รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 03/02/2020 นักวิชาการ: ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภากาชาดไทย
การระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (2019-nCov) เป็นวิกฤติที่นานาประเทศให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตื่นตัวและความหวาดกลัวให้คนทั่วโลกหลังจากมีการรายงานการพบผู้ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบหลายรายในเมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อปลายปี 2562 และขณะนี้ยังคงปรากฏการแพร่กระจายในหลายประเทศทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อในวงกว้างที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จนกระทั่งองค์การอนามัยโลกประกาศ “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของโลก” เพราะเชื้อไวรัสนี้กำลังแพร่ระบาดไปอย่างน้อย 20 ประเทศ และทำให้ผู้เสียชีวิตกว่า 250 รายในจีน
ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภากาชาดไทย กล่าวในงานเสวนา “เกาะติดสถานการณ์ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ : แนวทางการดูแลผู้ป่วยและการป้องกันตนเอง” โดยให้ข้อมูลว่าเชื้อไวรัสดังกล่าวอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาดและจะมีการระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดสูงสุด แต่จะลดระดับลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นธรรมชาติของการแพร่กระจายของโรคระบาด
ข้อมูลบ่งชี้ว่าในระยะแรกการระบาดมีสาเหตุมาจากสัตว์สู่คน เชื้อไวรัสโคโรนาที่เคยระบาดทั้งในอดีตและปัจจุบันมีต้นตอของเชื้อที่เหมือนกันคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อาทิ ค้างคาว และอูฐ แต่เมื่อเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ทำให้ทนทานต่อภูมิคุ้มกันของคนและสามารถพัฒนาตัวกลายเป็นเชื้อที่ติดต่อจากคนสู่คนได้
จากองค์ความรู้เกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาพบว่าเป็นเชื้อโรคที่เคยระบาดหรือติดต่อในคนมาแล้ว เช่น โรคซาร์ส (SARS: Severe Acute Respiratory Syndrome) ที่ระบาดในภูมิภาคเอเชีย เมื่อปี 2545-2546 ซึ่งมีสาเหตุจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ SARS-CoV ที่เป็นไวรัสโคโรนาจากชะมดมาติดในคน โดยเริ่มระบาดจากประเทศจีนและกระจายไปทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อกว่าแปดพันคน อัตราการตายร้อยละ 10 โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ส่วนโรคเมอร์ส (MERS : Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus) ซึ่งระบาดในภูมิภาคตะวันออกลาง ระหว่างปี 2555-2557 เป็นไวรัสโคโรนาผ่านอูฐมาติดเชื้อในคน เริ่มจากผู้ป่วยในประเทศซาอุดีอาระเบีย มีผู้ติดเชื้อประมาณ 1,700 คน อัตราการตายร้อยละ 34
นพ.โอภาส ยืนยันว่าการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ไม่ทำให้เสียชีวิตทุกคน หากติดเชื้อก็สามารถรักษาหายได้ ข้อมูลส่วนใหญ่ระบุว่าอัตราการเสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่โดยเฉลี่ยคือ 3-5% ซึ่งต่ำกว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคซาร์สซึ่งควบคุมการระบาดได้แล้ว และโรคเมอร์สที่ยังพบการระบาดอยู่เนื่องจากไม่สามารถคุมสัตว์ที่เป็นต้นตอของโรคได้
สำหรับการรักษาเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการของผู้ป่วย ถ้าภูมิคุ้มกันดีพอ มีหลายคนสามารถหายได้เอง แต่กลุ่มเสี่ยงคือกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำอยู่แล้ว โดยอาจจะเสียชีวิตจากระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือไวรัสกระจายในกระแสเลือด เป็นต้น โดยปกติสามารถสังเกตอาการของผู้ที่ติดเชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เช่น มีอาการไข้ เจ็บคอ น้ำมูกไหล จาม หายใจเหนื่อยหอบ และท้องเสีย เป็นต้น ดังนั้นหากสงสัยว่าตนเองมีอาการที่คล้ายกับการติดเชื้อก็ควรรีบติดต่อแพทย์
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงและได้รับผลกระทบจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ซึ่งหลายหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขของไทยมีการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลเพื่อรับมือและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส เนื่องจากบุคลากรทางการแพทย์มีความสุ่มเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป เพราะอยู่ในพื่นที่เสี่ยงกับผู้ป่วยและมีการใกล้ชิดกับผู้ที่ไอ จามโดยตรง
ดังนั้นการหาความรู้และความเข้าใจต่อการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จึงมีความสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อและเพื่อไม่ให้ตื่นตระหนกจนเกินไปจนเกิดกระแสการต่อต้านผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อโดยเฉพาะชาวจีนและผู้ที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง เพราะไม่ใช่ทุกคนจะมีเชื้อไวรัสดังกล่าว ทั้งนี้การป้องกันตนเอง เช่น การล้างมืออย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสวมใส่หน้ากากอนามัยก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อได้ และติดอาวุธทางความคิดเพื่อสร้างความเข้าใจและไม่ตื่นตระหนกในสถานการณ์ปัจจุบันจึงมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้