รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 16/03/2020 นักวิชาการ: ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาฯ
สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโรค โควิด-19 ยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และในวันที่ 11 มีนาคม ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกประกาศยกระดับความเสี่ยงของสถานการณ์โควิด-19 เป็นโรคระบาดครั้งใหญ่ (Pandemic) เรียบร้อยแล้ว ขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อล่าสุดเพิ่มสูงเกิน 100,000 รายทั่วโลก
ท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียดในระดับสากลก็มีความกังวลกันกว้างขวางในประเทศไทยว่ากำลังเข้าสู่ระยะที่ 3 ของการระบาด คือระยะที่มีการติดเชื้อระหว่างคนในประเทศด้วยกันเอง แม้จะไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศหรือติดต่อกับผู้ที่มาจากต่างประเทศก็ตาม และจะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในอัตราอันรวดเร็วหรือไม่
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อและระบาดวิทยาจากคณะแพทยศาสตร์ ระบุว่า ไทยจะเข้าสู่ระยะที่ 3 ของการระบาดแน่นอน แต่ขึ้นอยู่กับศักยภาพในการจัดการและความร่วมมือระหว่างรัฐกับประชาชนว่าจะทำให้สถานการณ์การระบาดรุนแรงมากน้อยแค่ไหน
“ผมคุยกับอาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มาลองทำแบบจำลองพยากรณ์การระบาด ซึ่งก็ประสานงานกับทางกรมควบคุมโรค เราเชื่อว่าภายใน 1-2 เดือนนี้เป็นช่วงที่สำคัญที่สุดที่จะมีการระบาดเกิดขึ้น แต่จะรุนแรงแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับมาตรการการรับมือของเรา”
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ ชี้ว่าในฐานะสถานศึกษา จุฬาฯ เองก็เริ่มมีการเตรียมแผนรองรับ เช่น เปิดคอร์สเรียนออนไลน์ หรือแม้แต่การเสนอแนวทางการสอบเป็นการทำรายงาน หรือการสอบออนไลน์ แทนที่จะเป็นการรวมตัวกันในห้องสอบ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการรวมตัวของคนจำนวนมากในพื้นที่สาธารณะ
“ประเด็นเรื่อง Social Distance ระยะห่างของคนในสังคมเป็นสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาอย่างยิ่งในช่วงนี้ เราจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก บริษัทเอกชนเองก็อาจต้องพิจารณามาตรการ Home Office หรือทำงานที่บ้านได้ กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรวมตัวของคน แต่ไม่ใช่ว่าถูกกักอยู่ที่บ้านแต่แอบไปเที่ยวผับก็ไม่ควรกระทำ ต้องหลีกเลี่ยงทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อเป็นการชะลอให้เราเข้าสู่ระยะที่ 3 ช้าลง และลดความรุนแรงของการระบาดที่จะเกิดขึ้น”
ดังนั้นการดูแลสุขอนามัยของตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ การล้างมือสม่ำเสมอ รับประทานของร้อน และใช้ช้อนส่วนตัว เพราะมีรายงานแล้วว่าการใช้ช้อนกลางร่วมกันหลายคนเสี่ยงติดเชื้อโรคจากการสัมผัสสิ่งของร่วมกันมากกว่า รวมถึงการไม่รวมตัวกันเป็นกลุ่มจำนวนมาก หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องพบปะกับคนหลากหลายกลุ่ม
“ผมมองว่าประชาชนคนไทยตื่นตัวกันมากจนหลายครั้งกลายเป็นความตระหนกเกินไป ปัจจุบันมีข่าวลวง ข่าวปลอมเยอะมากเกี่ยวกับโควิด-19 เช่น ข่าวนิสิตจุฬาฯ ติดเชื้อรายแรก ก็พิสูจน์แล้วว่าไม่ใช่ข่าวจริงแต่มาจากคนที่เอาโพสต์แรกไปขยายต่ออย่างไม่รับผิดชอบและนำไปสู่ความเข้าใจผิดต่อเนื่อง ประชาชนต้องเลือกเสพข่าวรอบด้าน มีความถูกต้อง และเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ที่เป็นหลักเป็นฐานเชื่อถือได้”
อย่างไรก็ดี ศ.นพ.ดร.นรินทร์ ชี้ว่าในแง่โรคระบาดควรคิดถึงกรณีที่เกิดเหตุการณ์เลวร้ายที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องรักษาสมดุลให้ถูกต้องว่าควรตระหนักและตระหนกโรคระบาดมากน้อยแค่ไหน แต่อาการที่เกิดขึ้นก็ย่อมเข้าใจได้เมื่อประชาชนไม่เชื่อมั่นในมาตรการของรัฐ เพราะรัฐบาลไม่ได้มีมาตรการที่ชัดเจนและทำตัวเป็นที่พึ่งได้แก่ประชาชน
“สาธารณสุขไทยมีประสิทธิภาพมาก แต่รัฐบาลยังไม่มีมาตรการจัดการที่ชัดเจนเลย เช่น เรื่องการเปิดรับประชากรกลุ่มเสี่ยงจากต่างประเทศโดยไม่กักตัว มิหนำซ้ำยังมีข่าวหน้ากากอนามัยที่ไม่พอเพียง แต่มีคนกักตุน ตรงนี้รัฐบาลต้องรีบเคลียร์ให้ได้ เพราะถ้านโยบายหรือมาตรการไม่โปร่งใส ไม่ชัดเจน ปกปิด คนไทยก็จะไม่ยอมให้ความร่วมมือกับรัฐบาล”
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ วิเคราะห์ว่าหากเกิดการระบาดสู่ระยะที่ 3 ไทยไม่น่าจะมีสถานการณ์เลวร้ายเหมือนหลายๆ ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อหลักพัน เช่น อิตาลี หรืออิหร่าน แต่ก็มิควรวางใจ เพราะมาตรการควบคุม กักกันกลุ่มเสี่ยง คัดกรองผู้ป่วย และให้ความรู้แก่ประชาชน เป็นมาตรการที่ต้องดำเนินไปอย่างเคร่งครัด
“ตัวเลขทางการที่มีการประมาณการ ณ ขณะนี้อยุ่ที่ราวๆ 70 กว่าคน (13 มีนาคม) ผมคิดว่ารัฐไม่ได้ปกปิดตัวเลข แต่ตรวจไม่พบ เพราะเราตรวจคนที่มีความเสี่ยงน้อย และสถานพยาบาลยังไม่ได้คัดกรองหรือควบคุมให้ดีพอ อีกประการหนึ่งคือการขาดแคลนอุปกรณ์เครื่องมือซึ่งต้องรีบจัดการ เช่น ห้องความดันลบ ซึ่งใช้ในห้องผู้ติดเชื้อก็ยังไม่ครอบคลุม ถ้าเข้าสู่ระยะที่ 3 แล้ว อุปกรณ์ไม่พอใช้จะเกิดสถานการณ์ปั่นป่วนหนัก”
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ ยังกล่าวอีกว่า รัฐบาลควรใช้ที่ปรึกษาทางวิชาการที่ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์และบูรณาการร่วมกันหลากหลายศาสตร์ นอกจากในแง่การแพทย์ ก็ต้องมีมาตรการทางเศรษฐกิจเข้ามารองรับ แต่ควรยึดถือมั่นความปลอดภัยทางสุขภาพของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อหาทางออกที่เหมาะสม
“รัฐบาลต้องเปิดใจมองปัญหาร่วมกับประชาชน เข้าใจประชาชน ผมรู้ว่ารัฐมีที่ปรึกษาเยอะ ก็ควรนำข้อมูลมาใช้ให้เป็นประโยชน์ การแก้ปัญหาจะได้ไปถูกทาง และเมื่อนั้นประชาชนถึงจะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลเอง”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้