รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 06/04/2020 นักวิชาการ: อ.ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีมาตรการปิดสถานที่สาธารณะ รวมถึงมาตรการประกาศเคอร์ฟิวทั่วประเทศห้ามประชาชนออกจากเคหสถานในเวลาตั้งแต่ 4 ทุ่ม ถึงตี 4 แต่ตัวเลขผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตในประเทศไทยก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะลดลง
นอกเหนือจากข่าวตัวเลขผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นยังปรากฏข่าวทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศที่สะท้อนถึงอาการรังเกียจผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อ หรือแม้แต่คนที่ต้องกักตัวจากการกลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ซึ่งถูกเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน และชุมชนรอบข้างรังเกียจ ยังไม่รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกตั้งแง่เรื่องความปลอดภัย และล่าสุด มีข่าววัดแห่งหนึ่งไม่รับเผาศพผู้ป่วยโควิดแล้ว
อ.ดร.หยกฟ้า อิศรานนท์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ปรากฏการณ์รังเกียจผู้ป่วยโควิด หรือแม้แต่บุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับผลกระทบไปด้วย เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ และไม่น่าแปลกใจในสถานการณ์ขณะนี้ เพราะปรากฏการณ์ปัจจุบันเป็นปรากฏการณ์แปลกใหม่ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
“เนื่องจากโรคมีต้นตอมาจากที่ประเทศจีน และเริ่มระบาดลามในทวีปเอเชียก่อน ก็จะมีเหตุการณ์เชื่อมโยงกับการเหยียดผิว เหยียดคนจีน คนเอเชีย ดังนั้นการเหยียดคนติดเชื้อก็มีความใกล้เคียงกับการเหยียดผิวลักษณะหนึ่ง ซึ่งผสมรวมกันกับความกลัวและความรังเกียจเข้าด้วยกัน”
อาจารย์หยกฟ้าวิเคราะห์ว่า สถานการณ์โรคระบาดที่มีความไม่แน่นอน และเป็นโรคใหม่ที่ไม่เคยมีคนรู้จักมาก่อนยิ่งส่งผลให้คนมีความกลัวครอบงำ เมื่อกลัวแล้วจะยิ่งเกิดอาการวิตกกังวล ระแวดระวังภัยสำหรับตัวเองมาก
“กลไกทางจิตวิทยาของมนุษย์ เพราะว่าเราเป็นสัตว์สังคมเราเลยต้องระแวดระวังภัยให้แก่คนในกลุ่มเดียวกัน ข้อมูลที่เป็นข้อมูลเชิงลบหรือเป็นข้อมูลสุดโต่งแง่ลบจะถูกนำมาเชื่อไว้ก่อน เพราะเราจะคิดถึงกรณีเลวร้ายที่สุดเพื่อเอาไว้ระวังตัว”
ขณะเดียวกัน เมื่อมีความกลัวครอบงำ ก็ยิ่งเกิดการลดคุณค่าหรือรังเกียจผู้อื่น ถึงแม้จะไม่ได้มีอาการป่วยหรือเป็นผู้ติดเชื้อก็ตาม แต่ก็ถูกรังเกียจไปด้วย ซึ่งรวมไปถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกรังเกียจ ทั้งๆ ที่สมควรได้รับการยกย่องเป็นผู้เสียสละ
“ลองมองย้อนไปช่วงที่เอดส์ระบาดรุนแรงก็มีเหตุการณ์คล้ายคลึงกันแต่ว่าในสถานการณ์นั้นๆ อาจจะพูดได้ว่ามีความรังเกียจผู้ป่วยมากกว่าความกลัว เพราะว่าไม่ได้ติดต่อกันง่ายเหมือนโควิด แต่ว่ารังเกียจเพราะผู้ป่วยโรคเอดส์มีลักษณะทางร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด เลยเกิดความรังเกียจ ขณะที่โควิดจะมีความกลัวมากกว่ารังเกียจอย่างเห็นได้ชัด แต่โดยรวมก็คือทั้งกลัวและรังเกียจผสมกันไป”
อาจารย์หยกฟ้าชี้แจงว่า ความวิตกกังวลหรือความกลัวที่เกิดขึ้นขณะนี้ในหมู่ประชาชนเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ และจะไปสั่งให้ประชาชนอย่าตระหนก หรืออย่าวิตกกังวล เป็นเรื่องยากที่จะทำ แต่สามารถลดความวิตกกังวลของประชาชนได้โดยการให้ข้อมูลที่แท้จริงโดยไม่ปกปิดข้อมูล
“ห้ามคนไม่ให้กลัวเป็นเรื่องยากนะ เหมือนคนจะร้องไห้ เราไปบอกเขาว่าห้ามร้อง หยุดร้อง ทำไม่ได้ สิ่งที่ต้องทำคือการให้ข้อมูลตรงไปตรงมา และใช้ภาษาที่ไม่ตีตรา อย่างคำว่าเอาไม่อยู่ รับมือไม่ไหว ยิ่งทำให้คนกลัว เกิดความตระหนก”
อาจารย์หยกฟ้าชี้ว่า ภาครัฐเป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลอยู่ในมือ ก็ควรจะนำข้อมูลที่มีอยู่ใช้ให้เป็นประโยชน์และสื่อสารไปในทิศทางเดียวกัน และควรใช้คำพูดอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่แสดงอาการเหยียดหยามผู้อื่น หรือใช้คำแนวกลางๆ
ในทำนองเดียวกัน มาตรการของภาครัฐที่ต้องดำเนินการให้รัดกุมมีประสิทธิภาพ อย่างเหตุการณ์เมื่อวันที่ 3 เมษายน ที่มีกลุ่มคนไทยกว่า 100 คนเดินทางมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ แต่ปฏิเสธที่จะเข้ารับการกักตัวตามมาตรการของรัฐบาลโดยอ้างว่าไม่ได้รับทราบมาตรการการกักตัวนี้มาก่อน ก็ยิ่งสะท้อนการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของภาครัฐ และทำให้ประชาชนที่อ่านข่าวเกิดความวิตกกังวล กลัวมากขึ้นไปอีก
สำหรับสื่อมวลชนเองก็ควรรายงานข่าวที่ไม่กระตุ้นเร้าอารมณ์ และไม่รายงานข่าวหรือข้อมูลเท็จ โดยเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสม ไม่ขายข่าว และไม่สร้างกระแสล่าแม่มดให้เกิดการเอาผิดหรือลงโทษคนที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคม เช่น ไม่กักตัวเอง แต่ต้องให้เกิดการสร้างจิตสำนึกด้วยตัวเอง
“อยากฝากถึงกลุ่ม Influencer หรือบรรดาแอดมินเพจต่างๆ ด้วยว่าควรทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นให้ถูกต้อง ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และควรแสดงความเห็นใจผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงคนที่หายป่วยแล้ว และไม่สร้างความกลัวให้กับประชาชน” อาจารย์หยกฟ้าทิ้งท้าย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้