รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 22/04/2019 นักวิชาการ: ผศ.ดร.ปณิธิ หุ่นแสวง จากสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
เหตุการณ์ไฟไหม้มหาวิหารนอเทรอดาม ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ที่ผ่านมา เป็นข่าวใหญ่ระดับนานาชาติ แม้จะมีการดับเพลิงได้สำเร็จ แต่ความเสียหายจากไฟไหม้ทำให้หลังคาและยอดแหลมของวิหารถูกทำลายหมดสิ้น
มหาวิหารนอเทรอดาม แห่งกรุงปารีส เป็นสัญลักษณ์สำคัญของเมือง มีอายุกว่า 850 ปี ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายสมัย เป็นแหล่งขุมความรู้ทางสถาปัตยกรรมและงานศิลปะที่มีคุณค่ามหาศาล ดังนั้นแม้กระทั่งบุคคลที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ก็ยังถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่น่าเศร้าและสะเทือนใจ
“ความสะเทือนใจของไฟไหม้ครั้งนี้คือการสูญเสียสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมที่ยาวนานมาก ถ้าคุณเป็นคนคริสต์คุณก็จะเสียใจเพราะที่นี่คือมหาวิหารที่ทำพิธีทางศาสนาสำคัญๆ แต่ถ้าไม่ได้นับถือ ที่นี่คือแหล่งรวมวัตถุโบราณสำคัญที่หาไม่ได้แล้ว มันเป็นแหล่งรวมงานฝีมือชั้นเยี่ยม งานศิลปะที่สะท้อนวัฒนธรรมนับร้อยปี”
เป็นคำอธิบายของ ผศ.ดร.ปณิธิ หุ่นแสวง จากสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งอาจารย์ได้เพิ่มเติมอีกว่า ในแง่มุมทางประวัติศาสตร์ นอเทรอดามก็มีความสำคัญมากเพราะเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของประเทศหลายครั้งมีมหาวิหารแห่งนี้เป็นฉากหลัง
“ทั้งเหตุการณ์โจนออฟอาร์ก สมัยปฏิวัติฝรั่งเศส สมัยนโปเลียน เรื่อยมาจนสงครามโลกครั้งที่สองมีนอเทรอดามเกี่ยวข้องด้วยกันทั้งสิ้น เรียกได้ว่าเป็นฉากสำคัญและเป็นพยานสำคัญของประเทศ”
อาจารย์ปณิธิ กล่าวว่า นอเทรอดาม กลายเป็นที่รู้จักและเป็นจุดสนใจของคนทั่วโลกเนื่องมาจากหนังสือนวนิยายที่ประพันธ์โดยวิกเตอร์ อูโก นักคิดนักเขียนคนสำคัญของฝรั่งเศส ในชื่อคนค่อมแห่งนอเทรอดาม (The Hunchback of Notre Dame) และได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ในเวลาต่อมา นอกจากนั้นด้วยความสวยงามแห่งสถาปัตยกรรมกอธิคแบบฝรั่งเศสที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ยุคกลางมหาวิหารจึงเป็นที่รู้จักและชื่นชมของผู้คนในระดับสากล ทำให้เหตุการณ์ไฟไหม้กลายเป็นสิ่งที่สะเทือนใจของคนทั่วทั้งโลก
ทั้งนี้ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ออกแถลงการณ์ว่าจะรีบบูรณะมหาวิหารแห่งนี้ให้กลับมาสวยงามดังเดิมภายในเวลา 5 ปี อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าต้องใช้เวลามากกว่านั้น ขณะที่มหาเศรษฐี นักธุรกิจรายใหญ่ของประเทศพากันบริจาคเงินเพื่อบูรณะมหาวิหารกันหลายราย
“ณ ตอนนี้คนฝรั่งเศสกำลังสะเทือนใจ ไม่ทุกคนเพราะก็มีอีกกระแสมองว่าการเสียใจเรื่องนี้คือการติดอยู่ในวัตถุ หลงชาติ รักชาติเกินเหตุ มีคนหมั่นไส้ ไม่เห็นด้วยบ้าง แต่ไม่มาก ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นี้จะเป็นเรื่องใหญ่ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมาก คนฝรั่งเศสเองก็ไม่ได้มองว่าต้องจับมือกัน รักกัน ไม่ทะเลาะกัน เพื่อผ่านพ้นเหตุการณ์นี้ไปนะ เขามองว่าชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป”
อาจารย์ปณิธิ กล่าวว่า ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีเสรีภาพสูงมากทั้งในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกทางการเมือง ดังนั้นจึงมีการประท้วงและการเดินขบวนเป็นเรื่องปกติตลอดเวลา
“เสรีภาพในการแสดงออกต้องได้รับการคุ้มครองเป็นหลักการทั่วไป แต่ที่ฝรั่งเศสพิเศษกว่าตรงที่ถึงแม้ว่าเสรีภาพนั้นจะกระทบคนอื่น ศาสนาอื่น ก็ต้องได้รับการคุ้มครองด้วย รัฐบาลเองเขาก็มองแบบนั้น นี่คือเหตุผลที่ทำให้ม็อบเสื้อกั๊กเหลืองสร้างกลุ่มม็อบได้มากขนาดนี้ ก็เพราะเศรษฐกิจมันแย่จริงๆ รัฐบาลเองก็ไม่มีสิทธิห้ามให้คนตั้งม็อบด้วย”
ในทัศนะของอาจารย์ปณิธิ เหตุการณ์ไฟไหม้ จึงไม่ได้รุนแรงและส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ความคิด การกระทำของคนฝรั่งเศส และด้วยสภาพสังคมที่แทบจะหาความสงบเรียบร้อยได้ยาก เหตุการณ์ไฟไหม้นอเทรอดามกลับเป็นข้อพิสูจน์บุคคลที่เกี่ยวข้องมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่เข้ามาบูรณะมหาวิหาร รวมถึงระบบการรักษาความปลอดภัยที่อาจจะย่อหย่อนและเป็นต้นตอของเพลิงไหม้
“คนฝรั่งเศสเข้าใจว่าทำไมถึงไหม้นะ ไม่มีใครโทษกันไปโทษกันมาว่าเป็นเรื่องการก่อการร้าย ที่จะโทษกันคือเรื่องการรักษาความปลอดภัยกับบริษัท 5 เจ้าที่เข้ามาบูรณะหลังคา คงต้องสืบสวนต่อไปว่าเหตุเกิดจากความสะเพร่าของคนหรือไฟฟ้าลัดวงจร หรืออุปกรณ์ไม่ดี หรือไม่อย่างไร”
ล่าสุดสำนักข่าวหลายแห่งรายงานว่าประชาชนกลุ่มเสื้อกั๊กเหลืองมองว่าเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งนี้เป็นภาพสะท้อนความเหลื่อมล้ำในฝรั่งเศส เพราะมีผู้มีรายได้มหาศาลสามารถบริจาคเงินหลายล้านยูโรได้ทันที และยังโทษไปยังประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ที่ออกนโยบายเอื้อประโยชน์แก่คนรวยเหล่านี้จนได้รับสมญาว่าประธานาธิบดีของพวกคนรวยมาแล้ว
การเลื่อนแถลงการณ์ของประธานาธิบดีในเรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเนื่องจากเหตุการณ์ไฟไหม้ยังทำให้คนจำนวนมากไม่พอใจและคงต้องจับตาดูต่อไปว่ารัฐบาลฝรั่งเศสจะแก้ไขปัญหาทั้งหมดทั้งมวลนี้ได้เพียงใด
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้