รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 02/09/2019 นักวิชาการ: ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ จากคณะจิตวิทยา จุฬาฯ
แม้ปัญหาการฆ่าตัวตายจะไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทย แต่ในช่วงเดือนที่ผ่านมามีการนำเสนอข่าวจากสำนักข่าวในประเทศหลายแห่งถึงกรณีการฆ่าตัวตายจากปัญหาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการเงินและหนี้สินด้วยวิธีการต่างๆ
จากกระแสดังกล่าว นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทยเสนอแนะว่ารัฐบาลควรตั้งศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายจากพิษเศรษฐกิจให้เป็นรูปธรรมอย่างเร่งด่วน ขณะที่ฝั่งรัฐบาลโดยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีก็ตอบโต้ว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้มีการแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของประชาชนมาโดยตลอด และได้แจ้งให้ประชาสัมพันธ์หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
ในเรื่องนี้ ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ จากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าตัวเลขคนไทยฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้นจริง แต่ตัวเลขยังไม่สูงเทียบเท่าสมัยวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 โดยสถิติปัจจุบันจากกรมสุขภาพจิตระบุว่าอยู่ที่ 6.32 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ขณะที่เมื่อปี 2540-2542 ตัวเลขพุ่งสูงสุดไปกว่า 8.59 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน
ล่าสุดอธิบดีกรมสุขภาพจิตเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาพบจำนวนผู้ที่ทำร้ายตนเองจนเสียชีวิตเฉลี่ยเดือนละ 345 ราย ซึ่งตกเป็นวันละ 11-12 ราย ทางกรมยังแสดงความวิตกกังวลการนำเสนอข่าวจากสื่อมวลชน ซึ่งพบค่อนข้างบ่อยและอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ทั้งนี้สาเหตุของการฆ่าตัวตายมีได้หลายประการ ได้แก่ อาการจากโรคซึมเศร้า ความวิตกกังวล โรคทางจิตใจ หรือแม้แต่ความเครียด ซึ่งปัญหาทางเศรษฐกิจถือว่าเป็นหนึ่งในต้นตอของความเครียดดังกล่าว
“ปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเครียดหนักๆ ได้ แต่ถ้าหากเรารู้ก่อน เราเตรียมตัวก่อนจะช่วยรับมือได้ โดยเฉพาะคนรอบข้างที่อยู่ใกล้คนที่มีอาการเครียด เพราะบ่อยครั้งเราไม่ทันอารมณ์ตัวเอง ต้องให้คนอื่นบอกหรือให้คนอื่นคอยมองอารมณ์ว่า ณ ตอนนี้เราเป็นอย่างไร” อาจารย์ณัฐสุดา กล่าว
อาจารย์ณัฐสุดาอธิบายเพิ่มเติมว่า การช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาเศรษฐกิจและมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย คนรอบข้างถือว่ามีบทบาทเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้ที่สามารถเอื้อมมือเข้าไปช่วยเหลือและอยู่เคียงข้างผู้ประสบปัญหาให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว
“ปัญหาเศรษฐกิจเป็นเรื่องเงินทองก็จริง แต่เงินทองอาจไม่ใช่เรื่องสำคัญเทียบเท่าการมีคนอยู่เคียงข้าง คนใกล้ชิดเองอย่ากลัวที่จะไปคุย การถามตรงๆ สามารถทำได้เพราะมีงานวิจัยแล้วว่าการถามตรงๆ ไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการฆ่าตัวตาย”
อาจารย์ณัฐสุดา อธิบายอีกว่า หากดูจากสถิติจะพบว่าผู้ที่ฆ่าตัวตายส่วนใหญ่มักเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง และมักอยู่ในวัย 30-59 ปี ซึ่งนับเป็นอายุช่วงวัยทำงาน มีความรับผิดชอบ ในชีวิต ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเครียดและคิดฆ่าตัวตาย
“ปัญหาการฆ่าตัวตายในสังคมไทยเป็นปัญหาที่มีมานานแล้ว ในสังคมปัจจุบันที่มีความโดดเดี่ยวมากขึ้น เป็นสังคมเมืองที่มีการแข่งขันสูง ไม่มีระบบช่วยเหลือหรือระบบเครือข่ายที่สนับสนุน เช่น ความสัมพันธ์ของคนในชุมชน”
อย่างไรก็ตาม อาจารย์ณัฐสุดาเชื่อว่าสังคมไทยปัจจุบันมีความเข้าใจในเรื่องสุขภาพจิตมากขึ้น มีการตีตราลดลง คนไทยเริ่มมองว่าการไปพบจิตแพทย์ไม่จำเป็นต้องเป็นคนเสียสติเสมอไป ดังนั้นตัวเลขของคนฆ่าตัวตายไม่น่าจะพุ่งสูงเหมือนในอดีต
“ช่วงหลายปีมานี้คนเข้าใจเรื่องสุขภาพจิตกันมากขึ้น ไม่ได้มองว่าการไปหาหมอคือต้องเป็นจิตเภทเท่านั้น และทุกวันนี้มีสายด่วนสุขภาพจิต มีความพยายามพัฒนาระบบช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับรัฐโดยกรมสุขภาพจิต ในเอกชน อย่างของมหาวิทยาลัยเองก็มี”
อาจารย์ณัฐสุดาชี้ว่าการแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายในประเทศไทยอีกวิธีคือการเปลี่ยนภาพของการนำเสนอข่าวคนฆ่าตัวตายให้มีความสร้างสรรค์มากขึ้น เพราะการนำเสนอการฆ่าตัวตายอย่างโจ่งแจ้งชัดเจนมากเกินไป ก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ หรือ Copycat ได้
“วิธีการที่ถูกต้องคือการนำเสนอข่าวในเชิงป้องกัน หลีกเลี่ยงการใช้พาดหัวข่าวที่ดึงดูด ไม่ควรใช้ภาพที่ไม่เหมาะสม และควรเพิ่มแนวทางการดูแล การขอคำแนะนำหรือคำปรึกษาจากหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ รวมถึงการนำเสนอข่าวในเชิงสอบถาม ความรู้สึกของบุคคลรอบข้างหรือผู้สูญเสียคนรัก หรือคนในครอบครัวจากการฆ่าตัวตายจะช่วยให้แก้ปัญหาได้ตรงจุดมากกว่า” อาจารย์ณัฐสุดาเน้นย้ำ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้