รู้ลึกกับจุฬาฯ

ความท้าทายที่ยังไม่จบของทีวีดิจิทัล

กระแส “คืนช่อง” ของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลยังคงดำเนินต่อไป หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีประกาศคำสั่งเปิดทางให้ผู้ประกอบการคืนใบอนุญาตได้ แต่หลายฝ่ายมองว่ารากเหง้าของปัญหาทีวีดิจิทัลยังไม่ได้ถูกแก้ไขและอุตสาหกรรมทีวีไทยยังคงอยู่ในความท้าทายต่อเนื่องไป

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงจัดเวทีจุฬาฯ เสวนาครั้งที่ 20 เรื่อง “ปัญหาและทางออกของทีวีดิจิทัล” โดยมีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญร่วมกันวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ทีวีปัจจุบัน ท่ามกลางการแข่งขันและการอยู่รอดในวงการสื่อยุคใหม่

หนึ่งในวิทยากรคือ ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ที่ปรึกษาอธิการบดี ผู้อำนวยการโครงการ CU Transformation และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและระบบโทรคมนาคม กล่าวว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ ในยุคปัจจุบันไปจนถึงยุค 5G ที่กำลังจะมาถึงทำให้ประชาชนเข้าถึงสื่อได้ทุกที่ทุกเวลา กระทบต่อการรับชมสื่อจอโทรทัศน์ผ่านผังรายการในรูปแบบเดิมๆอีกทั้งการหลอมรวมสื่อ ก็ทำให้การแบ่งแยกการกำกับดูแลระหว่างการแพร่ภาพ และกระจายเสียงกับการโทรคมนาคม เป็นสิ่งที่ไม่เสถียรอีกต่อไป

“คนรุ่นใหม่ดูทีวีน้อยลงมากเพราะมีคอนเทนต์ในแพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่นกว่ามารองรับ แต่ผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ยังคงปรับตัวช้า โดยเฉพาะในแง่  Business model และการกำกับดูแลที่แยกส่วนของ กสทช.ก็ไม่ได้เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่สำคัญและจำเป็นนี้”

แม้จะติดภารกิจและไม่สามารถมาร่วมเวทีเสวนาได้ แต่นักกฎหมายด้านการสื่อสารอย่าง ผศ.ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้แสดงทัศนะกับคอลัมน์รู้ลึกกับจุฬาฯ  ต่อเรื่องนี้ว่า สาเหตุที่ทำให้ กสทช. ต้องออกมาช่วยเหลือ ทีวีดิจิทัลเพราะว่า กสทช. เองมีส่วนต่อการสร้างความผิดพลาดในอดีต

“เรื่องใบอนุญาตที่เคยพูดกันว่าไม่เหมาะสมเพราะมันไปบิดเบือนตลาด ทั้งในแง่ของการกำหนดจำนวนใบอนุญาตที่เยอะเกินไป หรือการแยกช่องเด็กออกเป็นอีกช่อง เข้าใจว่าต้องการแบ่งช่องเพื่อให้คนเข้าสู่ตลาดได้หลากหลาย แต่สุดท้ายแล้ว ด้วยการกำกับดูแลที่ไม่เข้มแข็งพอ เนื้อหามันก็กลืนไปหมด เอกชนเองที่ผ่านมาเหมือนถูกบีบถูกปิดกั้นโอกาสมานานเพราะเดิมมีไม่กี่ช่อง พอเปิดทีวีดีจิทัลคนก็กระโจนเข้าใส่ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาของการออกแบบตั้งแต่ทีแรก”

ขณะที่การแจกคูปองทีวีดิจิทัลก็มีความล่าช้าไม่สามารถกระจายกล่องได้รวดเร็วพอ ส่งผลให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบ

อาจารย์ปิยบุตรกล่าวต่อว่า ประเทศไทยนับว่าเปลี่ยนผ่านจากยุคอะนาล็อกสู่ยุคดิจิทัลค่อนข้างเร็ว  ถึงแม้ว่าทีวีดิจิทัลจะเข้ามาเร็วกว่านี้ก็ไม่ได้ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลง เชื่อว่ายังเหมือนปัจจุบันคือคนหันไปดูทีวีออนไลน์หรือบริการทีวีสตรีมมิ่งในอินเทอร์เน็ต

“คงพูดไม่ได้ว่าถ้าคนไม่ดูทีวีออนไลน์จะหันไปดูทีวีดิจิทัลเลย ต้องยอมรับว่าการดูทีวีออนไลน์เป็นปรากฏการณ์ทั่วโลก เป็นหนึ่งในแนวทางการบริโภคเนื้อหาที่นับวันจะมีอิทธิพลขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้ประกอบการออนไลน์ก็ต้องเผชิญความท้าทายเรื่องเนื้อหาหรือคอนเทนต์เช่นเดียวกับทีวีทั่วไป” กฎหมายว่าด้วยโทรคมนาคมในอดีตเองก็มีความเคร่งครัด ซึ่งอาจารย์ปิยะบุตรชี้ว่า เดิมใบอนุญาตผู้ประกอบการต้องห้ามเปลี่ยนชื่อผู้ถือใบอนุญาต ต้องดำเนินการให้สุดทางจนจบ แต่เมื่อเกิดปัญหาทางโทรคมนาคม มีการควบรวม กิจการก็ทำให้เกิดการติดขัด นำมาสู่การแก้กฎหมาย จนกระทั่งล่าสุดที่ กสทช. อนุญาตให้คืนคลื่นได้แล้ว

“เรื่องคืนคลื่นก็เป็นอีกประเด็นนึ่งที่ กสทช. ยอมออกมารับผิดชอบ สมมุติจุดสมดุลอยู่ที่ 15 ช่อง ก็จะต้องมีช่องมาคืนทั้งหมด 9 ช่องจาก  24 ช่อง คลื่นที่เขาคืนมานี้ก็เอาไปทำประโยชน์อื่นๆ ได้อีก เช่นทำระบบ 5G แทนที่จะดันทุรังทำต่อ ก็สู้เอาคลื่นไปใช้ประโยชน์ดีกว่า”

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและเป็นความท้าทายของ กสทช. ในการบริหารจัดการคือวิธีการในการคืนคลื่นคือจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าวิธีการรูปแบบไหนและควรกระทำให้เหมือนกรณีเวนคืนที่ดินซึ่งระบุชัดเจนถึงค่าชดเชย ราคาตลาด ขั้นตอนต่างๆ ควรมีวิธีจัดการและจัดสรรให้ดี

“อาจจะใช้วิธี incentive option กล่าวคือ ใครคืนก่อนได้เงินชดเชยมากกว่าก็ได้ เป็นอีกกลไกหนึ่งไว้ใช้จูงใจ ส่วนคลื่นที่จะเอามาใช้บริการสาธารณะจะเป็นอย่างไรแค่ไหนในอนาคต กสทช. ก็ต้องวางโรดแม็พไว้ให้ดีและชัดเจน โมเดลที่จะใช้ทำ 5G อาจจะต้องเป็นโมเดลหลากหลายเฉพาะพื้นที่ การประมูลคลื่นอาจจะไม่ตอบโจทย์อีกแล้ว”

หน้าที่ของ กสทช. ในขั้นตอนต่อไปคือการวางแผนในการจัดการให้ชัดเจน ขณะที่ภาคธุรกิจก็ต้องปรับตัวและหาทางออก ซึ่งจะเห็นภาพชัดเจนหลังจากมีบางช่อง คืนช่อง และน่าจะหาจุดสมดุลชองทีวีดิจิทัลได้ในที่สุด

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า