รู้ลึกกับจุฬาฯ

พิธีกรรม คุณค่า และศรัทธา

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ปรากฏเป็นข่าวและประเด็นแลกเปลี่ยนในสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้นในการจัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นนิสิตจุฬาฯ ของนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่ลานหน้าพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ที่ผ่านมา

ที่มาเบื้องต้นของเหตุการณ์ดังกล่าว คือ การตั้งคำถามและพยายามเปิดพื้นที่ใหม่ของนิสิตคนหนึ่งในวิธีการแสดงความเคารพต่อพระบรมรูปสองรัชกาล ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะสูงสุดของชาวจุฬาฯ เนื่องจากทรงวางรากฐานและประดิษฐานมหาวิทยาลัยแห่งนี้ขึ้นมา

การตั้งคำถามพุ่งเป้าไปที่พิธีหมอบกราบเพื่อแสดงความเคารพ โดยมีการแสดงหลักฐาน

ทางประวัติศาสตร์ให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกเลิกพิธีดังกล่าวไปแล้วในรัชสมัย

ของพระองค์ เพราะฉะนั้นการแสดงความเคารพด้วยการคำนับน่าจะเป็นวิถีที่ยอมรับได้ และควรจะได้

เปิดพื้นที่ให้เป็นทางเลือก ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการระบุถึงการจัดพิธีดังกล่าวว่าไม่ใช่ธรรมเนียมดั้งเดิมของมหาวิทยาลัย หากแต่ได้จัดให้มีขึ้นเมื่อ 20 กว่าปีมานี้เอง

ต่อประเด็นดังกล่าว รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญ

ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม กล่าวถึงการจัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณฯ ว่า แม้จะมีมาไม่นานเพียง

20 ปี แต่คนที่โต้แย้งควรพิจารณากฎ ระเบียบ ธรรมเนียมนิยม การให้คุณค่าของสังคม มากกว่าที่จะใช้ระยะเวลาตัดสินคุณค่าของพิธีกรรม

“ต่อให้พิธีมีอายุเป็น 100 ปี แต่ถ้าคนไม่เห็นคุณค่า ไม่เห็นความสำคัญ มันก็ล้มหายตายจากไป

ที่ผ่านมาเรามีพิธีกรรมพวกนี้เยอะมากที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง หายไปบ้างตามยุคสมัย อย่างพิธีศพ หรืออื่นๆ ที่คนในพิธีกรรมนั้นมองเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยน” รศ.ดร.สุเนตรกล่าว

รศ.ดร.สุเนตรย้ำว่า ประเด็นสำคัญที่ต้องคิดถึงคือความสำคัญของประเพณีนี้ว่ามีความสำคัญอย่างไร ควรเข้าใจว่าเด็กที่สอบเข้าจุฬาฯ ได้ มาจากหลายที่มีความแตกต่างหลากหลาย และจะต้องเข้ามามีความสัมพันธ์

กับสถาบันนี้ตลอดอย่างน้อย 4 ปี ต้องมีความสัมพันธ์กับเพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้อง อาจารย์ ฯลฯ และด้วยพื้นฐานที่แตกต่างกัน จึงต้องมีการสร้างเอกภาพเกิดขึ้น

“หัวใจของพิธีกรรมนี้คือต้องครองใจคน ให้เขารู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กฎกติกาเดียวกัน

ของเราใช้วิธีสักการะพระมหากษัตริย์ เพราะเป็นการยอมรับในพระมหากรุณาธิคุณ คือเป็นความรู้สึกกตัญญูรู้คุณต่อผู้มีพระคุณ ซึ่งไม่น่าจะเสียหายตรงไหน” รศ.ดร.สุเนตรชี้

และที่ต้องมีความศักดิ์สิทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ก็เพื่อครองใจคน ซึ่งรศ.ดร.สุเนตร ย้ำว่า เป็นทุกพิธีกรรม จะต้องมีกลิ่นอายความศักดิ์สิทธิ์ ให้คนประทับใจ จำได้ ระลึกได้ ในพิธีกรรมถวายสัตย์ของจุฬาฯ ซึ่งมีการปฏิญาณตนว่าต้องการสร้างความเจริญให้สังคมและบ้านเมือง ก็คือปณิธานที่อยากให้นิสิตจดจำไว้ขึ้นใจ

 

“พิธีกรรมที่มีความศรัทธาของคนเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยมารยาทแล้วเราจะไม่ไปตั้งคำถามหรือซักค้านศรัทธาของผู้อื่น คือเขาจะเชื่อมั่นอย่างไรก็เป็นเสรีภาพของเขา เราต้องเคารพศรัทธาของผู้อื่นที่แตกต่างทั้ง 2 ฝั่ง ทั้งคนที่เชื่อและไม่เชื่อนะ”

รศ.ดร.สุเนตรระบุว่า เราไม่อาจอาศัยมาตรฐานของตนเองมาปรับเปลี่ยน กระทบสิทธิ ความเชื่อของผู้อื่น การตั้งคำถามกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้อื่นเชื่อถือ เป็นการสร้างความแตกแยก เพราะเหล่านี้เป็นเรื่องของศรัทธาซึ่งยังรวมไปถึงการนับถือผี ศาสนา ลัทธิต่างๆ ด้วยเช่นกัน

ขณะเดียวกันก็ต้องยอมรับความแตกต่างของผู้ที่ไม่ได้มีศรัทธา เดียวกัน พิธีกรรมถวายสัตย์ปฏิญาณจึงเป็นพิธีกรรมสมัครใจ การหมอบกราบเป็นแสดงความเคารพอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ดี ควรยอมรับความแตกต่าง ผู้ที่แม้จะมีศรัทธาเดียวกัน แต่ประสงค์จะแสดงออก วิธีอื่น เช่น ถวายบังคม หรือ คำนับ ก็ต้องยอมรับความต่างนั้นด้วย

“ผมมองว่า แม้รัชกาลที่ 5 จะทรงเลิกธรรมเนียมหมอบกราบคลานก็จริง แต่ควรทำความเข้าใจว่าบ้านเมืองยุคนั้นต้องเผชิญกับการรุกรานและแรงกดดันของชาติตะวันตก ถ้าไม่ทำตามเขาจะหาว่าเราล้าหลังและถือว่าป่าเถื่อน เข้ามายึดครอง การยกเลิกหมอบกราบเข้าใจว่าใช้ในกรณีเข้าเฝ้าฯ ในเชิงราชการเป็นสำคัญ แต่ถึงจะยกเลิกแล้ว คนไทยก็ยังยึดถือการแสดงความเคารพด้วยการหมอบกราบ ไม่ใช่แค่พระมหากษัตริย์ แต่รวมถึงพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ พระ”

รศ.ดร.สุเนตรกล่าว

สังคมที่อารยะแล้ว ควรมีพื้นที่ให้คนแสดงออกได้อย่างหลากหลาย ยิ่งในสังคมไทยที่มีรากฐานทางวัฒนธรรมเก่าแก่ซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องมีมาตรฐานเดียวในการแสดงออก เพียงแต่ขึ้นอยู่

กับกาลเทศะว่าจะแสดงออกอย่างไร

“แต่ถ้าถามว่ามันดีไหม มันไม่ดีไหม เราไม่ตั้งคำถามแบบนี้กับศรัทธา เราจะไม่พูดว่ามันดีหรือเปล่า การจะปรับเปลี่ยนประเพณีนี้ก็เกิดขึ้นได้ อาจจะยกเลิกหรือหายไป แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ก็ยังเห็นว่าการแสดงความคารวะแบบมีขั้นตอนอย่างนี้มันยังมี

คนส่วนใหญ่ยังคงให้คุณค่าอยู่ เราเลยต้องคงไว้ และยังมีคนพร้อมใจที่จะมาเข้าร่วม มันก็ยังอยู่” รศ.ดร.สุเนตรกล่าว

“​การที่ประเพณีนี้จะหายไป ก็ต้องขึ้นอยู่ว่าเมื่อใดคนส่วนใหญ่ในสังคมนั้นๆ จะเลิกให้ความสำคัญ แต่ในเมื่อตอนนี้ยังมีพิธีกรรมอยู่ก็ควรเคารพความต่าง สิทธิที่จะเชื่อ โดยไม่ไปละเมิดทั้งผู้ที่เชื่อหรือผู้ที่ไม่เชื่อก็ตาม​” รศ.ดร.สุเนตรทิ้งท้าย

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า