รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 15/04/2019 นักวิชาการ: ผศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล จากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
จากกรณีมีผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตและองค์การระหว่างประเทศกว่า 12 แห่ง ไปร่วมสังเกตการณ์ การแจ้งข้อหาต่อนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวันเมื่อสัปดาห์ ที่ผ่านมา ก่อให้เกิดกระแสคำถามถึงความเหมาะสมของการกระทำดังกล่าวอย่างกว้างขวาง
กระทรวงการต่างประเทศได้ออกแถลงการณ์แสดงความผิดหวังและกังวลต่อการปรากฏตัวของเจ้าหน้าที่ประจำสถานทูตที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ซึ่งอาจเข้าใจได้ว่าเป็นการให้กำลังใจนายธนาธร หรือเป็นการกดดันการทำงานของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนดูเหมือนเป็นการเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในบริบทการเมืองที่แบ่งขั้วของไทยในปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้นในทางกฎหมาย ยังถือว่าเข้าข่ายการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศ และเป็นการละเมิดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต 1961 มาตรา 41
ผศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล จากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ระเบียบและกฎเกณฑ์กติกามีการระบุไว้ชัดเจนว่านักการทูตไม่สามารถสอดแทรกกิจการภายในรัฐนั้นได้ เพราะแต่ละประเทศต่างมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง
“ในมุมมองของผม ถือว่าไม่เหมาะสม เพราะเป็นการละเมิดหลักการทั่วไปที่ทำกัน ถ้าจะมาสังเกตการณ์วันเลือกตั้งอย่างนี้ทำได้ แต่ในเรื่องการสืบสวนสอบสวนกระบวนการยุติธรรม เป็นเรื่องภายใน ทำแบบนี้ทำให้ถูกมองว่ามีจุดยืนสนับสนุนทางการเมืองชุดใดชุดหนึ่ง”
กรณีที่นักการทูตสามารถแทรกแซงได้ต้องเป็นกรณีที่มีความร้ายแรง เช่น เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ภายในประเทศ หรือแม้แต่ผู้ที่ถูกสืบสวนสอบสวน เป็นชาวต่างประเทศสัญชาติเดียวกับสถานทูตนั้นๆ เช่น มีคนไทยต้องขึ้นศาลในประเทศสหรัฐอเมริกา ทูตไทยสามารถเข้าไปแทรกแซงช่วยเหลือในศาลได้
“ถ้าจะมากดดันประเทศไทยทำได้ แต่ไม่ใช่มายืนอยู่หน้าสถานีตำรวจ ไม่ควรอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่าง เพราะคุณมาอยู่ในไทยคุณมีอำนาจ สมมุติตอนกรณีซีอีโอหัวเว่ยของจีนที่ขึ้นศาลสหรัฐ ทูตไทยจะเข้าไปขอดูการสืบสวนหน่อย เราก็ไม่ทำ แล้วเราก็ไม่เคยทำด้วย เพราะเรื่องนี้เป็นกรณีการเมือง”
อาจารย์สุรัตน์ชี้ว่า ทูตจากชาติตะวันตกอาจไม่พึงพอใจต่อการขึ้นมามีอำนาจของรัฐบาลทหารในประเทศไทย จากในอดีตที่มีการกดดันด้วยวาจา แต่ถึงแม้จะไม่พอใจอย่างไรก็ตาม รัฐไทยมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตัวเอง ต่างชาติมิอาจแทรกแซงได้
ข้อสังเกตประการหนึ่งที่สำคัญ คือเจ้าหน้าที่ทางการทูตกว่า 12 แห่งที่เข้ามาสังเกตการณ์ที่ สน.ปทุมวัน ล้วนเป็นทูตจากประเทศฝั่งตะวันตก แสดงให้เห็นถึงบทบาททางการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมืองของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน
“หลายๆ ประเทศเขาก็ไม่ทำ เขาก็ไม่เข้าร่วม ในอาเซียนไม่มีใครเข้าร่วมเลย อย่างหนึ่งเพราะว่าอาเซียนจะไม่แทรกแซงกิจการภายในด้วยกัน มีฉันทานุมัติกันชัดเจน ถ้ามีเรื่องไม่พอใจอะไรก็จะไปคุยกันหลังฉาก ไม่ออกมาแบบนี้”
เช่นเดียวกับการเมืองภายในของหลายๆ ประเทศที่ยึดมั่นการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น รวมถึงการไม่ต้องการให้ประเทศอื่นมาแทรกแซงกิจการภายในของตนเช่นกัน จีนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีลักษณะทางการเมืองรูปแบบนี้ และหลายต่อหลายครั้งทำให้จีนยังดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจได้แม้แต่ในประเทศที่มีความขัดแย้งรุนแรง
ประเด็นที่อาจารย์สุรัตน์ต้องการย้ำคือ สิ่งที่ชาติตะวันตกต้องการกับกรณีดังกล่าวล้วนมีเหตุผลอันเป็นผลประโยชน์เบื้องหลังของชาติตนเองแฝงอยู่ ดังนั้นชาวไทยไม่ควรหลงหรือดีใจไปกับการที่ชาติตะวันตกเข้ามายุ่งเกี่ยวครั้งนี้
“ผมอยากจะพูดกับคนไทยว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นโดยชาติตะวันตกไม่ได้ตะวันตกไม่ได้จริงใจ 100 เปอร์เซ็นต์กับเรา เขามีผลประโยชน์บางอย่างแอบแฝงอยู่กับเรื่องดังกล่าว ประชาธิปไตยในประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดขึ้นด้วยฝีมือคนไทยเองเท่านั้น”
หมายความว่า ชาติแต่ละชาติเองก็มียุทธศาสตร์การดำเนินนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นการคานอำนาจต่อชาติมหาอำนาจในภูมิภาค เอเชียอย่างจีน ต่างก็เป็นเหตุผลที่ทำให้แนวคิดการปลูกฝังประชาธิปไตยมีความสำคัญในการดำเนินยุทธศาสตร์ของภูมิภาคนี้
ส่วนประเทศไทยมีนโยบายการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบไม่เผชิญหน้า และไม่สร้างศัตรู ต่อกรณีดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศของไทยรับมือด้วยการออกแถลงการณ์แสดงความกังวลและขอร้องไม่ให้เกิดเหตุการณ์อีกครั้งหน้า ซึ่งอาจารย์สุรัตน์ชี้ว่าเป็นข้อดีของประเทศไทยที่เราดำเนินการการทูตแบบนี้ เพราะไทยไม่เคยฝักใฝ่ทั้งฝ่ายตะวันตกและฝ่ายจีน ในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ไทยก็มีความเข้มแข็งในการรับมือทางการทูตมากขึ้นเรื่อยๆ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้