รู้ลึกกับจุฬาฯ

หมดยุค “สิ่งพิมพ์” หรือยัง?

ข่าวใหญ่ส่งท้ายปี 2560 อีกข่าวคือการปิดตัวของนิตยสาร “คู่สร้างคู่สม”  นิตยสารชื่อดังที่เคยมียอดขายเดือนละกว่าล้านฉบับ และเปิดตัว มาแล้วกว่า 38 ปี ล่าสุด ดำรง พุฒตาล เจ้าของนิตยสารออกมาเปิดเผยว่า ขณะนี้ ยังไม่ขาดทุน แต่รายได้ลดลงเรื่อยๆมาเป็นเวลากว่า 3 ปีแล้ว เพราะคนหันไป อ่านในออนไลน์มากกว่าในหนังสือ

หลายคนเชื่อว่าการปิดตัวของคู่สร้างคู่สมเป็น “สัญญาณ” ของการสิ้นสุดยุคสิ่งพิมพ์นิตยสาร แต่ ผศ.พิจิตรา สึคาโมโต้ หัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่านิตยสารคงไม่หมดแบบเบ็ดเสร็จ หรือล้มหายตายจากไปในท้องตลาด แต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลง

อาจารย์พิจิตรา เรียกช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านขณะนี้ว่า “ฝุ่นตลบ” ต้องใช้เวลาในการปรับตัว เพราะจากนี้เป็นต้นไป อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียจะเป็นแพลตฟอร์มสำคัญที่คนใช้รับข่าวสารและเนื้อหาสาระของข่าวสารก็จะต้อง เปลี่ยนไป

“นับจากนี้ไปสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นพวก mass จะปิดตัวไป พวกนี้อยู่ได้ต้องเป็นเนื้อหาเฉพาะเจาะจงเท่านั้น และไม่ได้ออกถี่ อย่างในต่างประเทศก็มีพวกนิตยสาร Kinfolk หรือ Popeye ของญี่ปุ่น และต้องมีเนื้อหาลึกขึ้น เพราะแพลตฟอร์มยุคนี้มันมีมากขึ้น คนหันไปใช้แพลตฟอร์ม อื่น กระดาษหดตัวลง”

ขณะเดียวกันก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาในสื่อ อาจารย์พิจิตราระบุว่ายุคโซเชียลมีเดียทำให้คนเสพสื่อแบบภาพและข้อความ ต้องมีภาพน่าสนใจที่ทำให้หยุดดูแล้วกดอ่าน มีการใช้ภาษาที่แรงขึ้นเพื่อดึงดูดผู้คน

อาจารย์พิจิตรา กล่าวอีกว่า อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ได้เป็นเพียงอุตสาหกรรมเดียวที่ได้รับผลกระทบจากโลกไซเบอร์ แต่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ละคร หรือแม้กระทั่งเพลงก็ได้รับผลกระทบ มีระบบสตรีมมิ่ง หรือการดูหนังฟังเพลงออนไลน์ผ่านโปรแกรม Netflix หรือ JOOX เช่นกัน

“แต่สิ่งพิมพ์ที่เป็นหนังสือเล่มก็ไม่หายไปไหนยังคงมีคนสะสม หรือคนที่ต้องการหาข้อมูลเชิงลึก หนังสือยังคงตอบโจทย์ ตลาดหนังสือยังอยู่ได้เพราะผู้ใหญ่ซื้อ แต่ก็ต้องยอมรับว่าตลาดมันแคบลงจริง อย่างหนังสือจำพวกนวนิยาย คนรุ่นใหม่เขาก็ไปอ่านใน ookbee หรือในจอยลดา สไตล์การอ่านของเขาก็เป็นสไตล์ของคนรุ่นใหม่ ภาษาเปลี่ยน การรับรู้ข้อมูลเปลี่ยน ไม่เหมือนนิยายสมัยจอมพล ป. แล้ว”

อาจารย์พิจิตรา ระบุว่า การเปลี่ยนไปใช้โซเชียล มีเดียเป็นสื่อหลักในการรับข้อมูลก็อาจเกิดผลเสียได้ เพราะระบบอัลกอริธึมของโซเชียลมีเดีย จะดึงดูดให้ผู้คนได้รับข้อมูลแต่ที่ตัวเองสนใจเท่านั้น และเกิดการดูสิ่งซ้ำๆ ในเรื่องที่ตนสนใจ

“ภาษาสื่อเขาเรียกว่า echo chamber คือเราสนใจอะไรก็จะรับรู้แต่สิ่งนั้นไปเรื่อยๆ ไม่เหมือนเวลาเราอ่านหนังสือพิมพ์ที่อ่านไปเรื่อยๆ ตรงไม่ตรงความสนใจของเรา มีความกังวลว่า echo chamber ในเชิงการเมืองจะทำให้เกิดผลกระทบ เพราะคุณจะเห็นแต่สิ่งที่คุณชอบ แล้วพอเสพมากๆ ก็จะเกิดความคิดสุดโต่ง”

“ช่วงฝุ่นตลบ” อย่างที่กล่าวถึงจึงเป็นช่วงเวลาสำคัญให้สื่อกลับมาทบทวนตัวเองและตั้งหลักว่าจะทำอะไรต่อ ในกรณีของคุณดำรง พุฒตาล ระบุว่าคงต้องวางมือจากวงการสื่อ เพราะตนเองไม่มีความตั้งใจทำออนไลน์ และรู้สึกเหนื่อยเพราะทำงานมามากกว่า 50 ปีแล้ว

ส่วนสื่อที่ยังต้องทำงานก็ต้องดิ้นรนกันต่อไป อาจารย์พิจิตรา ยกตัวอย่างหนังสือพิมพ์ชื่อดังของสหรัฐ อย่าง Wall Street Journal ก็มีการปรับตัวทำออนไลน์ แต่สร้างระบบ Subscribe หรือการสมัครสมาชิก เมื่อผู้
ใช้งานอ่านบทความไปได้ระยะหนึ่งก็จะปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลส่วนที่เหลือไว้ ถ้าอยากอ่านต่อต้องไปสมัครสมาชิกเสียเงินรายเดือน รายปี เพื่ออ่านต่อและเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

“ประเด็นมีอยู่ว่า สื่อไทยมีเจ้าไหนบ้างไหมที่เก็บ Data ดีๆ แบบนั้น เพราะถ้าจะทำระบบนี้ต้องลงทุนด้าน Data ต้องมีระบบจัดเก็บในออนไลน์ดีๆ”

นอกจากนี้อาจารย์พิจิตรายังระบุว่า  ที่คุณดำรง พุฒตาล กล่าวว่า การเรียนการสอนวิชานิเทศศาสตร์ ควรมีการเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องที่ควรกระทำ นักศึกษาหรือคนทำสื่อต้องเข้าใจระบบแพลตฟอร์มและการมีทักษะที่หลากหลายในโลกดิจิทัลมากกว่าแต่ก่อน

“อาจารย์เชื่อว่าเราต้อง Go Online ดังนั้นคนทำสื่อต้องไม่ใช่เข้าใจแค่ production หรือ content แต่ต้องเข้าใจ platform และเข้าใจระบบอัลกอริธึมของโลกออนไลน์เพื่อสร้างเนื้อหาดึงดูดผู้คน มีทักษะหลากหลาย เช่น ทักษะการเล่าเรื่อง การใช้สื่อวิดีโอ คลิปประกอบ” อย่างไรก็ดี อาจารย์พิจิตรายังคงย้ำว่า “เนื้อหา” คือส่วนที่เน้นที่สุด เพราะสื่อที่มากขึ้นในยุคปัจจุบันขาดความน่าเชื่อถือและความถูกต้อง คนทำสื่อควรจะต้องยึดมั่นในจุดนี้ไว้เป็นลำดับแรก 

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า