รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 25/11/2019 นักวิชาการ: ศ.ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย คณบดีวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ
นับตั้งแต่การประกาศแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยโมเดล BCG (Bio, Circular, Green Economy) ของรัฐบาลไทยเมื่อปีที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐ พร้อมทั้งสถานศึกษาต่างๆ ได้ร่วมมือกันคิดค้นและพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมต่างๆ เพื่อเปลี่ยนประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ศ.ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย คณบดีวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจโมเดล BCG ของประเทศไทย แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเกษตรและอาหาร ด้านสุขภาพและการแพทย์ ด้านพลังงาน เคมีและวัสดุชีวภาพ และด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศให้เป็นไปแนวทางชีวภาพ
“การกลั่นทางเคมีชีวภาพ หรือที่เรียกว่า Biorefinery เป็นกระบวนการที่คล้ายกับการกลั่นปิโตรเลียมที่ทำให้ได้พลังงานและสารปิโตรเคมีพื้นฐานแต่เป็นการนำพืชมาสกัดเพื่อพลังงานในรูป เอทานอล และเคมีชีวภาพเบื้องต้นในรูปของวงแหวนน้ำตาลที่จะนำไปสู่ชีวเคมีภัณฑ์ หรือโพลิเมอร์ พลาสติกต่างๆ” ศ.ดร.สุวบุญ กล่าว
แนวทางการพัฒนาพลังงานเคมีและวัสดุชีวภาพเริ่มต้นตั้งแต่ในปี 2548 ที่วิทยาลัยได้นำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านพลาสติกสู่การเขียนแผนพัฒนาพลาสติกชีวภาพแตกสลายได้หรือที่เรียกว่า “พลาสติกชีวภาพ” ซึ่งยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยให้แก่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) เมื่อ 2 ปีที่แล้ว
“เป็นการวิเคราะห์ห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มของชีวมวล ยกตัวอย่างเช่น มีอ้อย 1 กิโลกรัมจะขายได้เงินแค่ 3 บาท แต่ถ้านำไปสกัดเป็นน้ำตาลจะได้ 20 บาท แต่ถ้านำไปแปลงเป็นชีวเคมีภัณฑ์ประเภทต่างๆ จะนำไปสู่มูลค่าเพิ่มระดับพันบาทต่อกิโลกรัมได้”
ขณะนี้วิทยาลัยได้ร่วมงานกับองค์กรในประเทศเนเธอร์แลนด์เพื่อศึกษาเชิงเปรียบเทียบถึงโครงการนำร่องที่จะตอบโจทย์แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จากต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มประเทศยุโรป แล้วจะประมวลเป็นรายงานส่งมอบให้แก่สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในขณะเดียวกันก็ร่วมกับมหาวิทยาลัยในประเทศเนเธอร์แลนด์เร่งพัฒนาพลาสติกชนิดใหม่ ทดแทน Single Use Plastic หรือที่เรียกว่าพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง รวมถึงการพัฒนาโพลิเมอร์ชั้นสูงที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น โพลิเมอร์ดูดน้ำ โพลิเมอร์ที่ตอบสนองแสงได้ หรือต่อความเป็นกรด-ด่าง นอกเหนือจากพลาสติกที่ย่อยสลายได้
“ขณะนี้นวัตกรรมพลาสติกชีวภาพมาถึงระดับผลิตภัณฑ์แล้ว ซึ่งเราจะเห็นผลิตภัณฑ์จำพวกถุง แผ่นฟิล์ม จาน ถาด ช้อนส้อม ตะเกียบ เราพยายามสร้างนวัตกรรมจากเคมีชีวภัณฑ์ชนิดต่างๆ” ศ.ดร.สุวบุญ กล่าว
ความมุ่งมั่นขณะนี้คือความพยายามพัฒนาชีวมวล (Biomass) ให้เป็นวัสดุในระดับที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานทางเคมีนานาชนิดเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของการผลิตพลาสติกในระดับอุตสาหกรรมและการอุปโภคบริโภคทั่วไป
อย่างไรก็ตามความท้าทายในการพัฒนาไปสู่ระดับการใช้งานจริงนั้นคือการลดต้นทุน
“สิ่งที่ต้องทำต่อคือการผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ ซึ่งผลิตจากเคมีชีวภาพยังมีราคาสูงกว่าพลาสติกปิโตรเคมีทั่วไป 3-5 เท่า และคุณภาพโดยเฉพาะความเหนียวก็ยังสู้ไม่ได้ แต่เราเล็งเห็นว่าไทยมีอุตสาหกรรมแป้งที่เข้มแข็ง ก็มีแนวคิดว่าอาจจะต้องเติมแป้งลงในพลาสติกเพื่อให้ราคาลดลง พัฒนาแป้งให้มีความเหนียวมากขึ้น ก็เป็นสิ่งที่มีการพูดคุยกัน”
ศ.ดร.สุวบุญ ย้ำว่า ปัจจุบันสังคมไทยอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านที่รวดเร็วและการตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเป็นโอกาสของประเทศไทยในการพัฒนา Biorefinery จากชีวมวลที่ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ที่ครอบคลุมถึงเคมีภัณฑ์และพลาสติกชีวภาพตามนโยบายของรัฐด้วย
“เพื่อให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะต้องมีโครงการที่ชี้แนวทางในอนาคต และมีความชัดเจน ซึ่งจะตอบโจทย์การเข้ามามีส่วนร่วมของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น วิทยาลัยปิโตรเลียมและเคมีจึงมีพันธกิจที่จะต้องสร้างแนวทางต้นแบบการใช้พลังงานชีวภาพ พลังงานแบบหมุนเวียน รวมถึงตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมให้สำเร็จ เพื่อให้โครงการ BCG เป็นกลไกขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างยั่งยืนต่อไป” ศ.ดร.สุวบุญ ทิ้งท้าย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้