รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 16/12/2019 นักวิชาการ: อ.ดร.รัชดา ไชยคุปต์ ในฐานะผู้แทนไทยด้านสิทธิสตรีในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ACWC) และนักวิจัยของศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษาจุฬาฯ
ปัญหาด้านความรุนแรงทางเพศต่อผู้หญิงและการค้ามนุษย์ เป็นประเด็นผูกโยงกับสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศ ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี 2030 ขององค์การสหประชาชาติ และวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 แต่ประเทศไทยเตรียมรับมือสถานการณ์ดังกล่าวอย่างไร โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวพันและซับซ้อนอย่างเรื่องแรงงานหญิงข้ามชาติ
อ.ดร.รัชดา ไชยคุปต์ ในฐานะผู้แทนไทยด้านสิทธิสตรีในคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ACWC) และนักวิจัยของศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหาเรื่องแรงงานหญิงข้ามชาติเป็นปัญหาหนึ่งในอาเซียนที่มีมานานและทวีความรุนแรง แต่ไม่มีค่อยได้รับความสนใจที่จะพูดถึงมากนัก
“สิ่งที่เกิดขึ้นในอาเซียนที่เป็นเหมือนกันหมดก็คือ เราพบว่ามีผู้หญิงอาเซียนย้ายถิ่นไปทำงานในประเทศ ปลายทางได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และเผชิญกับปัญหาถูกคุกคามทางเพศ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือแม้แต่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ทำงานหนัก ไม่มีสิทธิคุ้มครอง หนักสุดคือตกอยู่ในวังวนการค้ามนุษย์” อาจารย์รัชดากล่าว
สาเหตุหลักที่ทำให้ปัญหายังคงอยู่ คือ “ความเงียบ” ซึ่งเกิดจาก “ความกลัว” ที่จะมีปัญหากับนายจ้างและถูกส่งกลับบ้าน หรือไม่สามารถทำงานในประเทศปลายทางต่อไปได้ ในขณะเดียวกันการขาดความรู้และข้อมูลด้านสิทธิของตนเอง และการเข้าถึงหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือก็ทำให้ปัญหายังคงดำเนินอยู่ กลายเป็นความท้าทายในการหาหนทางแก้ปัญหาแรงงานหญิงข้ามชาติในปัจจุบัน
“เราพบว่าอาเซียนมีพันธกิจในการดูแลและแก้ไข ถือว่าเป็นแผนงานของ ACWC ซึ่งต้องดูแลด้านสิทธิผู้หญิง ขณะเดียวกันเราก็พบว่าเรื่องความรุนแรงและปัญหาการค้ามนุษย์มีความเกี่ยวข้องกัน และอาเซียนเองก็มีความร่วมมือในด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นอาชญากรรมรูปแบบหนึ่ง ภายใต้กรอบความร่วมมือของสมาชิกอาเซียน พอรู้แล้วว่ามีพันธกิจต้องทำ ก็ต้องมาดูกันต่อว่าแรงงานคนที่เผชิญปัญหาต้องการอะไร”
การเก็บข้อมูลและทำวิจัยกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยของ อ.ดร.รัชดา พบว่ามีความจำเป็นที่จะต้องรณรงค์ด้วยการสื่อสารเพื่อช่วยเป็นกระบอกเสียงบอกเล่าเรื่องราว และการให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานหญิงข้ามชาติที่ประสบปัญหา
“แรงงานต่างชาติเหล่านี้มีเวลาว่างราวๆ วันละ 2 ชั่วโมง ซึ่งเขาจะเอาเวลาดังกล่าวนี้ไปรับสื่อออนไลน์ คือ เฟซบุ๊ก ฟังเพลงก็จะฟังผ่านยูทูบ ไม่มีใครใช้ไลน์ เราคุยกันต่อและพบว่าเขาต้องการให้เพลงเป็นเครื่องมือสื่อสารสถานการณ์และการหาทางออกของเขา ซึ่งเราก็คุยกันและทำออกมาเป็นเพลง”
เนื้อหาของบทเพลงรณรงค์ เป็นการพัฒนาเครื่องมือสื่อสารมาจากกลุ่มเป้าหมายโดยตรง เพราะผู้ประสบปัญหาเป็นผู้เล่าเรื่องสะท้อนปัญหาแรงงานหญิงข้ามชาติ ไม่ว่าจะเป็นการถูกเอารัดเอาเปรียบ การข่มขู่ ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ความผิด การถูกล่วงละเมิดทางเพศ รวมทั้งให้คำแนะนำและช่องทางการช่วยเหลือ เช่น สายด่วน 1300 เพลงดังกล่าวจะมีการแปลเป็น 4 ภาษา คือ ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า โดยจะทำเป็นแนวเพลงเต้นอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Dance Music หรือ EDM) เปิดตัวในวันแรงงานข้ามชาติสากล 18 ธันวาคมนี้
“แต่การรณรงค์เรื่องนี้มีข้อท้าทายสูง เพราะในระดับอาเซียนเองเราพบว่ามีความแตกต่างทางวัฒนธรรม และการทำงานแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ต้องอาศัยกลไกค่อนข้างมากเพราะต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศต้นทางและประเทศปลายทางของแรงงานหญิงอพยพ”
การจัดงานเสวนาในหัวข้อ Migration and SDGs: ASEAN and Beyond : A Pathway to the 2030 Agenda : EPISODE II ในวันที่ 17-18 ธันวาคมนี้ เป็นความพยายามของศูนย์วิจัยการย้ายการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้สถานการณ์ การแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติของประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสำหรับประเทศไทยในฐานะประเทศปลายทางที่แรงงานอพยพมาทำงาน มีหน้าที่สำคัญที่จะทำให้กลไกขอความช่วยเหลือเข้าถึงได้ และหาให้เจอเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา
“ที่สำคัญคือสังคมต้องตระหนักว่า เรื่องแรงงานข้ามชาติเป็นปัญหาความรุนแรงและการล่วงละเมิดทางเพศสามารถเกิดขึ้นได้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ดังนั้น คนในสังคมเองควรช่วยกันสอดส่อง และเป็นหูเป็นตา อย่ามองข้ามปัญหานี้ และโทษว่าเป็นความผิดของแรงงาน หรือเพศหญิงเพียงฝ่ายเดียว” อาจารย์รัชดาสรุป
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้