รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 08/04/2019 นักวิชาการ: รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สถานการณ์ฝุ่น พีเอ็ม 2.5 ใน จ.เชียงใหม่ ยังมีทีท่าวิกฤติอย่างต่อเนื่อง ทั้งสภาพฝุ่นที่ค่าสูงเกินมาตรฐานสะสมมาแล้วเป็นสัปดาห์ จน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต้องรีบลงพื้นที่เพื่อเข้าไปหาแนวทางจัดการ ล่าสุดสถานการณ์ฝุ่นยังไม่คลี่คลายและยังมีปัญหาไฟป่าเพิ่มขึ้นอีกในพื้นที่
รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่าสถานการณ์ฝุ่น พีเอ็ม 2.5 ใน จ.เชียงใหม่ มีแหล่งต้นกำเนิดที่ต่างจากในกรุงเทพฯ พอสมควร เนื่องจากเชียงใหม่ไม่ได้มีปัญหาการจราจรคับคั่ง
“จ.เชียงใหม่ มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ฝุ่นมารวมได้ง่าย ประกอบกับปีนี้มีปัญหาเอลนีโญ อากาศปิด แล้งนานมาก แต่สาเหตุสำคัญของฝุ่นในเชียงใหม่คือการเผาป่าเพื่อทำการเกษตร” อาจารย์ศิริมาระบุ
การเผาป่าเพื่อทำการเกษตรใน จ.เชียงใหม่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝุ่น พีเอ็ม 2.5 ประกอบกับปัญหาความแห้งแล้งในฤดูร้อน ส่งผลให้เกิดไฟป่า ซึ่งทำให้ฝุ่นละอองเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ถือว่าเป็นปีที่แล้งจัด มีอาสาสมัครทำแนวกันไฟไม่เพียงพอต่อการรับมือไฟป่าอีกด้วย
“ปีนี้มีปัญหาเรื่องการเผาใกล้ๆ กัน ติดกันหมด ต่างจากปีก่อนๆ ที่จะมีว่าห้ามเผาตรงไหนๆ ทยอยๆ กันไป แต่ปีนี้พอห้ามในช่วงเวลาใกล้ๆ กันทำให้จัดการเวลายาก นอกจากนี้ถ้าสินค้าการเกษตรมีราคาดี เช่นข้าวโพดราคาขึ้น คนก็ต้องรีบเผารีบเคลียร์เพื่อให้ได้พื้นที่เพาะปลูก”
ปัจจัยอีกประการคือแหล่งกำเนิดฝุ่นที่ถูกพัดพามาจากประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เชียงใหม่มีสภาพภูมิอากาศย่ำแย่ และมีค่า AQI พุ่งสูงกว่าใน กทม. ซึ่งอาจารย์ศิริมาชี้ว่า เป็นปัญหาร่วมของภูมิภาคนี้ เพราะปัญหาฝุ่นในภาคใต้ก็มีลักษณะนี้เช่นเดียวกัน
“ภาคใต้ก็มีฝุ่นจากอินโดนีเซีย อาจารย์มองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาทางภูมิภาคจริงๆ ไทยในฐานะประธานอาเซียนควรฉวยโอกาสนี้ออกมาตรฐานทางการทูตที่อิงกฎหมาย โดยปรับปรุงเอ็มโอยู ที่มีให้เป็นข้อตกลงที่แน่นหนาไม่ใช่แค่รับปากว่าต้องทำ”
อาจารย์ศิริมาชี้ว่า ไทยมีโมเดล หรือพื้นที่แบบอย่างที่เป็นตัวเลือกการทำเกษตรรูปแบบใหม่ที่เน้นความยั่งยืนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจำนวนมาก เช่น แม่แจ่มโมเดล ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลควรจัดการคือการสร้างความตระหนักและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมประชาชนโดยชี้ให้เห็นทางเลือกใหม่ๆ
“ป่าเป็นชุมชนของเขา คุณจะไปสั่งว่าห้ามเผาอย่างเดียวไม่ได้ คุณต้องมีทางเลือก 1 2 3 ให้เขาอยู่ได้ มีโมเดลให้ดูว่าต้องทำอย่างไร มีวิธีอื่นใหม่ ถ้ามันมีทางเลือกอื่นเขาก็เปลี่ยน เกษตรทางเลือก เกษตรผสมผสานต้องทำอย่างไร เหมือนกับปัญหาฝุ่นใน กทม. คุณบอกประชาชนว่าอย่าใช้รถให้ไปใช้ขนส่งแบบอื่น ไปใช้รถเมล์ แต่รถเมล์ก็ไม่เอามาเพิ่ม คนก็ไม่เปลี่ยนพฤติกรรม”
นอกจากนี้ควรเน้นการทำงานเชิงรุก ใช้เทคโนโลยีเข้าไปจัดการเพื่อรับมือปัญหาไฟป่าและการเผาป่า เช่น ใช้ระบบดาวเทียมตรวจสอบจุดความร้อน (ฮอตสปอต) เพื่อรีบเข้าไปทำแนวกันไฟในพื้นที่ป่า หรือใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อสอดส่องดูแล เป็นต้น
แต่ในการแก้ปัญหาระยะยาว หน่วยงานรัฐและเอกชนคงต้องร่วมมือกันแบบบูรณาการ มีผู้สั่งการโดยที่ทุกฝ่ายปฏิบัติอย่างพร้อมเพรียงกัน ขั้นต้นทุกหน่วยงานต้องใช้หน่วย AQI เท่ากันเพื่อเป็นดัชนีในการตรวจสอบความรุนแรงของสถานการณ์ ปัญหา ส่วนดัชนีชี้วัดผลงานของหน่วยงานต่างๆ ก็ควรปรับเปลี่ยนจากด้านเศรษฐกิจและสังคมมาสู่ด้านสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมด้วย
สำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบควรตระหนักแต่ไม่ตระหนกกับสภาพปัญหา ใช้ผ้าปิดปากหรือผ้าปิดจมูกในที่กลางแจ้ง หรือใช้เครื่องฟอกอากาศในห้อง อย่างไรก็ดีกลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็นคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
ควรมีความตระหนักในเรื่องนี้มากเช่นกัน “คนในพื้นที่เกษตรต้องทำงานกลางแจ้งตลอดทั้งวัน จะให้ใส่ผ้าปิดปากตลอดเวลาก็คงไม่ไหว สิ่งที่เราต้องทำคือการสร้างความตระหนักให้แก่เขาว่าถ้ามีปัญหาเรื่องฝุ่นควันพวกนี้เขาจะเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบ” อาจารย์ศิริมาย้ำว่า ปัญหาฝุ่น พีเอ็ม 2.5 เป็นปัญหาที่ต้องอาศัยการร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สิ่งสำคัญที่สุดคือควรมีความตระหนักแต่ไม่ตระหนกในการรับมือและแก้ไขปัญหานี้ไปด้วยกัน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้