รู้ลึกกับจุฬาฯ

สิทธิหายใจในอากาศสะอาด

ย่างเข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ แต่สถานการณ์ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ยังคงเกินค่ามาตรฐานและส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาในปีที่แล้ว

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้จัดเวทีจุฬาฯ เสวนา ขึ้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ในหัวข้อ “ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 แก้ปัญหาอย่างไรให้ยั่งยืน” โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาร่วมกันอธิบายและให้ความรู้เกี่ยวกับแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ทั้งในเชิงวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย กฎหมาย และเภสัชกรรม

รศ.ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในวิทยากร การเสวนา อธิบายในแง่มุมกฎหมายว่า การบัญญัติศัพท์อากาศสะอาด หรือ Clean Air ถือเป็นคำศัพท์ใหม่ในทางกฎหมาย เพราะที่ผ่านมานิยมใช้คำว่ามลพิษทางอากาศ

“พูดในฐานะประชาชนผู้ได้รับผลกระทบด้วย เพราะเรื่องนี้เป็นประเด็นฮอตมาก แต่ที่คนไม่ค่อยพูดถึงคือเรื่องกฎหมายอากาศสะอาด เพราะเรามักจะโฟกัสกับเรื่องฝุ่นเสียมากกว่า แต่ในครั้งนี้อยากให้ทุกคนตั้งคำถามถึงสิทธิที่เราต้องการในฐานะประชาชนคนไทย หรือก็คือสิทธิที่เราจะมีอากาศสะอาดหายใจ”

อาจารย์คนึงนิจอธิบายเสริมว่า อากาศที่สะอาดนับว่าเป็นสิทธิในชีวิตรูปแบบหนึ่ง เพราะอากาศสะอาดทำให้เรามีสุขภาพที่ไม่ย่ำแย่ และตายก่อนวัยอันควร หากมีอะไรมากระทบทำให้ชีวิตไม่เป็นไปตามปกติสุข หรือทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเป็นปกติ และต้องตายก่อนวัยอันควรโดยไม่ยินยอม นับว่าเราถูกละเมิดสิทธิ

นอกจากนี้ หากมีผู้เสียประโยชน์จากสถานการณ์ดังกล่าว และมีผู้ได้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้ นับว่าเป็นความไม่เป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อม เพราะถือเป็นการเลือกปฏิบัติและยัดเยียดสถานการณ์ที่มีปัญหาแก่คนกลุ่มหนึ่ง

เมื่อกล่าวถึงการใช้กฎหมายสำหรับแก้ปัญหาสถานการณ์ฝุ่นในขณะนี้ อาจารย์ คนึงนิจอธิบายว่าต้องใช้กฎหมายระดับแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง และต้องใช้กฎหมายหลายฉบับในการแก้ไข มิฉะนั้นจะเป็นการแก้ไขที่ไม่ตรงจุด และยังคงเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเหมือนที่ผ่านมา

“ขอเรียกว่า กฎหมายอากาศสะอาดสูตร Reform Plus เป็นเครื่องมือคว้านลึกความรุนแรงเชิงโครงสร้าง เพราะเรื่องนี้เป็นปัญหาที่สลับซับซ้อน ถ้าใช้กฎหมายฉบับเดียวแก้ไขคงเป็นไปไม่ได้”

อาจารย์คนึงนิจ อธิบายเสริมว่า สถานการณ์ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ที่ปรากฏออกมาเป็นรูปธรรม ณ ปัจจุบัน เปรียบเสมือนปลายน้ำ หรือยอดภูเขาน้ำแข็งที่สามารถมองเห็น ในทางกลับกัน ปัญหาเชิงวัฒนธรรม และปัญหาเชิงโครงสร้างคือต้นตอหลักของปัญหาดังกล่าวกลับมองไม่เห็นออกมาเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

“พอมองไม่เห็นชัดเจนทำให้เราแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ตัวอย่าง เช่น ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม หรือการที่ไม่หลุดพ้นจากระบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบไทยๆ รวมถึงเหตุการณ์ที่มือใครยาวสาวได้สาวเอา ก็เป็นช่องว่างและรอยร้าวที่ทำปัญหาทวีคูณ”

อาจารย์คนึงนิจชี้ว่าการแก้ปัญหาแบบเดิมๆ เป็นการย่ำอยู่กับที่และไม่ช่วยให้ปัญหาดังกล่าวถูกแก้ไขอย่างตรงจุด โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายที่เน้นแต่การลงโทษ แต่ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้เกิดอากาศสะอาด

“เราต้องออกกฎหมายที่มีมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ เข้ามาช่วย เพราะต้องเป็นการออกแบบเพื่อปรับเปลี่ยน พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ปล่อยอากาศเสีย การออกแต่กฎหมายลงโทษอย่างเดียวยังไม่ดึงดูดมากพอ”

นอกจากนี้ อาจารยคนึงนิจยังชี้อีกว่า การออกนโยบายเชิง Top Down หรือการสั่งการจากข้างบน การสนใจแต่ตัวเลขการประเมิน หรือตัวเลข KPI ของสังคมไทย รวมถึงการตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาเป็นรูปแบบคณะกรรมการแห่งชาติในชื่อต่างๆ อาจเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด

“เพราะเอาเข้าจริง ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 คือภาพสะท้อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่ยั่งยืน (Unsustainable Growth) เพราะในทางหนึ่งเราบังคับใช้กฎหมายหย่อนยาน ไม่แน่นอน เราไม่มี Green GDP และไม่ได้สะท้อนค่าใช้จ่ายทางสิ่งแวดล้อมที่เราเสียไป กฎหมายสิ่งแวดล้อมก็ถูกปรับเปลี่ยนให้ดึงดูดนักลงทุนเพื่อให้เข้ามาลงทุนง่ายขึ้น”

อาจารย์คนึงนิจเสริมว่า ประชาชนคนไทยย่อมมีสิทธิในชีวิตของตัวเอง ต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี อากาศสะอาด ขณะเดียวกัน รัฐเองก็มีหน้าที่ มีอำนาจ มีความรับผิดชอบต้องทำให้สิทธินั้นๆ เกิดขึ้น รัฐมีหน้าที่เคารพ ปกป้อง และเติมเต็ม (Respect, Protect, Fulfill) สิทธิของประชาชน แต่หากรัฐไม่สามารถทำได้ รัฐต้องรับผิดชอบ และประชาชนสามารถฟ้องศาลได้

“สิ่งที่ควรจะทำด่วนที่สุดคือทำให้มีกฎหมายอากาศสะอาดสูตร Reform Plus โดยเร็วที่สุด เพราะหากรัฐไม่ทำอะไรเลย ประชาชนก็จะเหลือสิทธิแค่ว่าจะตายแบบใด และถูกยัดเยียดความตายทั้งที่ไม่เต็มใจ นอกจากจะไม่ยั่งยืนแล้ว ยังเป็นความล้มเหลวของการบริหารนโยบายของรัฐอีกด้วย” อาจารย์คนึงนิจกล่าวสรุป

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า