รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 29/01/2018 นักวิชาการ: รศ.ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
ข่าวนาฬิกาหรูที่ได้มาจากการ “ยืมเพื่อน” ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประเด็นดังที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องมาหลายสัปดาห์ เรียกว่าเป็นวาระข่าวสารของทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อกระแสรองก็คงไม่ผิดนัก
ล่าสุด มีการขุดค้นในโลกโซเชียลมีเดียว่า พล.อ.ประวิตร มีนาฬิกาหรูกว่า 25 เรือน คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 30 ล้านบาท ขณะที่ในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นแสดงต่อ ป.ป.ช. เมื่อ 3 ปีก่อน กลับไม่ปรากฏเหล่านาฬิกาดังกล่าว
การออกมาให้ข่าวว่านาฬิกาเหล่านั้นได้มา จากการยืมเพื่อน ทำให้สาธารณชนไม่ลดความแคลงใจ และยังคงตั้งหน้าตั้งตารอจับผิดอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันการตรวจสอบประเด็นนาฬิกาดังกล่าวอยู่ในมือของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรียบร้อย และ พล.อ.ประวิตรก็ได้กล่าวไว้ชัดเจนว่าหาก ป.ป.ช. พบว่ามีความผิดจริง ยินดีลาออกจากตำแหน่ง
อย่างไรก็ดี ประเด็นที่มีคนสงสัยและ “ไม่มั่นใจ” คือที่มาและท่าทีของ ป.ป.ช.ชุดนี้ “ผมประเมินเองว่าความมั่นใจของประชาชนลดน้อยลง เพราะในด้านหนึ่ง ป.ป.ช.ใส่เต็มที่ในการตรวจสอบนักการเมือง แต่พอมาเป็นการตรวจสอบบุคคลในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็ดูเหมือนจะผ่อนปรนลง” คือความคิดเห็นที่ รศ.ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกกับ “รู้ลึกกับจุฬาฯ” เกี่ยวกับกรณีตรวจสอบทรัพย์สินผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในปัจจุบัน พร้อมอธิบายว่า กฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้อำนาจคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเปิดเผยทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2554 มีการกำหนดไว้ว่านายกรัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. รัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่รัฐในบางตำแหน่งต้องนำเอกสารไปเปิดเผยต่อสาธารณชน โดยจะมีการติดไว้ที่ทำการ ป.ป.ช.
วัตถุประสงค์ของการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อสาธารณะ เพื่อให้สาธารณชนร่วมด้วยช่วยกันเข้าไปตรวจสอบ ดังนั้น กระบวนการดังกล่าวจึงเป็นการร่วมมือกันระหว่างป.ป.ช. กับภาคประชาสังคม
การตรวจสอบ จึงเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่ป้องกันและปราบปรามเจ้าหน้าที่รัฐไม่ให้บิดเบือนและใช้ประโยชน์ของส่วนรวมมาเป็นของตนเอง สาธารณชนมีสิทธิในการตรวจสอบความร่ำรวยของผู้ดำรงตำแหน่งว่าเป็นไปได้ไหม เช่น รับราชการมา 30 ปี มีเงินขนาดนี้เป็นไปได้ไหม
“ที่ผ่านมามีหลายกรณีที่ตรวจแล้วพบความผิดจริง อย่างกรณีของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ หรือกรณีคุณทักษิณ ชินวัตร ที่พบว่าหุ้นอยู่ในชื่อคนขับรถ อันนี้สื่อก็เป็นคนตรวจเจอ ก็ว่ากันตามความผิด เช่น จงใจไม่ยื่น ยื่นเท็จ ปกปิดข้อเท็จจริง”
แต่หลังจากที่ คสช.เข้ามาดำรงตำแหน่ง ก็มีการแต่งตั้ง ป.ป.ช. ที่มาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) บางรายมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลในรัฐบาล และเมื่อปี 2560 ก็มีหลักเกณฑ์การเปิดเผยทรัพย์สินที่ต่างจากเมื่อปี 2554
“เมื่อปี 2554 มีหลักเกณฑ์ว่าข้อมูลที่เปิดเผยจะถูกปกปิดบางส่วน เช่น เลขที่บัตรประชาชน บัตรเครดิต บัญชีธนาคาร สถาบันการเงิน เพื่อไม่ให้ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่พอมาปี 2560 ป.ป.ช.ชุดใหม่ที่ตั้งโดย สนช. มีข้อยกเว้น 14 รายการ แต่ก่อนเบลอแค่ 4 คราวนี้เพิ่มมาอีก 10”
อาจารย์ณรงค์เดชกล่าวว่า การปกปิดข้อมูลเพิ่มขึ้นอาจกระทบต่อกระบวนการตรวจสอบ และทำให้สาธารณชนเข้าไปตรวจสอบได้ยากขึ้น หรืออาจทำให้กระบวนการตรวจสอบมีประสิทธิภาพลดลง และอีกประเด็นที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง คือการยืมนาฬิกาของเพื่อน ที่ พล.อ.ประวิตรกล่าวอ้าง ถือว่ามีความผิดตามประกาศ ป.ป.ช. “ห้ามเจ้าหน้าที่รัฐรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่ตีมูลค่าเป็นเงินสดได้” หรือไม่ “ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ สมมุติผมเป็น เจ้าหน้าที่รัฐดูแลขนส่งมวลชน วันหนึ่งมีบริษัทรถเจ้าหนึ่งเอารถมาให้ผมบอกว่าให้ยืมใช้ 1 ปี ถ้าตีเป็นมูลค่าเกินกว่า 3,000 บาท เข้ากฎหมาย ป.ป.ช.นะ ผมมีความผิด รับของขวัญเกินมูลค่า แต่กรณีนาฬิกาผมไม่รู้ว่ายืมมาใส่มีมูลค่าหรือไม่”
อาจารย์ณรงค์เดชกล่าวอีกว่า รัฐบาลต้องทำตัวเป็นรัฐบาลแบบเปิดเพื่อให้เกิดการตรวจสอบได้ (Open Government) ถ้ารัฐบาล คสช. เชื่อว่านักการเมืองไม่ดี ก็ควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ทำตัวเป็นต้นแบบว่ารัฐบาลที่ดีควรเป็นอย่างไร
“ความคาดหวังของผมคือ ถ้า คสช.บอกว่าเข้ามาทำสิ่งดีๆ ท่านก็ต้องทำอะไรให้เป็นต้นแบบตามเจตนาอันดีของท่าน การยื่นบัญชีทรัพย์สิน ไม่รับของขวัญ เป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่เจ้าหน้าที่รัฐพึงกระทำ” รศ.ดร.ณรงค์เดชกล่าวทิ้งท้าย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้