รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 30/03/2020 นักวิชาการ: อาจารย์ ดร.สุดาพร สถิตยุทธการ สาขาการพยาบาล จิตเวชและสุขภาพจิต คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาฯ
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก่อให้เกิดความวิตกกังวลอย่างมากต่อประชาชน เนื่องจากโควิด-19 เป็นโรคใหม่ เรามักกลัวสิ่งที่ไม่รู้ และเลยเถิดไปจนถึงการแสดงความรู้สึกกลัว รังเกียจคนป่วย จนกลายเป็นความวิตกกังวล ความขัดแย้งภายในจิตใจและความเครียด ซึ่งส่งผลกระทบต่อจิตใจของบุคคลในครอบครัวโดยเฉพาะผู้ใหญ่และเด็ก แล้วเราจะทำให้อย่างไรให้ครอบครัวเข้มแข็งรับมือกับสถานการณ์ โควิด-19 อย่างมีสติ?
“แต่ละคนมีปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อความเครียดแตกต่างกันตามสถานการณ์ โดยการตอบสนองดังกล่าวของบุคคลมาจากพื้นฐานทางร่างกาย จิตใจและสิ่งแวดล้อมของบุคคลในครอบครัว ดังนั้นการจัดการกับความเครียดจะช่วยให้สมาชิกในครอบครัวสามารถข้ามผ่านวิกฤติทางด้านจิตใจนี้ไปได้” อาจารย์ ดร.สุดาพร สถิตยุทธการ สาขาการพยาบาล จิตเวชและสุขภาพจิต คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว
ความเครียดเกิดจากถูกกระทบจากสิ่งเร้าที่มากระตุ้นจากภายนอกและภายจากในตนเอง แต่ความเครียดก็อาจจะเป็นกลไกที่สามารถกระตุ้นบุคคลให้มีการปรับตัวและมีเพิ่มแรงต้านทาน “การมีความเครียดเปรียบเสมือนสัญญาณเตือนภัยที่ทำให้คนเราเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น แต่กลับกันหากสัญญาณเตือนภัยนี้ทำงานมากเกินไปอาจกลายเป็นโรคเครียดสะสมได้ ความเครียดเรื้อรังจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคทางกายและทางจิตได้” ดร.สุดาพร กล่าว
จิตเป็นกายนายเป็นบ่าว อาการความเครียดที่แสดงในผู้สูงวัยอาจปรากฏต่อร่างกาย คือ การหายใจถี่ หายใจสั้น กล้ามเนื้อตึงเครียดทั้งบริเวณต้นคอ แขน ขา กล้ามเนื้อกระตุก ผุดลุกผุดนั่ง แบบแผนของการรับประทานอาหารและการนอนหลับเปลี่ยนแปลงไป มีความยุ่งยากในการนอนและความสนใจในสิ่งรอบตัวน้อยลง บางคนที่ป่วยมีโรคประจำตัวก็จะมีอาการเพิ่มมากขึ้น ส่วนผลต่อจิตใจได้แก่ คือ หงุดหงิด ขาดสมาธิ ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้แย่ลง แม้กระทั่งเรื่องง่ายๆ ที่เคยตัดสินใจได้ก็ทำไม่ได้ ความกลัวและกังวลเกี่ยวกับสุขภาพตนเองและบุคคลที่ตนเองรักอย่างมาก
“ทั้งๆ ที่มีผู้หายป่วยจากโรคนี้มากมาย แต่ผู้สูงอายุบางคนเชื่อว่าถ้าเป็นโรคนี้จะต้องตายแน่ๆ แล้วก็จะคิดเน้นอยู่กับสิ่งที่ตัวเองกังวล ไม่ว่าจะอธิบายให้ข้อมูลอย่างไรก็จะเลือกรับเฉพาะสิ่งที่ตัวเองเชื่อ จะตีกรอบเฉพาะเรื่องที่ตัวเองเป็นห่วง ดังนั้นบุตรหลานต้องรับฟังด้วยความเข้าใจ ให้ท่านระบายความไม่สบายใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ข้อเท็จจริง มีรูปภาพประกอบ มีหลักฐานที่เห็นแสดงถึงวิธีการป้องกัน หรือพยายามหันเหความสนใจให้ดูทีวีรายการอื่นๆ เบี่ยงเบนไปทำอย่างอื่นที่สร้างสรรค์ ทำกิจกรรมงานอดิเรกที่ชื่นชอบและปลอดภัย”
และถึงแม้ว่าผู้สูงอายุโดยปกติมักจะกลัวการเจ็บป่วยและระมัดระวังตัวเองอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีผู้สูงอายุที่ไม่ยอมฟังและดื้อดึง ทำตามใจเพราะถือว่ารู้มากกว่า ก็ต้องพยายามเข้าใจหลักการป้องกันตัวเพื่อประโยชน์ของตัวเอง
“ผู้ใหญ่บางท่านยิ่งอายุมากก็ยิ่งจะมีพฤติกรรมถดถอยเหมือนเด็ก เตือนให้กินอาหารร้อน หรือล้างมือก็จะถามว่าทำไม ดังนั้นจึงอาจจะต้องมีการอธิบาย เช่น บอกว่า ถ้าไม่ป้องกันตัวเองก็จะมีผลดีผลเสียต่อไปนี้ หากป่วยผลกระทบที่จะเกิดก็จะรุนแรงมากกว่าวัยอื่นเป็นต้น แต่ถ้าขู่ให้กลัวมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดความเครียด ความกลัวมากขึ้น จึงต้องทำอย่างพอดี เหมาะสม”
ดร.สุดาพร เสริมว่า เป็นธรรมดาของโลกที่ว่า คนเราเกิดมาต้องพบปะเจอะเจอความขัดแย้ง ภาวะวิกฤติ จึงต้องหัดเรียนรู้จัดการกับอารมณ์ความรู้สึกหรือความเครียดภายในจิตใจ แต่ในกรณี โควิด-19 นี้ เราอาจจะยังไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์ภายนอกแบบนี้ได้ เพราะเป็นเรื่องใหม่สำหรับทุกคน ดังนั้นก็ควรมาจัดการที่ตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายทันที เช่น หมั่นดูแลสุขภาพกาย ป้องกันตัวเอง สำหรับด้านสุขภาพจิต ก็รู้จักให้ “กำลังใจ” และ “ฝึกเมตตา” แก่ตนเองและครอบครัว ให้ฝ่าฝันวิกฤติและผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิกในครอบครัวไปด้วยกัน
“หากพบคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้ก็ไม่ควรซ้ำเติม แต่ให้กำลังใจแล้วก็มีการสนับสนุนให้รักษาตัว เพราะไม่มีใครอยากเป็น ไม่มีใครอยากติด มันอาจจะเป็นอุบัติเหตุในชีวิตที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน อย่าให้อาการของโรคมาสร้างความกดดันให้กับผู้ป่วยหรือผู้ที่อยู่รอบข้าง แต่ควรจะเน้นเรื่องของการดำเนินชีวิตและก็การใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างปลอดภัย ไม่แพร่กระจายเชื้อ” ดร.สุดาพร กล่าว
การตีตราแสดงความรังเกียจว่าผู้ป่วยเป็นพาหะนำโรคก็ไม่ได้ช่วยให้กระบวนการรักษาดีขึ้นกลับจะเป็นการผลักผู้ป่วยให้ออกไปเผชิญโรคตามลำพัง ผู้ป่วยก็จะยิ่งไม่กล้าบอกความจริง เพราะกลัวว่าสังคมจะไม่เข้าใจ ปกปิดประวัติแล้วก็ยิ่งทำให้คนคนรอบข้างไม่ระวังตัว ดังนั้นต้องเปลี่ยนวิธีคิดและฝึกเมตตาว่าผู้ป่วยเป็นผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ถ้าเราละเลย เขาจะไม่หายเอง ถ้าเราไม่สนใจช่วยเหลือก็จะยิ่งผลักไสเขาออกไปยิ่งทำให้เป็นปัญหามากขึ้น
การลดความเครียดในช่วงเวลากักตัวอยู่บ้าน หรือทำงานที่บ้านก็จำเป็น หลายท่านที่ทำงานนอกบ้านมาตลอดอาจจะรู้สึกอึดอัดที่ไม่ได้ออกไปเจอผู้คนอย่างที่เคยทำมาทุกวัน ดังนั้นการหากิจกรรมที่สร้างสรรค์ในบ้านทำเป็นสิ่งที่จะช่วยมากขึ้น
“ลองถามตัวเองดูว่าทำอะไรแล้วสุขภาพจิตของเราและคนรอบข้างดีขึ้น บางคนอาจชอบดูหนัง ชอบทำอาหาร เลี้ยงสัตว์ ประเด็นก็คือทำอะไรที่ทำแล้วมีความสุข ในช่วงเก็บตัวได้ก็ทำเลย อย่าไปแคร์ว่ามีสาระ ไม่มีสาระ ถ้าไม่ได้เป็นการแพร่เชื้อ รับเชื้อ ตัวเองทำแล้วมีความสุขก็ทำเลยค่ะ”
สิ่งสุดท้ายที่จะช่วยลดความเครียดก็คือการเสพข่าวอย่างมีสติ “ข่าวเกี่ยวกับ โควิด-19 มีให้ฟังทุกวัน อาจจะดูร้ายแรง ฟังแล้วเครียด เพราะเราอยู่แต่บ้านทั้งวัน ฟังแต่ข่าวร้ายไม่ได้ออกไปไหน แต่อยากให้ฟังอย่างมีสติ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ก่อนแชร์ข้อมูล ข่าวอะไรที่ทำให้เครียดก็หลีกเลี่ยง อย่าไปเชื่อไปทำตามข่าวโซเชียล หรือข่าวเท็จ สำคัญที่สุดก็คือ “อยู่บ้าน หยุดแพร่เชื้อ หยุดรับเชื้อ” เพื่อตัวเราและครอบครัวค่ะ”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้