รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 12/08/2019 นักวิชาการ: ผศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ รองคณบดี และอาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกของการลงคะแนนเสียงในสภาผู้แทนราษฎรที่ฝั่งรัฐบาลพ่ายแพ้ต่อฝ่ายค้าน ด้วยคะแนนเสียงเฉียดฉิว 205 ต่อ 204 โดยเป็นการลงมติแก้ไขข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร หัวข้ออำนาจหน้าที่ของประธานสภา ข้อ 9 ที่ระบุว่า “ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรต้องวางตนเป็นกลาง”
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากพรรคเล็กร่วมรัฐบาลกว่า 5 พรรคประกาศตัวเป็นฝ่ายค้านอิสระ และไม่ร่วมโหวตกับฝั่งรัฐบาล จนนำไปสู่ผลการลงคะแนนดังกล่าวและกระแสฮือฮาที่คาดเดาไปถึงอนาคตของการเมืองไทย
อย่างไรก็ดีในทัศนะของนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์อย่าง ผศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ รองคณบดี และอาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชื่อว่าสัญญาณรัฐบาลปริ่มน้ำมีมาตั้งแต่เริ่มต้นตั้งรัฐบาลแล้ว
“คำว่ารัฐบาลปริ่มน้ำเป็นมาตั้งแต่ช่วงตั้งรัฐบาลแล้ว เราเห็นชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 60 มีความตั้งใจไม่ให้มีพรรคขนาดใหญ่เด็ดขาดในสภา มันก็น่าจะได้รัฐบาลแบบนี้แหละ พรรคขนาดกลาง พรรคเล็กพรรคน้อยได้ที่นั่งจำนวนมาก พอเปิดประชุมสภาถึงตอนโหวตแบบวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์แบบนี้ก็เห็นภาพชัดขึ้นว่าเป็นรัฐบาลปริ่มน้ำจริง” อาจารย์บัณฑิตระบุ
อาจารย์บัณฑิตวิเคราะห์ว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันถือว่ามีพรรคการเมืองร่วมด้วยมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยคือกว่า 20 พรรค จึงมิต้องสงสัยเลยว่ารัฐบาลจะมีเสถียรภาพมากน้อยแค่ไหนในการประคับประคองพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลต่างๆ ให้ดำเนินไปตามปกติ
“การเลือกตั้งที่ผ่านมา ผมคิดว่าเขาคงไม่คิดว่าพรรคอนาคตใหม่จะได้ที่นั่งมากขนาดนี้ มันเลยเบียดให้จำนวนที่นั่งพรรคฝ่ายค้านปัจจุบันสูสีกับพรรคร่วมรัฐบาล ตัวพรรคพลังประชารัฐเองก็ไม่ได้มีที่นั่งถล่มทลายกินขาดผู้อื่น แต่นี่คือผลจากรัฐธรรมนูญ 60 ซึ่งเขียนขึ้นมาเป็นแบบนี้ และผมคิดว่าเขาเองก็ลืมคิดไปว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ เป็นความล้มเหลวของตัวเอง”
การลงคะแนนเสียงในวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมาเป็นเพียง “น้ำจิ้ม” และการประลองกำลังเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล หลังจากนี้เป็นต้นไปเพื่อการรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ฝั่งรัฐบาลจะโหวตแพ้ไม่ได้เด็ดขาด
“เรื่องโหวตวันที่ 8 เป็นเรื่องเล็กๆ ประเด็นแค่แก้ข้อบังคับการประชุม ถ้าโหวตเรื่องใหญ่กว่านี้แล้วรัฐบาลแพ้จะเป็นเรื่องใหญ่ ถ้ารัฐบาลแพ้จะต้องลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ นี่หมายความว่าต่อจากนี้ ส.ส.พรรครัฐบาล ห้ามขาดประชุม ห้ามสาย ห้ามลา ห้ามลุกไปเข้าห้องน้ำด้วย จะตึงเครียดแค่ไหน”
ในขณะที่ ส.ส.เองก็มีภาระความรับผิดชอบในการลงพื้นที่พบปะประชาชนเพื่อสอบถามสภาพปัญหาในชุมชน และการหาคะแนนเสียงจากประชาชนเพื่อการเลือกตั้งในครั้งต่อไป แต่การถูกรั้งให้ต้องเข้าร่วมการประชุมสภาทุกครั้งเพื่อการโหวตให้รัฐบาลก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ทั้งนี้อาจารย์บัณฑิตชี้ว่า พรรคร่วมรัฐบาลหลักอย่างพรรคพลังประชารัฐยังถือว่าเป็นพรรคใหม่ ไม่มีความเป็นสถาบัน สมาชิกพรรคยังไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและยังไม่รู้แน่ชัดว่าจะมีทิศทางอย่างไรต่อไป
“ทางรัฐศาสตร์เราใช้คำว่า Buffet Cabinet นักการเมืองในพรรคแย่งกันเป็นรัฐมนตรี ทุกคนจะอ้างว่าขอเป็นหน่อยอย่างน้อยสักครึ่งสมัยก็ดี เป็นภาพที่เกิดขึ้น สำหรับฝ่ายรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำที่มีพรรคร่วมมาก สำหรับพรรคพลังประชารัฐเองก็ไม่ได้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และจะมีสภาพเหมือนพรรคสามัคคีธรรมที่มีลักษณะคล้ายกันในสมัยปี 2535 ไหม ซึ่งก็สูญสลายไปแล้วเมื่อมีเหตุการณ์ทางการเมือง”
ทางออกของฝ่ายรัฐบาลในขณะนี้คือการสร้างภาพลักษณ์ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัญหาที่จับต้องได้และเป็นปัญหาเฉพาะหน้าขณะเดียวกันก็ควรหาทางออกร่วมกันกับสังคมและประชาชน ว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 หรือไม่อย่างไรโดยการทำฉันทามติร่วม
อาจารย์บัณฑิตชี้ว่านับตั้งแต่การร่างรัฐธรรมนูญปี 2540 จนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายต่อหลายครั้งเพื่อตอบโจทย์ผู้มีอำนาจ ซึ่งไม่พอใจรัฐธรรมนูญฉบับเก่า อาทิ รัฐธรรมนูญปี 2540 เกิดขึ้นจากฉันทามติของภาคประชาชนที่รังเกียจความไม่เป็นเอกภาพของรัฐบาลผสมในอดีต นักการเมืองต้องมีการสังกัดพรรคจนทำให้เกิดนักการเมืองมืออาชีพ แต่ก็ตามมาด้วยการเกิดขึ้นของพรรคไทยรักไทย
“รัฐธรรมนูญไทยพยายามแก้ไขจุดอ่อนในอดีต ต่อมาปี 2550 ก็ลดสัดส่วน ส.ส. แต่เมื่อพรรคเพื่อไทยชนะก็มีการใช้อำนาจองค์กรอิสระเข้ามาจัดการ ส่วนปี 2560 ก็เกิดสภาพรัฐบาลแบบปัจจุบัน ตราบใดที่ฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับ ระบบธรรมชาติทางการเมือง ไม่ยอมสูญเสียอำนาจ และเปลี่ยนรัฐธรรมนูญไปเรื่อยๆ ความขัดแย้งทางการเมืองไม่จบแน่นอนเพราะสังคมไม่ได้มีฉันทามติร่วมกัน”
“เสถียรภาพของรัฐบาลชุดนี้ก็อิหลักอิเหลื่อแบบนี้ที่เห็น แต่นี่คือบทพิสูจน์ด่านสุดท้ายของเหตุการณ์รัฐประหารปี 2557 ว่าจะเป็นอย่างไร” อาจารย์บัณฑิตกล่าวทิ้งท้าย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้