ทั้งสามกฎหมายนี้เน้นบังคับใช้ในรายละเอียดที่แตกต่างกัน
กล่าวคือร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ฉบับดังกล่าว เน้นการควบคุมมาตรฐานระบบไอที หรือระบบคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะระบบไอทีของหน่วยงานหลักและมีความสำคัญหรือที่เรียกว่าโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure: CII)
“ปัญหาที่เจอทุกวันนี้คือหน่วยงานหลายแห่งมีระบบไอทีที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีมาตรฐาน เช่นระบบ E-payment ล่มบ่อยมาก พอเกิดความเสียหาย ก็ต้องมานั่งฟ้อง เรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหาย วิธีแก้ไขเรื่องนี้คือสร้างระบบมาตรฐานว่าต่อไปหน่วยงานต้องมีมาตรฐานทางไอที ซึ่งเราก็ยึดตามหลัก ขององค์กรระหว่างประเทศว่ามาตรฐานควรเป็นอย่างไร โดยทฤษฎีมีความเข้มแข็งอยู่แล้ว”
พื้นฐานสำคัญของหลักความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ คือหลักการ CIA (Confidentiality, Integrity, Availability) หรือหลักการเข้าถึงข้อมูลไม่รั่วไหล ข้อมูลถูกต้องไม่มีการแก้ไขโดยผู้อื่นและความพร้อมในการใช้งานหรือเข้าถึงข้อมูล
ดังนั้น พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จึงเป็นความพยายามที่จะรักษาระดับมาตรฐานไอทีของประเทศให้มีความปลอดภัย มั่นคง และป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งมีการกำหนดไว้ใน พ.ร.บ. และมีการแบ่งภัยคุกคามออกเป็นระดับต่างๆ ตามความรุนแรง
“ประเด็นเรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่หลายคนเป็นห่วงว่าจะตีความเกินเหตุแล้วทำให้เจ้าหน้าที่ ใช้อำนาจเกินควร (Abuse power) มีโอกาสเป็นไปได้ยากเพราะตัวหนังสือมันมีเขียนไว้ชัดเจน ทำให้แทบเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้ากลัวว่าคนจะเอาไปใช้ในเจตนาไม่ดี เราควรติดตามว่าเอาไปใช้ไม่ถูกต้องอย่างไร ถ้าหากมีชุดคำอธิบายสาธารณะแล้วก็เอามายืนยันได้ว่าของเก่าที่ระบุไว้ว่ามันมีความหมายว่าอะไร จะแปลเป็นอย่างอื่นไม่ได้นะ”
อาจารย์ปิยะบุตรกล่าวอีกว่า การตั้งข้อสงสัยและการพูดคุยถึงประเด็นร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์เป็นเรื่องปกติในสังคม และเมื่อสังคมมีความสงสัยต้องการคำตอบก็ควรจะต้องมีผู้ออกมาให้คำตอบ ไม่ควรเก็บเงียบและไม่ตั้งข้อสงสัย เพราะการไม่ให้ ความสำคัญหรือความสนใจจะเอื้อให้ผู้มีอำนาจหรือผู้บังคับใช้กฎหมายกระทำการที่ไม่ถูกต้องการที่ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมโดยเฉพาะผู้ใช้ออนไลน์ที่มีความเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.นี้ให้ความสนใจถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี และการตั้งคำถามต่างๆ ก็เป็นเรื่องปกติ สังคมประชาธิปไตยควรต้องเปิดรับ และหาทางตอบปัญหาด้วยหลักเหตุผลและข้อเท็จจริง ยิ่งเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วก็ยิ่งต้องให้ความสนใจช่วยกันมอนิเตอร์เพราะอาจมีประเด็นที่ไม่ได้คาดเดาไว้เกิดขึ้นในทางปฏิบัติก็ได้
“ผมคิดว่าไม่ใช่คำตอบว่า 0 หรือ 1 อะไรถูกหรือผิดเกี่ยวกับการตั้งคำถามหรือข้อสงสัยของประชาชน เราต้องทำงานอย่างต่อเนื่องถ้าละสายตาไปไม่สนใจเดี๋ยวมีอะไรขึ้นมาก็จะตกใจกัน และไม่ควรนั่งรอเฉยๆ เพราะทำแบบนั้นก็ไม่มีอะไรดีขึ้น การร่วมกันจับตาและดูแลด้วยกันคือแนวทางที่ดีที่สุด” อาจารย์ปิยะบุตรทิ้งท้าย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้