รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 18/7/2017 นักวิชาการ: อ.พญ.นภา ปริญญานิติกูล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
“แหวน” ฐิติมา ร็อกเกอร์สาวระดับตำนานวงการเพลงไทย เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ข่าวระบุการเสียชีวิตของเธอว่ามีสาเหตุมาจากมะเร็งกระดูก ทว่าก่อนหน้านี้ แหวนเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน และรักษาตัวมานานกว่า 5 ปี ก่อนที่เชื้อจะลุกลามไปยังกระดูกจนเสียชีวิต
มะเร็งเต้านมนับว่าเป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวสำหรับสุขภาพ ผู้หญิงไทย มักมีความเข้าใจกันทั่วไปว่าผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมมาก และเสียชีวิตจากโรคนี้เป็นอันดับแรก แต่ความเป็นจริงแล้ว สาเหตุการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งในผู้หญิงในลำดับต้นๆ คือ มะเร็งปอด และตับ
อ.พญ.นภา ปริญญานิติกูล จากหน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงว่า ทุกวันนี้ความตื่นตัวเรื่องโรคมะเร็ง
เต้านมมีมากในสังคมไทยแล้ว การที่ตัวเลขสูงเพราะว่ามีคนไปตรวจและเจอโรคเร็วมากขึ้น และยิ่งเจอเร็วเท่าใดก็จะมีโอกาสหายขาดสูงเช่นกัน
“ต้องบอกว่าไทยมีความตระหนักรู้ (awareness) ในเรื่องมะเร็งเต้านม ทุกเดือนตุลาก็เป็นเดือนรณรงค์ มีแจกริบบิ้นสีชมพู สอนให้ผู้หญิงรู้จักตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ก็เป็นเรื่องที่ดี ทำให้คนใส่ใจ ระมัดระวังสุขภาพตนเองมากขึ้น” อ.พญ.นภา กล่าว
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าจับแล้วไม่เจอก้อน แต่หากเต้านมมีอาการผิดปกติก็ควรรีบไปพบแพทย์ ซึ่งคุณหมอนภายืนยันว่าในกรณีที่ก้อนเล็กมากจะคลำเองไม่เจอ และการตรวจที่ดีก็ไม่ใช่แค่การคลำหน้าอก แต่ควรมีการวินิจฉัยทั้งในรูปแบบอัลตราซาวด์และแมมโมแกรม
ทั้งนี้ มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่มีสาเหตุจากหลายประการ อ.พญ.นภาระบุว่ายังบอกไม่ได้ชัดเจนว่ามีสาเหตุแน่ชัดจากอะไร แต่มีความเสี่ยง เช่นในด้านพันธุกรรม ซึ่งนับเป็นส่วนน้อยของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม หรือปัจจัยด้านฮอร์โมนเพศหญิง ที่เชื่อว่าการรับประทานฮอร์โมนทดแทนหลังวัยหมดประจำเดือนเป็นตัวเร่งความเสี่ยงให้เป็นโรค
“มะเร็งเต้านมก็เหมือนมะเร็งอื่นๆ คือยังหาสาเหตุได้ไม่ชัด และมีสาเหตุมารวมๆ กัน ยิ่งในยุคปัจจุบันที่ไลฟ์สไตล์คนไทยคล้ายฝรั่ง ก็ยิ่งเห็นชัด
ทุกวันนี้ในยุโรปกับอเมริกา มะเร็งเต้านมก็เป็นอันดับ 1 ในผู้หญิง ส่วนไทยก็เห็นชัดในช่วง 5-10 ปีมานี้ว่ามันเพิ่มขึ้นจริง” อ.พญ.นภา กล่าว สิ่งที่คนไทยไม่รู้กันมาก คือโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ เช่นในกรณีของแหวน ฐิติมา เป็นมะเร็งเต้านมเมื่อหลายปีก่อน รับการรักษา
ด้วยการตัดเต้านม ฉายแสง รับประทานยาต้านฮอร์โมน แต่ไม่หายขาด จนกลับมาเป็นซ้ำ
และลุกลามไปยังส่วนของกระดูก อ.พญ.นภา บอกว่า ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคมะเร็งจะต้องกลับมาติดตามผล ภายใน 5-10 ปี ต้องกลับมาดูว่าเกิดซ้ำไหม แต่ในบางรายก็พบว่ามะเร็งกลับมาเป็นซ้ำในรอบ 15 ปี
หลังการรักษาเสร็จ แต่ก็บอกยากว่าจะกลับมาเป็นใหม่หรือไม่
“สมมุติเป็นมะเร็งเต้านมแล้วรักษาหาย ตรวจไม่เจอเชื้อมะเร็งแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าจะกลับมาเป็นใหม่ไม่ได้ เพราะเซลล์มะเร็งมีคุณสมบัติพิเศษ มันจะเล็ดลอดเข้าไปในกระแสเลือด บางครั้งก็หลบเข้าไปอยู่ในตำแหน่งที่แพทย์วินิจฉัยไม่ได้ ตรวจไม่เจอ ช่วงที่ร่างกายเรายังแข็งแรงดีมันก็หลบอยู่ แต่พอเวลาผ่านไปอายุมากขึ้น อ่อนแอ ลง เซลล์มันก็โตขึ้นมา แล้วก็กระจายไปที่อื่น ไม่ได้อยู่ที่เต้านมแล้ว” อ.พญ.นภา ระบุ
ปัจจุบันวิธีการรักษามะเร็งเต้านมมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย และสาเหตุการเกิดโรคของผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งในรูปแบบการฉายแสง การผ่าตัดเต้านม การใช้ยาคีโม ยาต้านฮอร์โมน หรือแม้แต่ยาเฉพาะด้าน
“กรณีผู้ป่วยตรวจแล้วพบว่ามีฮอร์โมนเพศเยอะ หมอก็อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเชื้อมะเร็ง ก็จะให้ยาต้านฮอร์โมนมา แต่บางรายตรวจแล้วพบว่าในร่างกายมีตัวรับสัญญาณก่อมะเร็ง HER2 ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้โรคกระจายเยอะ กระจายเร็ว เขาก็ให้ยาต้าน HER2 มา” อ.พญ.นภา อธิบาย
ดังนั้น จะใช้วิธีใดรักษาก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน ซึ่งคุณหมอนภาเองก็ย้ำว่า ถ้ายิ่งรักษาตั้งแต่ระยะเนิ่นๆ ที่มะเร็งยังไม่กระจาย ก็ยิ่งมีโอกาสหายขาด และมีโอกาสไม่กลับมาเป็นมะเร็งซ้ำได้มาก
อ.พญ.นภาให้คำแนะนำว่า ผู้หญิงก็ควรตรวจมะเร็งเต้านมเป็นประจำ ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ก็ทราบข้อมูลส่วนนี้กันดี แต่สิ่งที่คนไทยละเลยไปคือการตรวจติดตาม หลังจากรักษามะเร็งเต้านมจนหายขาด เพราะไม่สามารถมั่นใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าโรคจะกลับมา และด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ปัจจุบันทั้งในไทยและเทศก็ยังบอกไม่ได้ว่าจะกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำไหม จะกลับมาเมื่อใด ผู้หญิงต้องติดตามดูแล และสังเกตร่างกายตนเองอยู่สม่ำเสมอ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้