รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 02/12/2019 นักวิชาการ: รศ.มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
ปมร้อนคดีการถือครองที่ดินที่ อ.จอมบึง ของ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ กำลังเป็นที่จับตามองของสังคม หลังจากการสืบสวนพบว่าพื้นที่ดังกล่าวนั้นบุกรุกเขตป่าสงวน เข้าข่ายมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ 2507 และพระราชบัญญัติป่าไม้ 2484 ซึ่งถือว่ามีความผิดต้องโทษจำคุก
สังคมตั้งคำถามถึงกระบวนการยุติธรรมที่จะเกิดขึ้นว่าจะเป็นสองมาตรฐานหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่นักการเมืองแต่ต้องคดีในกรณีเดียวกัน โดยเฉพาะการที่ น.ส.ปารีณาสามารถร้องขอให้ตรวจสอบที่ดินใหม่ได้ ทั้งที่มีการยืนยันแล้วว่าบุกรุกป่าสงวนจริง แต่เจ้าตัวอ้างสิทธิครอบครองที่ดินโดยยืนยันด้วยเอกสาร ภ.บ.ท.5 หรือแบบแสดงรายการที่ดินที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่
“หากมีผู้ใดมาขายที่ดินให้ท่าน และเอกสารครอบครองสิทธิไม่ใช่โฉนด หรือ น.ส. 3 แต่เป็นเอกสารหน้าตาแปลกๆ ผมไม่แนะนำให้ซื้อที่ดินนั้น” รศ.มานิตย์ จุมปา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดประเด็น “เพราะเอกสาร ภ.บ.ท.5 ไม่ใช่เอกสารสิทธิการครอบครอง เป็นเพียงใบเสร็จว่ามีการชำระภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้น”
อาจารย์มานิตย์อธิบายว่า ปัจจุบันที่ดินในประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทแรกเป็นที่ดินซึ่งเอกชนสามารถเข้าไปเป็นเจ้าของได้ โดยสามารถจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินได้อย่างปรกติตามเอกสารสิทธิ ได้แก่โฉนด หรือเอกสารสกุลโฉนดกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3)
ส่วนที่ดินอีกประเภทคือที่ดินที่ไม่สามารถให้เอกชนเป็นเจ้าของได้ เพราะรัฐเป็นเจ้าของ และเป็นผู้จัดสรรการใช้ประโยชน์เพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น ถนน ป่า อุทยาน หรือพื้นที่สาธารณะ จึงมีกฎหมายเฉพาะเข้าไปคุ้มครอง ที่ดินประเภทนี้ยังรวมไปการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เช่น กฎหมายที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ซึ่งเป็นที่ดินที่รัฐเป็นเจ้าของ แต่ให้ประชาชนเข้าไปทำประโยชน์ได้
“แนวคิดของกฎหมายที่ดิน ส.ป.ก. คือการอนุญาตให้ใช้ที่ดินเสื่อมโทรมเพื่อให้เกษตรกรยากจนทำไร่ทำสวน แต่จำหน่ายจ่ายโอนไม่ได้เพราะรัฐเป็นเจ้าของ แม้ว่าอาจจะตกทอดเป็นมรดกแก่ลูกหลานได้ แต่ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขเป็นเกษตรกรยากจนก็ต้องถูกยึดคืน แต่ในทางปฏิบัติมีการแอบซื้อขายกันในแบบที่ไม่มีกฎหมายรองรับ”
อาจารย์มานิตย์กล่าวต่ออีกว่า โดยหลักปฏิบัติ การพิจารณาว่าบุคคลหรือเอกชนใดเป็นผู้ ครอบครองที่ดินหรือไม่นั้นต้องตรวจสอบเอกสารร่วมกับกรมที่ดิน อย่างไรก็ตาม เอกสารดังกล่าวจะไม่ได้รับประกันชัดเจนว่าที่ดินในการครอบครองของบุคคลหรือเอกชนนั้นมีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนหรือไม่ หากไม่ได้ตรวจสอบยืนยันกับหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแล
“ในอดีต ประเทศไทยถือหลักคนบุกป่า เพราะป่ามีเยอะ คนมีน้อย ส่งเสริมให้คนหักร้างถางพง มีสิทธิในที่ดินกัน แต่ปัจจุบันกลับตาลปัตร รัฐบาลพยายามสงวนป่า หวงห้ามป่า มีการประกาศที่ไหนเป็นเขตป่า เลยดูเหมือนป่าบุกรุกคน เพราะประกาศเขตป่ามาทีหลังคนอยู่ รัฐบาลจึงต้องหาทางแก้ไข”
อาจารย์มานิตย์ชี้ให้เห็นว่ามาตรฐานแผนที่ของกรมป่าไม้ และของกรมที่ดินยังมีหลักเกณฑ์คนละแบบในการกำหนดพื้นที่ “ป่า” ดังนั้นบุคคลใดก็ตามที่ต้องการซื้อที่ดินหรือการถือครองพื้นที่ที่ใกล้เขตป่า ควรสอบถามสำนักงานจัดการที่ดินป่าไม้ให้ชัดเจน
“แต่ก็โทษไม่ได้ว่าหน่วยงานรัฐไม่บูรณาการกัน เพราะแนวคิดเรื่องนี้เพิ่งมามีไม่กี่ปีให้หลัง ปัญหาที่เกิดขึ้นก็ตามมา ตามยุคสมัย ณ ตอนนี้ มีความพยายามทำให้แผนที่จะอยู่ในมาตรฐานเดียวกันแล้ว ถ้ามีแผนที่เกิดขึ้นก็น่าจะไม่มีปัญหาว่าใครรุกใครอีก”
ในกรณีของ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ได้สร้างคำถามต่อภาครัฐว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปกับกฎหมายการบุกรุกป่า เพราะปัจจุบันมีบุคคลธรรมดาจำนวนมากต้องโทษจำคุกจากการใช้ที่ดินป่าสงวน
“ต้องถามก่อนว่าการใช้กฎหมายเป็นธรรมหรือไม่ การรุกป่าสงวนผิดแน่นอนในแง่ทางเทคนิค แต่ไม่ได้เป็นสิ่งชั่วร้ายเหมือนการฆ่าคน จะใช้กฎหมายโดยไม่ลืมหูลืมตาไม่ได้ เพราะมีคนบริสุทธิ์ และเขาเป็นคนที่ต้องได้ประโยชน์จากการทำการเกษตรจริงๆ เพราะเขายากจน แต่ขณะเดียวกันก็ควรพิจารณาด้วยว่ากรณีที่เป็นบริษัท ห้างร้านรุกที่ป่าเพื่อหาประโยชน์ หรือแม้กระทั่งนักการเมืองเหล่านี้ตั้งใจบุกรุก และมีที่เป็นพันๆ ไร่ ก็น่าจะใช้เกณฑ์พิจารณาที่ต่างออกไป”
อาจารย์มานิตย์ยกตัวอย่างทางเลือกหนึ่งของการสร้างความยุติธรรมทางกฎหมายสำหรับผู้ที่ครอบครองพื้นที่ป่าสงวน หรือใช้ที่ดิน ส.ป.ก. ผิดวัตถุประสงค์ เช่น นิรโทษกรรม แก่ผู้ที่บุกรุกที่ดินรัฐ เช่นเดียวกับกฎหมายนิรโทษกรรมผู้ที่ครอบครองอาวุธปืน โดยให้คืนปืนแก่รัฐ แล้วจะไม่มีความผิดทางกฎหมาย
“ทำประกาศให้ชัดเจนว่าที่ดินไหนเป็นที่ป่า ที่ชุมชน ใครมีเอกสารสิทธิไม่ถูกต้อง ใครบุกรุกที่รัฐให้เขามาคืน แล้วจะไม่มีความผิด ก็ทำได้ และรัฐจะได้ที่ดินคืนเป็นจำนวนมากอีกด้วย ถ้ารัฐจะดูแลต่อก็นำที่ดินที่ได้คืนมาจัดสรรแบ่งปันใหม่ แต่ยังมีคำถามอยู่ว่า หากออกกฎหมายนิรโทษกรรมตอนนี้จะถูกมองว่าเป็นประเด็นทางการเมือง และรัฐบาลจะถูกตั้งคำถามว่าออกกฎหมายเพื่อช่วยนักการเมืองตนเองหรือไม่”
กรณี “ที่ดินปารีณา” เป็นบทพิสูจน์ว่ารัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร จะมีการสั่งตรวจสอบการถือครองที่ดินของนักการเมืองรายอื่นๆ หรือไม่ และกฎหมายจะสามารถบังคับใช้ได้อย่างเสมอภาคแก่คนทุกระดับชั้นหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องจับตาดู ต่อไป
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้