รู้ลึกกับจุฬาฯ

“กิ๊ก” ในสังคมไทย

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ออกมาพูดกับสื่อว่ารัฐบาลกำลังจะออกกฎหมาย “ห้ามมีกิ๊ก” ซึ่งทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัว พ.ศ..  กฎหมายฉบับใหม่นี้จะยกร่างขึ้นมาแทนที่ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 โดยมุ่งหมายที่จะครอบคลุมถึงการคุ้มครองจิตใจนอกเหนือไปจากร่างกายด้วย โดยในขณะนี้

ร่างกฎหมายนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)นัยว่าจากการตีความของกฎหมายนี้ การมีกิ๊ก รวมไปถึงการนอกใจคู่สมรส ซึ่งนับว่าเข้าข่ายความรุนแรงทางจิตใจ นำไปสู่คำถามที่น่าสนใจว่า สังคมไทยมองเรื่องการมี “กิ๊ก” อย่างไร และเพราะเหตุใดจึงต้องมีกฎหมายมาควบคุมเรื่องนี้

ศ.ดร.สุวรรณา สถาอานันท์ อาจารย์จากภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาทางสังคมและวัฒนธรรม มองว่า เราควรตั้งคำถามก่อนว่า รัฐควรเข้ามากำกับชีวิตทางเพศของพลเมืองหรือไม่ อย่างไร เพราะเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องส่วนบุคคล

“รัฐไม่ควรเข้ามากำกับชีวิตส่วนตัวของพลเมือง ถ้ามาทำแบบนี้ ต่อไปรัฐสั่งห้ามกินสปาเกตตี สั่งห้ามทาปากแดง ชีวิตเราจะยุ่ง กฎหมายควรมีไว้เพื่อยุติความขัดแย้ง ไม่ควรมีหน้าที่ควบคุมรสนิยมทางเพศ ความสัมพันธ์ของคน” ศ.ดร.สุวรรณา แสดงทัศนะ

ศ.ดร.สุวรรณา ตั้งคำถามว่า “กิ๊ก” ในการนำเสนอข่าวและที่นายกฯ ประยุทธ์พูด นิยามไว้อย่างไร เป็นเมียน้อย หรืออยู่ระหว่างแฟนและเมียน้อย มีความสัมพันธ์ทางเพศไหม คงต้องหาคำตอบให้ชัดเจน แต่ถ้าถามว่าการนอกใจคู่สมรส หรือมีเพศสัมพันธ์นอกสมรสในสังคมไทย

เป็นอย่างไร คงต้องตอบว่า “มีมานานแล้ว” และยังคงเป็นวัฒนธรรมและความเชื่อที่ยังฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยจนถึงทุกวันนี้

ทั้งนี้ กฎหมายผัวเดียวเมียเดียวในไทยเพิ่งจะมีเมื่อปี พ.ศ. 2478 รองรับให้ผู้ชายมีภรรยา ได้คนเดียว แต่ถ้ามีภรรยาน้อย กฎหมายไม่รับรู้ หมายความว่า ไม่รับรองสิทธิ หรือมรดกทรัพย์สิน แต่ก็ไม่ได้ห้าม  การมีภรรยาน้อยก็ไม่ได้ผิดกฎหมาย

แต่ถ้าย้อนกลับไปเป็นตอนสมัยอยุธยา หรือต้นรัตนโกสินทร์ สังคมไทยมีการแบ่งประเภทเมียไว้ชัดเจน เช่น ภรรยาหลวง ภรรยาทาส เป็นต้น

ศ.ดร.สุวรรณา บอกว่ากฎหมายไทยควบคุมเรื่องเพศของผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เช่น การยอมรับบุตร ผู้ชายสามารถมีลูกกับภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายได้ แต่ผู้หญิงไม่ได้ ถ้ามีลูก ต้องมีสามีตามกฎหมายมาเกี่ยวข้อง

“เรื่องการหย่าร้างก็เช่นกัน ก่อนหน้าปี 2550 เหตุแห่งการหย่าของผู้ชาย คือภรรยามีชู้ แต่เหตุแห่งการหย่าของผู้หญิงคือ สามีเลี้ยงดูหญิงอื่นฉันภรรยา มันหมายความว่าผู้หญิงมีเซ็กส์นอกสมรสไม่ได้ แต่ผู้ชายมีเซ็กส์นอกสมรส ไม่เป็นเหตุแห่งการฟ้องหย่านะ”  ศ.ดร.สุวรรณากล่าว พร้อมเสริมอีกว่า คำว่า “ชู้” นี่ก็ใช้สำหรับเรียกชายชู้เท่านั้น ส่วนถ้าเป็นหญิง เราจะเรียกว่าเมียน้อย

ส่วนประเด็นที่ว่า กฎหมายห้ามมีกิ๊กจะสำเร็จและช่วยลดอัตราการนอกใจของคู่สมรสชายหญิงได้มากน้อยแค่ไหน ศ.ดร.สุวรรณา บอกว่าไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะการนำกฎหมายไปจัดการวัฒนธรรมที่มีมานานและเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยมากกว่าร้อยปี

“มหาวิทยาลัยมหิดลเคยทำวิจัยสำรวจชายไทยเรื่องมีชู้ มีกิ๊กนี่แหละ พบว่าร้อยละ 41-42 ยอมรับว่าตนเองมีเพศสัมพันธ์นอกกฎหมาย และยอมรับว่าเป็นเรื่องธรรมดา เป็นธรรมชาติของผู้ชาย คือมันแสดงว่าถึงแม้เราจะยอมรับระบบผัวเดียวเมียเดียวมาตั้งแต่ปี 2478 แต่มันก็ไม่ได้จริงจังกับวัตรปฏิบัติจริง เราเพียงแค่ไม่จดทะเบียนซ้อนเท่านั้น”   ศ.ดร.สุวรรณา ระบุ

ข้อมูลน่าสนใจอีกอย่างคือ ศ.ดร.สุวรรณาบอกว่า ระบบผัวเดียวเมียเดียวในสังคมไทยได้รับการสนับสนุนโดยชน

ชั้นกลางที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ตรงข้ามกับชนชั้นสูง และชนชั้นล่างที่นิยมอยู่นอกระบบผัวเดียวเมียเดียว

“ต้องเข้าใจว่าชนชั้นกลางมีลักษณะอย่างหนึ่งคือทรัพย์สมบัติมีจำกัด ถ้ามีเมียเยอะ จะแบ่งสมบัติไม่ได้ ไม่พอ แต่ถ้าเป็นชนชั้นสูง เขาสบายมากเพราะเขารวย แจกจ่ายได้ไม่กระทบกระเทือน ส่วนชนชั้นล่าง เขามีสมบัติน้อยมากจนผลกระทบของการมีเซ็กส์นอกสมรส หรือการมีเมียน้อยมันไม่ค่อยมี ผลกระทบต่อทรัพย์สมบัติ” ศ.ดร.สุวรรณาอธิบาย

ส่วนกรณีของทัศนะของหญิงไทย ศ.ดร.สุวรรณาเองก็บอกว่างานวิจัยดังกล่าวได้มีการสำรวจความคิดเห็นของผู้หญิง ซึ่งจำนวนหนึ่งยอมรับว่าให้ผู้ชายหรือสามีไปซื้อบริการทางเพศ ดีกว่าจะไปมีเมียน้อย เพราะการมีเมียน้อยจะส่งผลกระทบมากในความสัมพันธ์ของครอบครัว แต่การเที่ยวบริการ คือการจ่ายเงินแล้วก็จบอยู่ที่ตรงนั้น

แต่ในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้หญิงมีอำนาจต่อรองมากขึ้น ผู้หญิงมีสิทธิ มีปากมีเสียง ก็พบว่ามีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยมีทัศนคติว่า “ในเมื่อเธอทำได้ ฉันก็ทำได้” และผู้หญิงจำนวนหนึ่งก็เลือกที่จะมีเพศสัมพันธ์นอกสมรสเหมือนกับผู้ชายเช่นกัน ศ.ดร.สุวรรณากล่าวทิ้งท้าย

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า