รู้ลึกกับจุฬาฯ

“คำถาม” กรณีสหรัฐตัดจีเอสพีไทย

ข่าวสหรัฐอเมริกาตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) สินค้านำเข้าจากไทยโดยเหตุผลว่ายังไม่พอใจการแก้ปัญหาละเมิดสิทธิแรงงานของประเทศไทยตามอนุสัญญาขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) โดยเฉพาะกรณีไม่คุ้มครองแรงงานประมงต่างด้าว กรณีนี้ยังถูกโยงไปกับการที่ไทยประกาศแบน 3 สารเคมีทางการเกษตร ซึ่งเป็นที่รับรู้กันว่ามีบริษัทผลิตสารเคมีใหญ่ของสหรัฐเป็นผู้ส่งออก

ข่าวนี้สร้างความกังวลต่อวงการเศรษฐกิจของประเทศ เพราะคาดการณ์ว่าไทยอาจได้รับผลกระทบเป็นค่าความเสียหายจำนวนมหาศาล เพื่อไขข้อข้องใจต่อกรณีนี้ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย จึงได้จัดงานเสวนา ฬ จุฬาฯ นิติมิติ ในหัวข้อ “ความจริง จากข้อเท็จจริง กรณีสหรัฐ ตัดจีเอสพีประเทศไทย” เมื่อวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา

ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร์ ผู้ช่วยคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่มีการเผยแพร่ในหน้าสื่อว่าประเทศไทยเสียหายเป็นหมื่นล้านจากการตัดสิทธิจีเอสพี เป็นคำพูดที่เกินจริง เพราะสินค้ายังสามารถส่งออกได้แต่ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 4.5 ทำให้ประเทศไทยอาจสูญเสียความได้เปรียบทางเรื่องราคาเท่านั้น ซึ่งนับเป็นมูลค่าพันล้านบาท นอกจากนี้สินค้าที่ถูกตัดสิทธิมีทั้งหมด 573 รายการ ซึ่งคิดเป็นเพียงร้อยละ 40

ศ.ทัชมัย ฤกษะสุต  ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายอาเซียน คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายถึงที่มาที่ไปของ “จีเอสพี” ในฐานะสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรว่า มีจุดเริ่มต้น มาจากความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) ซึ่งไทยเข้าร่วมเป็นภาคีตั้งแต่ปี 2525 ก่อนจะกลายเป็นองค์กรการค้าโลกตั้งแต่ปี  2538 จนถึงปัจจุบัน

“จุดเริ่มต้นของจีเอสพี เนื่องจาก GATT ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2491 มีสมาชิกเข้าร่วมมากขึ้น ขณะเดียวกันสมาชิกที่เพิ่มเข้ามาก็มีทั้งกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา หรือพัฒนาน้อย ซึ่งกลุ่มนี้มองว่า GATT ไม่เอื้อประโยชน์ให้ประเทศตัวเองและควรให้ความช่วยเหลือด้านภาษี จึงยื่นเรื่องเสนอไปยัง UNCTAD ซึ่งทาง UNCTAD เห็นว่าการค้าควรมีแต้มต่อเพื่อช่วยเหลือกลุ่มประเทศยังไม่พัฒนา ต่อมาในปี 2522 เลยบรรจุจีเอสพีเข้ามาใน GATT แต่มีสภาพแบบไม่ถาวร ภายใต้กรอบที่ UNCTAD กำหนด”

ด้วยการกำหนดสภาพแบบ “ไม่ถาวร” ดังกล่าว ทำให้จีเอสพีเป็นสิทธิแก่ประเทศผู้ให้สิทธิ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ซึ่งประเทศผู้รับสิทธิไม่สามารถไปบังคับได้และมีโอกาสถูกยกเลิกได้ตลอด แต่จะใช้เหตุผลอะไรมายกเลิกก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของประเทศผู้ให้สิทธิ ในพระราชบัญญัติการค้าของสหรัฐ (Trade Act of 1974) มาตราที่ 501-503 กำหนดเงื่อนไขที่สามารถยกเลิกสิทธิ จีเอสพี แก่ประเทศกำลังพัฒนาได้หลากหลายสาเหตุ  ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดเรื่องสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า การก่อการร้าย ปัญหาแรงงาน เป็นต้น

“สหรัฐชี้ว่าไทยไม่ให้สิทธิแรงงานมากพอ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิรวมตัวเพื่อต่อรองของแรงงานต่างชาติ แต่จากการค้นคว้า พบว่าสหรัฐเองก็ไม่ได้ให้สิทธิส่วนนี้แก่แรงงานต่างชาติ ไม่ว่าจะเข้าประเทศมาถูกหรือผิดกฎหมาย มิหนำซ้ำสหรัฐเองก็ไม่ได้เซ็นเข้าร่วมอนุสัญญาแรงงาน ILO หลายสิทธิ โดยการ อ้างว่าไม่ต้องเข้าร่วมเพราะปฏิบัติอยู่แล้ว”

อ.ทัชมัย ตั้งข้อสังเกตว่า ประเทศอื่นก็มีปัญหาสถานการณ์ด้านแรงงานเช่นเดียวกันกับไทย แต่เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงถูกตัดสิทธิจีเอสพีเพียงประเทศเดียว หรือถามกลับไปที่สหรัฐว่าประเทศอเมริกาเองก็ยังมีปัญหาต่างๆ แล้วคาดหวังให้ประเทศอื่นๆ จัดการปัญหาฝ่ายเดียวได้อย่างไร

“สมมุติว่าเราไม่มีปัญหาเรื่องสิทธิแรงงานเลย เราก็อาจหลุดจีเอสพี เพราะเรื่องอื่นได้ เช่น  ถ้าหากเขามองว่าเรารวยแล้ว ไม่ต้องให้แล้ว เขาก็ยกเลิกได้ ดังนั้นจีเอสพี ไม่จำเป็นต้องอยู่กับประเทศไทยไปตลอด แต่ด้วยความที่เป็นประเทศอเมริกาซึ่งเป็นมหาอำนาจ เวลายกเลิกก็ควรให้คำอธิบายหน่อยว่าทำไมถึงต้องยกเลิก”

อย่างไรก็ตาม อ.ทัชมัย ชี้ว่า การที่ประเทศพัฒนาแล้วให้สิทธิจีเอสพี แก่ประเทศกำลังพัฒนา ไม่ได้หมายความว่าประเทศเหล่านี้มีจิตใจโอบอ้อมอารี หรือต้องการให้ความช่วยเหลือแก้ผู้ด้อยโอกาส เพราะข้อมูลทางสถิติพบว่าฝ่ายประเทศที่ให้สิทธิก็ได้ประโยชน์ในเชิงการถ่ายโอนองค์ความรู้และนวัตกรรมต่างๆ จากประเทศผู้ได้รับสิทธิซึ่งถือว่าเป็นการเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ

อ.ทัชมัย กล่าวว่า แม้ว่าประเทศไทยไม่ได้ถูกถอนสิทธิในปีนี้ แต่ในปีถัดไปก็อาจจะถูกพิจารณาถอนสิทธิจีเอสพีได้อยู่ดี ดังนั้นการถูกถอดถอนสิทธิครั้งนี้จึงควรตั้งคำถามได้แล้วว่าประเทศไทยควรพึ่งพาสิทธิจีเอสพีอีกต่อไปหรือไม่

“ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องคิด ถ้าได้สิทธิมาแต่ต้องแลกด้วยภาระเกินควร เราเสียประโยชน์มากไป เราควรจะทำอะไรต่อไป เพราะจีเอสพีไม่ได้อยู่กัลปาวสาน สินค้าไทยของเราเป็นสินค้ามีคุณภาพเพียงพอที่จะให้คนเลือกซื้อแม้จะมีราคาสูงขึ้นหรือไม่ เราต้องหาทางออกตรงนี้”

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า