รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 15/01/2018 นักวิชาการ: ศ.กิตติคุณ ดร.สุจิต บุญบงการ จุฬาฯ
เริ่มต้นปีใหม่ 2561 ด้วยกระแสข่าวการเมืองเรื่องการเลือกตั้ง และข่าว “นายกฯ” ที่มีกระแสลือว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะสืบทอดตำแหน่งนี้ต่อ ภายหลังประกาศตัวว่าเป็นนักการเมือง ทำให้หลายฝ่ายเชื่อกันว่า พล.อ.ประยุทธ์น่าจะเข้าสู่สนามการเมือง ในที่สุด ขณะเดียวกันมีพรรคการเมืองใหญ่พยายามร่วมมือสกัดการเข้ามาของนายกฯ คนนอก
แต่จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป คือสิ่งที่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุจิต บุญบงการ อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเมืองการปกครองไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า คงต้องอดใจรอเพื่อให้มีประกาศชัดเจน และมีความแน่นอนมากกว่านี้ เช่น ประกาศเลือกวันเลือกตั้ง และพรรคที่เข้าร่วมการเลือกตั้งในครั้งที่จะถึงนี้
“ถ้าถามผมตอนนี้ว่าความเป็นไปได้เรื่องนายกฯ คนนอก หรือการเลือกตั้ง ผมขอไม่ออกความเห็นนะ เพราะมันจะสร้างความยุ่งยากและความสับสนแก่ประชาชน มันไม่ดีต่อบ้านเมือง และผมไม่เห็นด้วยกับการพูดถึงข้อมูลคาดคะเน เพราะการเมืองไทยไม่มีความแน่นอน และไม่ได้เปิดช่องชัดเจนว่าใครจะเป็นนายกฯ”
อาจารย์สุจิตบอกต่อว่า ให้อดทนรอให้ถึงจุดที่บอกได้ชัดเจน เพราะการเลือกตั้งที่จะเกิดต้องมีแน่ แต่จะต้องวิเคราะห์หลังมีประกาศที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการสอบถามอาจารย์สุจิตว่าเมื่อมองย้อนกลับไปในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การเมืองไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง อาจารย์สุจิตกลับมองว่าคงต้องมองในระยะยาวเพราะมองแค่ 3 ปีไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด
“คงตอบได้ว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่สามารถสร้างความชอบธรรมได้ต่อเนื่องยาวนาน ทำให้ เกิดช่องโหว่และการยึดอำนาจ แต่ที่ลุ่มๆ ดอนๆ กันมา 60–70 ปีมานี้ สื่อให้เห็นว่าภาคประชาชนยังอ่อนแอ และกลายเป็นเครื่องมือของผู้มีอิทธิพลและผู้มีอำนาจ”
ในทัศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองไทยและมีประสบการณ์ด้านการเมืองการปกครองมากว่าสี่ทศวรรษ อาจารย์สุจิตเชื่อว่าที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีอำนาจ หรือนักการเมืองกับประชาชนไม่มีการพัฒนาในรูปแบบที่ทำให้ประชาชนเป็นตัวของตัวเอง ลำพังการแก้กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญเพื่อให้ได้ผู้ปกครองประเทศที่ดีขึ้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาอย่างเพียงพอ
“ประชาชนต้องตื่นตัว ยืนบนขาตนเอง หรือมีสำนึกของการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมืองมากขึ้น สามารถแสดงความคิดเห็นได้โดยไม่ถูกชักนำ และต้องตื่นตัวเพราะตัวเองตื่น ไม่ใช่เพราะถูกกระแสหรือถูกคนอื่นชักจูง ทุกวันนี้คนไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้น แต่ก็ไม่มากพอที่จะหลุดจากผู้มีอิทธิพล”
ปรากฏการณ์ที่อาจารย์สุจิตวิตกกังวล คือการเข้ามา ของโลกอินเทอร์เน็ตและนวัตกรรมโซเชียลมีเดียที่กลายเป็นสื่อใหม่สำหรับประชาชนไว้ใช้ติดตามข่าวสารและแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดเห็น จะกลายเป็นเครื่องมือชักจูงและปลุกเร้าอารมณ์มากกว่าจะให้ข้อเท็จจริงและเหตุผลในแง่มุมต่างๆ ที่ประชาชนจะนำไปคิดวิเคราะห์ วิพากษ์ และสรุปเป็นความคิดของตัวเอง
ปัญหาอยู่ที่ว่าวิจารณญาณของผู้ใช้โซเชียลมีเดียมีมากน้อยแค่ไหน เพราะคนไทยรับรู้เทคโนโลยีเหล่านี้เร็วมาก และมีหลายกรณีที่ไม่ได้ใช้วิจารณญาณมากพอในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลหรือแหล่งข่าวที่มีการเผยแพร่
“พอในโซเชียลมีข่าวลง คนจะเชื่อทันที ถึงแม้จะมีข่าวผิด และลงแก้ภายหลัง แต่ก็เชื่อไปแล้ว นี่รวมไปถึงพวกบทความสุขภาพ กินอันนี้ดี หายมะเร็ง พวกนี้อันตรายอย่างยิ่ง เพราะคนไทยไม่ชอบอ่านอะไรลึกซึ้ง โซเชียลมีเดียพวกนี้อ่านง่าย เปิดปุ๊บเชื่อปั๊บ”
อาจารย์สุจิตกล่าวว่า ต้องมีการสร้างระบบการศึกษาแบบใหม่ให้คนไทยมีวิจารณญาณในการรับข่าวสาร และทักษะในการแสวงหาความรู้วงกว้าง รวมไปถึงเรื่องการเมือง ขณะเดียวกันสื่อเองก็ต้องทำหน้าที่แสวงหาข้อมูลเชิงลึก และนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องไม่บิดเบือน
หากประชาชนมีความรู้ทันการเมืองเช่นประเทศหลายๆ แห่งที่พัฒนาแล้ว ประชาชนและผู้มีอำนาจจะมีความเท่าเทียมกัน ผู้มีอำนาจไม่มองว่าประชาชนต่ำกว่า และร่วมมือกันพาประเทศเดินไปข้างหน้าได้
“ในสหรัฐที่คนผิวดำมีสิทธิ์มีเสียงขึ้นมาได้ไม่ใช่เพราะคนขาวใจดีสนับสนุนคนดำนะ แต่คนดำต้องลุกขึ้นมาต่อสู้บีบให้ผู้มีอำนาจต้องฟัง มีผู้นำที่ไม่ใช่นักการเมืองและไม่มีผลประโยชน์ทางการเมืองออกมาเรียกร้อง เป็นการต่อสู้ด้วยความเท่าเทียมกัน”
แต่ในกรณีของไทยจะเป็นไปได้ถึงระดับไหน และเมื่อใดยังคงเป็นข้อสงสัยที่รอคำตอบ แต่อาจารย์สุจิตเชื่อว่ายังไม่ต้องเป็นห่วงว่าสังคมจะเกิดการล่มสลาย เพราะสังคมไทยมีการปรับตัวและมีพลวัตตลอดไม่ล่มสลายง่าย เพียงแค่ไม่ได้ราบรื่น จะมีความขัดแย้งและการต่อสู้กันเป็นเรื่องธรรมดา หากแต่การพัฒนาไปสู่เป้าหมายของประชาธิปไตยที่ยั่งยืนย่อมอาศัยเรื่องการสร้างความเท่าเทียมและการสร้างสำนึกแห่งพลเมือง เป็นปัจจัยสำคัญด้วย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้