รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 10/06/2019 นักวิชาการ: ผศ.ดร.แพร จิตติพลังศรี จากศูนย์การแปลและการล่าม คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ที่ผ่านมา พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาให้ข่าวเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล พร้อมกับทิ้งท้ายว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ฝากแนะนำให้คนไทยอ่านหนังสือเรื่อง แอนิมอล ฟาร์ม (Animal Farm) เพราะเป็นหนังสือน่าอ่านให้ข้อคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต
พล.ท.วีรชน ยังได้ออกมาย้ำอีกหลังจากมีประชาชนเริ่มพูดถึงหนังสือดังกล่าวว่า หนังสือไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองไทย แต่นายกรัฐมนตรีเห็นว่า ผู้เขียนถ่ายทอดเรื่องได้ดีและน่าสนใจ และไม่อยากให้เชื่อมโยงทุกอย่างเป็นการเมือง หนังสือให้ข้อคิดว่าทุกชีวิตควรช่วยเหลือกัน และไม่มีใครทำให้คนอื่นพอใจได้ทั้งหมด
ต่อประเด็นดังกล่าว ผศ.ดร.แพร จิตติพลังศรี จากศูนย์การแปลและการล่าม คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดงทัศนะกับรู้ลึกกับจุฬาฯ ว่า
“ไม่รู้เหมือนกันว่ามูลเหตุที่ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ออกมาแนะนำหนังสือเล่มนี้คืออะไร แต่สังเกตได้ว่าออกมาพูดตอนที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคกำลังต่อรองในการจัดตั้งรัฐบาล อาจพูดถึงเรื่องการต่อรองแย่งชิงอำนาจ แต่ในความเห็นดิฉันคิดว่าท่านน่าจะคิดไม่ถึงมากกว่าว่าหนังสือนี้มีนัยอะไร”
ผศ.ดร.แพร ระบุว่า หนังสือนวนิยายเรื่อง แอนิมอล ฟาร์ม เป็นหนังสือที่เขียนโดย จอร์จ ออร์เวลล์ นักเขียนชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีนัยเสียดสีปฏิวัติรัสเซีย ซึ่งเกิดก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 การเมืองอย่างชัดเจน
“แอนิมอล ฟาร์มเสียดสีระบบการเมืองของรัสเซียเอาสัตว์มาอุปมานิทัศน์เป็นคน พล็อตเรื่องโดยย่อคือมีหมูในฟาร์มลุกขึ้นมาโค่นอำนาจของคน คือต้องการโค่นอำนาจเผด็จการ แต่สุดท้ายหมูก็กลายเป็นเผด็จการเสียเอง”
อาจารย์แพรชี้ว่า หนังสือนวนิยายขนาดสั้นหรือที่เรียกว่า Novella เล่มนี้ถูกเขียนขึ้นในบริบทการเสียดสีการเมืองรัสเซียยุคสตาลินว่า ระบอบการปกครองโดยสตาลินก็ไม่ได้ดีไปกว่าระบอบพระเจ้าซาร์ ซึ่งเป็นระบอบเก่าเท่าใดนัก แต่ด้วย ความเก่งกาจของผู้ประพันธ์ ทำให้หนังสือเล่มนี้สามารถใช้เสียดสีระบบเผด็จการได้มาโดยตลอด
“เราต้องยอมรับว่าตัวผู้แต่งคือออร์เวลล์เป็นคนมาก่อนกาลมาก และเป็นนักเขียนที่มองไปถึงอนาคตได้ว่าจะเกิดอะไร หนังสือเล่มนี้สร้างโลกใบหนึ่งซึ่งก็คือฟาร์ม เป็นจักรวาล หนึ่งๆ เพื่อเอามาเสียดสีสังคมโลกเรา แถมพล็อตเรื่องของนิยายเล่มนี้เป็น Ready-to-wear กับระบอบเผด็จการ มากๆ คือเราสามารถเอาบุคคลสำคัญในระบบการเมืองของประเทศใดๆ ก็ตามมาสวมเป็นตัวละครในเรื่องได้ทันที”
ทั้งนี้ หนังสือชื่อดังอีกเล่มซึ่งเขียนโดย จอร์จ ออร์เวลล์ ที่เคยถูกพูดถึงในการเมืองไทยก็คือ “หนึ่งเก้าแปดสี่ (1984)” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับประชาชนที่ถูกควบคุมโดยรัฐทุกชั่วขณะ ทั้งความคิด การดำรงชีวิต การกระทำ ฯลฯ และมีวรรคทองในเรื่องอย่าง “Big brother is watching you” ก็ได้เคยถูกใช้อธิบายการเมืองไทยกรณี พ.ร.บ. มั่นคงไซเบอร์ฉบับซิงเกิลเกตเวย์ในอดีตมาแล้ว
อาจารย์แพรตั้งข้อสังเกตว่า หนังสือแอนิมอล ฟาร์ม ได้ถูกแปลในประเทศไทยถึง 10 ครั้ง ฉบับแรกตั้งแต่ปี 2502 จนล่าสุดคือการพิมพ์ครั้งที่ 10 เมื่อปี 2560 มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะมักถูกแปลในช่วงจังหวะที่การเมืองไทยมีความเปลี่ยนแปลง
“ด้วยลักษณะของหนังสือ ไม่ใช่จะขายดีอะไรขนาดนั้น และไม่ใช่หนังสือประเภทเทพนิยายหรือหนังสือศาสนาที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ขายได้ตลอด เช่นนิทานอีสป คัมภีร์ไบเบิล ซึ่งนิยมแปลซ้ำกันบ่อย การแปลบ่อยหมายถึงสังคม ต้องการอะไรบางอย่าง และตัวหนังสือเองก็กำลังตอบโจทย์อะไรบางอย่างของสังคมอยู่”
จากข้อมูลการตีพิมพ์ของหนังสือแอนิมอล ฟาร์ม พบว่า มักจะตีพิมพ์ซ้ำในช่วงที่ประเทศไทยมีรัฐประหาร นับตั้งแต่การพิมพ์ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นการรัฐประหารนำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จนถึงฉบับครั้งที่ 9 ที่เป็นการรัฐประหารนำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ประเด็นที่น่าสังเกตอีกประการคือ หนังสือหรือวรรณกรรม ต่างๆ ที่มักปรากฏในหน้าข่าวการเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นแอนิมอล ฟาร์ม หรือ 1984 ต่างเป็นวรรณกรรมแปลจากต่างประเทศ ขณะเดียวกันวรรณกรรมของไทยเองกลับมีปรากฏค่อนข้างน้อยกว่า
“ที่เด่นๆ เท่าที่สังเกต คือปีศาจ ของเสนีย์ เสาวพงษ์ เป็นวรรณกรรมที่มีจุดยืน มีความกล้าหาญมาก พูดถึงปัญหาชนชั้นบน ชนชั้นล่างที่ไม่มีสิทธิพิเศษ แต่วรรณกรรมของไทยที่เกี่ยวข้องกับการเมืองจำนวนมากยังไม่แรงพอ ไม่ได้เสียดสีไปขั้นสุด หรือว่าจินตนาการจักรวาลขึ้นมา เอาเป็นว่าไม่ได้ถึงพริกถึงขิงมากพอ แต่ก็อาจเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของวรรณกรรมไทยก็ได้”
อาจารย์แพรยังกล่าวอีกว่าการที่ พล.อ.ประยุทธ์ให้โฆษกรัฐบาลแนะนำหนังสือเรื่องแอนิมอล ฟาร์ม โดยพยายามชี้แจงว่าหนังสือเล่มนี้แนะนำให้คนไทยดูแลกันและกันให้ดี ไม่เกี่ยวกับการเมือง ไม่น่าจะใช่คำตอบที่ถูกต้อง เพราะนวนิยายเล่มนี้คือนวนิยายการเมืองที่มีความชัดเจนอย่างปฏิเสธมิได้
“ความคิดส่วนตัวเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์เองก็คาดไม่ถึง และด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชาก็ทำให้ไม่มีใครกล้าท้วงว่าท่านพูดไม่ถูก หรือท่านควรระวังคำพูดในเรื่องนี้ เลยทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมา” อาจารย์แพรกล่าวทิ้งท้าย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้