รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 19/12/2017 นักวิชาการ: รศ.ดร.ชูเกียรติ พนัสพรประสิทธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ภายในไม่ถึงปีหลังจากเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายโดนัลด์ ทรัมป์ ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2560 รับรองว่านครเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล แถลงการณ์ดังกล่าวสร้างความไม่พอใจแก่ชาวอาหรับในโลกตะวันออกกลาง รวมถึงผู้นำนานาชาติที่มองว่ากระบวนการสร้างสันติภาพในชาติอาหรับกำลังจะหายไป
การรับรองสถานะขึ้นเป็นเมืองหลวงมีความสำคัญอย่างไร ? และการกระทำครั้งนี้ของโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นการแหกกฎสิ่งที่ผู้นำสหรัฐหลายคนก่อนหน้าพยายามที่จะทำไว้ คือสิ่งที่ รศ.ดร.ชูเกียรติ พนัสพรประสิทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในตะวันออก กลาง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุไว้ว่า “เป็นเรื่องใหญ่”
อาจารย์ชูเกียรติระบุว่า ประเด็นเยรูซาเลมเป็นเรื่องความขัดแย้งทางศาสนาและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในฐานะที่เป็นนักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะไม่อธิบายถึงประเด็นความขัดแย้งทางศาสนาของชาติตะวันออกกลาง แต่กล่าวได้ว่าเยรูซาเลมได้รับการยอมรับให้เป็นแหล่งกำเนิดของ 3 ศาสนา คือ คริสต์ ยิวหรือยูดาย และอิสลาม จึงเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญซึ่งมีนัยทางการเมืองมาเกี่ยวข้อง
จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งเริ่มต้นตั้งแต่ปี 1917 ซึ่ง ณ เวลานั้น ดินแดนอิสราเอลและปาเลสไตน์อยู่ในอาณัติของอังกฤษ และมีแถลงการณ์จะให้ปาเลสไตน์เป็นประเทศเอกราช แต่แถลงการณ์ มีความคลุมเครือ ทำให้ปัญหายังคาราคาซังอยู่จนถึงวันนี้
“คนที่ติดตามเรื่องในตะวันออกกลางอย่างผมจะจำปีกันได้ เพราะเหตุการณ์มักลงท้ายด้วยเลข 7 ในปี 1947 อังกฤษบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ เลยยกปาเลสไตน์ให้สหประชาชาติ สหประชาชาติมีข้อมติว่าให้เยรูซาเลมเป็นเมืองนานาชาติ” อาจารย์ชูเกียรติกล่าว และไม่ได้มีการกำหนดให้นครเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงแต่อย่างใด
จากนั้นในปีถัดมา อิสราเอลประกาศตัวเป็นเอกราช และเกิดสงครามครั้งใหญ่ๆ ระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์มากถึง14-15 ครั้ง โดยมีชาติอาหรับชาติอื่นเป็นผู้สนับสนุนปาเลสไตน์จนกระทั่งในปี 1967 อิสราเอลสามารถยึดเมืองเยรูซาเลมทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกได้ทั้งหมด และประกาศให้เป็นเมืองหลวงของประเทศตนเองในเวลาต่อมา ซึ่งก็ถูกประณามจากนานาชาติ
“สหรัฐมีความพยายามเข้ามาแก้ปัญหาสันติภาพมาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีบิล คลินตัน คุณควรรู้ด้วยว่าสหรัฐมีชาวยิวเยอะ หลายคนเป็นล็อบบี้ยิสต์ดันกฎหมายให้สหรัฐรับรองเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล แต่บิล คลินตัน รวมถึงประธานธิบดีคนอื่นๆ ต่อมาก็ใช้วิธีการบ่ายเบี่ยงไม่ยอมรับ ออก Presidential Executive Order เลี่ยงเวลาการยอมรับออกไป”
ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสหรัฐหลายคนใช้กระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ เช่น รัฐบาลโอบามา มีการแต่งตั้งทูตพิเศษหลายคน แต่ก็ทำไม่สำเร็จ ขณะที่ประธานาธิบดีทรัมป์ แต่งตั้งลูกเขยตัวเองเป็นทูตพิเศษในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
“จาเร็ด คุชเนอร์ ลูกเขยทรัมป์เป็นยิว ผมแน่ใจว่าเขาเป็นคนที่มีอิทธิพลกับแถลงการณ์ทรัมป์ ที่น่าตกใจคือทรัมป์ตั้งเป็นทูต เป็นที่ปรึกษาอาวุโส ทั้งๆ ที่ประสบการณ์ทางการเมือง ประสบการณ์การเป็นทูตเพื่อแก้ไขความขัดแย้งก็ไม่มี”
อาจารย์ชูเกียรติ ระบุว่าการแสดงออกของสหรัฐในครั้งนี้ ถือเป็นการบั่นทอนท่าทีของสหรัฐในการเป็นตัวกลางเพื่อเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ ขณะเดียวกัน อาจมองได้ว่าหลังจากนี้ อิสราเอลจะได้เปรียบทางการเมือง และน่าจะมีความสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐ
“ผมมองว่าผีกับโลงแน่นอน รัฐบาลทรัมป์กับรัฐบาลอนุรักษนิยมของอิสราเอล ที่น่าเศร้าคือความเดือดร้อนและความวุ่นวายในตะวันออกกลางที่จะเกิดขึ้น และมีแนวโน้มว่าฝั่งอิสราเอลน่าจะได้เปรียบมากกว่าฝั่งโลกอาหรับ”
เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศของชาติอาหรับก็ไม่ได้ดีนักชาติที่เคยลุกขึ้นทำสงครามกับอิสราเอลอย่างเลบานอน ซีเรีย อิรัก และอียิปต์ ต่างมีปัญหาการเมืองภายใน และปาเลสไตน์อาจไม่ได้รับการสนับสนุนทางการทหารและการเมืองเหมือนอดีต
“ในสายตาโลกอาหรับ ปัญหานี้มีความสำคัญน้อยกว่าปัญหาภายในประเทศ ที่ผ่านมามีการประชุมสันนิบาตชาติอาหรับ บอกว่าไม่ยอมรับแถลงการณ์ทรัมป์ แต่ก็ไม่ได้บอกว่าจะให้เยรูซาเลมเป็นอะไร”
เมื่อหน้าที่ในการเจรจาสันติภาพระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์โดยสหรัฐลดลง จึงอาจเป็นหน้าที่ของชาติยุโรป รวมถึงสหประชาชาติที่เข้ามามีบทบาทแทนที่ กระนั้น อาจารย์ชูเกียรติก็ระบุว่าไม่ง่ายนัก เพราะยุโรปมีปัญหาเรื่อง Brexit การไม่มีอังกฤษในสหภาพยุโรป อาจทำให้อำนาจการต่อรองลดลง ส่วนสหประชาชาติ ถ้าหากแก้ไขได้ก็คงแก้ได้ไปนานแล้ว
“ประเด็นเรื่องอิสราเอล-ปาเลสไตน์เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ถ้าคุณอ่านนิวยอร์กไทม์ฝั่งยิวจะเขียนเชียร์ว่าทำไมอิสราเอลควรได้เยรูซาเลม แต่ถ้าอ่านที่คนปาเลสไตน์เขียนเขาก็จะเขียนข้อมูลอีกฝั่ง” อาจารย์ชูเกียรติกล่าวทิ้งท้าย พร้อมย้ำว่า การกระทำครั้งนี้ของทรัมป์ เป็นการสร้างผลกระทบในเชิงลบแน่นอน
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้