รู้ลึกกับจุฬาฯ

“คุณค่าทางการเมือง” ในการเลือกตั้งเยอรมัน

ผลการเลือกตั้งในประเทศเยอรมนีเมื่อวันที่ 24 กันยายน ที่ผ่านมา ทำให้อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ได้นั่งเก้าอี้ผู้นำประเทศอีกครั้งเป็นสมัยที่ 4

นับตั้งแต่ปี ค.ศ.2005  ขณะเดียวกัน ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่พรรค AfD (Alternative f r Deutschland  หรือทางเลือกสำหรับเยอรมนี) ซึ่งมีจุดยืนขวาจัดและเพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2013 ได้นั่งเก้าอี้ในสภาเป็นอันดับ 3 รองจากสองพรรคใหญ่ สร้างความวิตกกังวลจากสื่อทั้งในและนอกประเทศ

แต่ในทัศนะของ อ.ดร.ตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยกลางและต้นสมัยใหม่ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า คะแนนโหวตของพรรค AfD ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เป็นเพราะมีคนจำนวนหนึ่งมองว่าทำไมพรรคใหญ่ทั้งสองพรรค คือ พรรค CDU (Christlich Demokratische Union Deutschlands) ที่นางแมร์เคิลสังกัด และพรรคสังคมนิยม SPD (Sozialdemokratische Partei Deutschlands) จึงได้สนับสนุนการคงอยู่ของสหภาพยุโรป (European Union

หรือ อียู)

“ที่ AfD มีคะแนนเพิ่ม ผมว่าเป็นการระบายออกของคนผ่านทางการโหวต

คนต้องการลงโทษนักการเมืองพรรคใหญ่ที่สนับสนุนอียู เพราะเขามองว่าไปยุ่งทำไม ทำไมไม่จัดการในประเทศตัวเองก่อน แต่ถ้าพรรคใหญ่ปรับตัวและชี้ให้เห็นคุณค่า

ของการ สนับสนุนอียู คนก็ไม่หันไปเลือก AfD” อ.ดร.ตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา

ภาพจาก Way Magazine

อ.ดร.ตุลย์ เชื่อว่าถึงแม้จะมีพรรคขวาจัดเกิดขึ้นในเยอรมนี แต่เยอรมนีก็

ไม่มีทางกลับไปมีสภาพเป็นเหมือนยุคที่นาซีเรืองอำนาจสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเยอรมนีผ่านกระบวนการทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมหลายอย่างมาตั้งแต่

ปี ค.ศ.1945 อาทิ กระบวนการทางกฎหมายที่ห้ามสรรเสริญและแสดงสัญลักษณ์นาซี

มีการชำระการศึกษา  (re-education) ใส่อุดมการณ์ทางการเมืองที่ต่อต้านแนวคิด

ขวาจัดออกไปผ่านปรัชญาที่เรียกว่า menschlichkeit ที่เน้นการให้คุณค่าแก่มนุษยชาติ และเคารพความหลากหลายทางวิถีชีวิตของมนุษย์

“ตอนปี ค.ศ.1955-1956 มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีสั่งให้ยุบพรรคการเมืองซ้ายสุดพรรคหนึ่ง สาเหตุที่ยุบเพราะว่าคอมมิวนิสต์ขัดกับรัฐธรรมนูญของประเทศที่ระบุไว้ว่าต้องเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย ผมเชื่อว่าถ้าเป็นขวาสุดโต่งก็จะโดนเหมือนกัน และทุกวันนี้เยอรมนีไม่ได้อยู่ในยุค 1933 โลกรับไม่ได้

กับการเมืองเผด็จการขวาจัด และเยอรมนีก็ไม่ได้อยู่คนเดียว”

เมื่อนำมาเทียบเป็นอัตราที่นั่งในสภา จะพบว่า พรรค AfD ได้ที่นั่ง 94 ที่จากที่นั่งทั้งหมด 709 ที่ คิดเป็นร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับพรรคอื่นๆ ที่ไม่ได้สุดโต่งร้อยละ 87

ก็ถือว่าไม่ได้มากจนต้องกังวลเกินเหตุ

“ผมอยากจะพูดว่าคนไทยเราชอบดีเบตประเด็นแคบว่าประชาชนโหวตพรรค

เพราะนโยบาย แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ ในยุโรปคนเลือกพรรคไหนเพราะเขาเลือกด้วยอุดมคติ Ideology ของพรรคการเมืองนั้นๆ มันคือคุณค่าทางการเมืองของที่พรรคเป็น และจะแสดงออกผ่านทางภาษาทางการเมือง อย่างพรรค SPD เวลาจะลดภาษี

ใช้คำว่าลดภาษี เพราะเขามองว่าภาษีคือหน้าที่ ทุกคนต้องจ่าย แต่พรรค CDU ใช้คำว่า

ลดภาระทางภาษีแทน ผลของนโยบายคือลดภาษีเหมือนกัน แต่คุณค่าทางการเมืองมันต่างกัน”

อ.ดร.ตุลย์ กล่าวอีกว่า แมร์เคิลเป็นนักการเมืองที่มีภาพลักษณ์ดีในสายตาคนเยอรมัน เธอมีชื่อเล่นว่า

Mutti แปลว่า “แม่” เพราะมีภาพลักษณ์มั่นคง ไม่ฉุนเฉียว จัดการความขัดแย้งได้ดี วางแผนนโยบายในระยะยาว แต่ขณะเดียวกันก็ปรับนโยบายได้เร็วให้ทันกับสถานการณ์ เช่น หลังเกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดในญี่ปุ่น แมร์เคิลออกมาต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์ในเยอรมนี

“เรามักมองว่าเยอรมนีเป็นพวกเจ้าระเบียบ ทำอะไรเป็นแบบแผน เลยเข้าใจว่าเยอรมนีเป็นขวา แต่จริงๆ แล้วเยอรมนีเดินตามนโยบายเอียงซ้าย พวก Social Welfare มาตลอด การเปิดรับผู้อพยพต่างชาติเป็นล้านคน ต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์ อย่างนี้เรียกว่าขวาหรือ?” อาจารย์ตุลย์กล่าว พร้อมเสริมอีกว่าในเยอรมนี ทุกพรรค

มีนโยบายที่แทบจะเหมือนกัน อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น จุดต่างของแต่ละพรรคคือ “อุดมการณ์” และ “คุณค่า” ทางการเมือง

แมร์เคิลมาจากพรรคอนุรักษนิยมที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยกลางคนและคนสูงอายุ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของเยอรมนี ส่วนวัยรุ่นและคนหนุ่มสาวนิยมเลือกพรรค SPD มากกว่า อย่างไรก็ดี พรรค SPD ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่มีนโยบายเป็นชิ้นเป็นอัน สโลแกนเด็ดๆ ก็ไม่มี

ส่วนคนที่เลือกพรรค AfD หรือพรรคขวาจัด เป็นคนชนชั้นแรงงาน คนว่างงานและคนชนชั้นล่างรายได้ต่ำ ซึ่งได้รับผลกระทบจากนโยบายการเปิดรับผู้อพยพของแมร์เคิล เพราะทำให้ที่พักอาศัยของคนชั้นล่างมีราคาแพง แออัด ขณะที่ฝั่งคนชั้นกลางและมีฐานะได้รับผลกระทบน้อยมาก

“นักวิจารณ์การเมืองเยอรมันเขาไม่กลัวที่พรรคพวกนี้ได้ที่นั่ง แต่เขากลัวว่าพรรคขวาจัด จะใช้ภาษาการเมืองที่รุนแรง ภาษาขวาจัดในรัฐสภาออกมาดีเบตเวลาถกเรื่องนโยบาย เป็นการเปิดพื้นที่สาธารณะให้ความคิดขวาจัดแสดงออก มันเป็นการเปลี่ยนแนวคิดคนและบ่อนเซาะสังคม แต่ในแง่การที่พรรคขวาจัดเป็นรัฐบาลถือว่ายากมาก พรรคอื่นไม่กล้ามาโค มาผูกกับพรรคนี้หรอก”

ทั้งนี้ อาจารย์ตุลย์เชื่อว่าผลการเลือกตั้งครั้งนี้อาจจะกระทบกับไทยบ้าง แต่ไม่มากนักเพราะความสัมพันธ์ในเชิงการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมระหว่างไทยกับเยอรมนีมีน้อย ไม่ต่างจากที่ผ่านมา และนโยบาย

ของเยอรมนีเองก็อาจมีผลต่อไทยน้อย นอกจากในแง่การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ นโยบายในประเทศไทย น่าจะมีผลกระทบต่อกลุ่มนักลงทุนเหล่านี้มากกว่า

 

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า