รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 16/09/2019 นักวิชาการ: อาจารย์ ดร.รัชดา ไชยคุปต์
ความเสมอภาคทางเพศ หรือความเท่าเทียมระหว่างเพศ (Gender Equality) คืออะไร ในระยะหลังคนไทยอาจได้ยินแนวคิดนี้บ่อยขึ้นผ่านสื่อต่างๆ หลายคนอาจมองเป็นประเด็นที่กลุ่มผู้หญิงลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิสตรี (อีกแล้ว) แต่ในความเป็นจริง เรื่องความเสมอภาคทางเพศหรือความเท่าเทียมระหว่างเพศเป็นเรื่องของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานะ ที่มีสิทธิในความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน
ยิ่งไปกว่านั้น คำว่า “เท่าเทียม” ไม่ได้แปลว่า “เท่ากับ” และคำว่า “เพศสภาพ” หรือ Gender เป็นคำที่กว้างกว่าคำว่าเพศ หรือ Sex ที่กำหนดตามเพศกำเนิดเท่านั้น
ในส่วนของประเทศไทยนับว่ามีความก้าวหน้าและตอบรับกับสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ที่ระบุความหมายของการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศอย่างชัดเจน ครอบคลุมถึงบุคคลที่มีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด (มาตรา 3) และได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558
ตาม พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ(คณะกรรมการ สทพ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน (มาตรา 5) ซึ่งหนึ่งในอำนาจหน้าที่ที่สำคัญคือการกำหนดนโยบาย มาตรการ และแผนปฏิบัติงานเพื่อให้มีการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศในทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
นอกเหนือจากคณะกรรมการ สทพ.แล้ว ยังมีคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ วลพ.) อีกคณะหนึ่งซึ่งมีที่มาจากการสรรหาและได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ โดยมีหน้าที่สำคัญคือการวินิจฉัยปัญหาที่มีการยื่นคำร้องว่ามีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศตามมาตรา 18
เป็นที่น่าสนใจว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้มีบทกำหนดโทษสำหรับผู้ใดที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ วลพ.ด้วย กล่าวคือ ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สะท้อนให้เห็นว่าเป็นกฎหมายที่มีบทบังคับใช้อย่างชัดเจนไม่เพียงแค่ส่งเสริมเท่านั้น
ในระดับโลกทุกท่านคงคุ้นกับคำว่า “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” หรือ “Sustainable Development Goals” หรือเรียกสั้นๆ ว่า SDGs โดยหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญและเป็นเป้าหมายเดียวที่สามารถเชื่อมโยงกับเป้าหมายอื่นๆ อีก 16 เป้าหมาย ก็คือเป้าหมายที่ 5 ว่าด้วยความเสมอภาคทางเพศ(Gender Equality) นั่นเอง
เป้าหมายนี้มุ่งเน้นที่การบรรลุความเสมอภาคทางเพศและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน โดยมีสาระสำคัญในการยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในทุกพื้นที่ การขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กทุกรูปแบบทั้งในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนบุคคล รวมถึงการค้ามนุษย์ การแสวงหาประโยชน์ทางเพศและการแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ
ยิ่งไปกว่านั้นเป้าหมายดังกล่าวยังมุ่งเน้นขจัดการปฏิบัติที่เป็นอันตราย เช่น การบังคับแต่งงานในเด็กก่อนวัยอันควร และการขลิบอวัยวะเพศสตรี ตลอดจนนโยบายการคุ้มครองทางสังคม การรับรองและเสริมสร้างนโยบายและการนิติบัญญัติที่บังคับใช้ได้ เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศและการเสริมพลังแก่สตรีทุกคนและเด็กในทุกระดับ
ในระดับภูมิภาค เช่น ระดับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน มีคณะกรรมาธิการว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ACWC) ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก ภายใต้ประเด็นสำคัญ 16 ประเด็น ซึ่งมีผู้แทนจากแต่ละประเทศสมาชิก ประเทศละสองคน โดยดูแลด้านสิทธิสตรีหนึ่งคน และด้านสิทธิเด็กหนึ่งคน อยู่ในวาระการดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปี มีภารกิจครอบคลุมประเด็นเรื่องการยุติความรุนแรงและการต่อต้านการค้ามนุษย์ รวมถึงการสนับสนุนด้านความเสมอภาคระหว่างเพศด้วย
แนวทางการทำงานของผู้แทนดังกล่าวจะสอดรับกับแนวปฏิบัติของประชาคมอาเซียนว่าด้วยความละเอียดอ่อนเชิงเพศ ภาวะสำหรับการดูแลสตรีที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ที่ได้รับฉันทามติจากประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนเมื่อปี 2559 และประเทศไทย
ทั้งนี้ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม ACWC และ UN Women ได้แปลและจัดทำแนวปฏิบัติเป็นภาษาท้องถิ่นประเทศแรกในอาเซียนและนำสู่การปฏิบัติที่แท้จริง โดยจะเห็นได้ว่าถึงแม้ว่าแนวปฏิบัตินี้ระบุถึงสตรี แต่ในส่วนที่ระบุถึงความละเอียดอ่อนเชิงเพศภาวะ (เพศสภาพ) มีการระบุว่าควรระบุเพศสภาพของผู้เสียหายด้วยเพื่อให้ความช่วยเหลือและให้การบริการที่เหมาะสม
เมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา เพื่อเป็นการย้ำเน้นถึงความสำคัญของพ.ร.บ.ความเท่าเทียมทางเพศและสร้างความตระหนักรู้ในสังคมไทย ทาง ACWC-ประเทศไทย และ UN Women จึงได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน “HeForShe University Tour” เป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โครงการ HeForShe นี้เป็นโครงการริเริ่มขององค์การสหประชาชาติ เพื่อส่งเสริม เผยแพร่ และให้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ โดยเริ่มต้นครั้งแรกในโลกในปี 2553 และเปิดตัวในภูมิภาคอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2560
สาระสำคัญของโครงการนี้คือ การหยุดความไม่เท่าเทียมทางเพศโดยเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม และที่สำคัญต้องการความร่วมมือจากเด็กผู้ชายและผู้ชายเพื่อการเปลี่ยนแปลงนี้ การรณรงค์นี้ไม่ได้จะมาทำให้การต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีถูกมองว่าเป็นการเกลียดผู้ชาย ในความเป็นจริงทั้งผู้หญิงผู้ชายและทุกคนควรต้องมีสิทธิและโอกาสที่เท่าเทียมกัน
ในงานนี้ มูฮัมมัด นาซิริ ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคและผู้แทนประจำประเทศไทยของ UN Women ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่จะมุ่งสู่ความเสมอภาคทางเพศอย่างแท้จริงนั้นไม่ใช่แต่เด็กผู้ชายและ/หรือผู้ชายจะสนับสนุนให้เกิดความเสมอภาคนี้ได้ ในความเป็นจริงผู้หญิงและผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถสร้างสังคมที่มีความเสมอภาคทางเพศอย่างแท้จริงด้วยเช่นกัน
อาจารย์ ดร.รัชดา ไชยคุปต์
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้