รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 20/2/2017 นักวิชาการ: รศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ
จากกรณีข่าวกระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวโครงการส่งเสริมสาวไทยแก้มแดง มีลูกเพื่อชาติด้วยวิตามินแสนวิเศษที่บรรจุวิตามินธาตุเหล็กและกรดโฟลิกสำหรับหญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์ ตามนโยบายส่งเสริมการเกิดและเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ได้สร้างเสียงวิจารณ์ในโลกออนไลน์ถึงความเหมาะสม พร้อมกันนั้นก็นำมาซึ่งคำถามว่า ทำไมถึงต้องส่งเสริมให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ เด็กไทยเกิดน้อยจริงหรือไม่
รศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า จริงๆ นโยบายที่มีคนวิพากษ์วิจารณ์นี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของนโยบายส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพ ที่มีการพูดถึงเพราะว่ากระทรวงสาธารณสุขต้องการทำแคมเปญรับวันวาเลนไทน์เฉยๆ แต่จริงแล้วยังมีนโยบายส่วนอื่นที่สื่อไม่ได้เอาไปลงข่าว
อย่างไรก็ดี รศ.ดร.วิพรรณยอมรับว่า ปัญหาเด็กไทยเกิดน้อย คนไทยมีลูกกันน้อยลงเป็นเรื่องจริง และจะทวีความรุนแรงมากขึ้นอีกในอนาคต ปัญหานี้ถือเป็นปัญหาซับซ้อนและมีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับปัญหาสังคมสูงวัย คือ “คนเกิดน้อย คนตายช้า” และจะทำให้ประชากรวัยแรงงานในอนาคตลดลง
“มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้คนไม่อยากมีลูก จากการวิจัยพบว่าคนส่วนใหญ่บอกว่าไม่พร้อมเพราะเรื่องเศรษฐกิจบีบรัด แล้วก็เรื่องสังคม ปัญหาหย่าร้าง ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ มันทำให้คนไม่อยากมีลูก” รศ.ดร.วิพรรณระบุ
ทั้งนี้ก็สืบเนื่องมาจากทัศนคติค่านิยมเรื่องการแต่งงานของคนเปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนในอดีต โดยเฉพาะผู้หญิงซึ่งมีการศึกษาสูงขึ้น อยู่ในโรงเรียนนาน มีโอกาสในการทำงานมาก หลายๆ คนจึงเลือกที่จะแต่งงานช้า เป็นโสด หรือไม่ก็แต่งงานแต่ไม่ต้องการมีลูก ขณะที่สังคมยังคาดหวังบทบาททางเพศของผู้หญิงให้ต้องทำงานนอกบ้าน ดูแลเด็ก คนแก่ ก็เป็นการบีบรัดให้ผู้หญิงไม่อยากมีลูกในอีกทางหนึ่ง
“คือทุกวันนี้คนแต่งงานกันช้ามาก และตัวเลขอายุแต่งงานครั้งแรกเพิ่มขึ้นเร็วเมื่อ 5 ปีที่แล้วพบว่าสถิติเฉลี่ยของผู้หญิงแต่งงานอยู่ที่ 24 ผู้ชาย 20 แต่ทุกวันนี้กลายเป็นผู้หญิง 26 ผู้ชาย 28 คือมันเร็วมากๆ แค่ไม่กี่ปีคนแต่งงานช้าลงเยอะ” รศ.ดร.วิพรรณ อธิบาย ซึ่งมีปัญหาตามมาคือ เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้นก็จะมีลูกยากขึ้น โอกาสแท้งสูง เป็นเหตุให้คนต้องไปผสมเทียม ทำกิฟท์ หรือใช้เทคโนโลยีช่วยเหลือ
รศ.ดร.ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ รองคณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสริมว่า ในยีนของมนุษย์มีความต้องการแต่งงานและสืบพันธุ์ แต่การที่คนไม่อยากแต่งและไม่อยากมีลูก แสดงว่าสังคมมีอะไรบางอย่างที่ผิดแปลกไป
“เคยดูรายการทีวีของอเมริกา เขาก็พูดเรื่องนี้แหละเกี่ยวกับคนโสดคนแต่งงาน แล้วมันมีประโยคหนึ่งที่เราชอบมาก คือเขาพูดว่า การตัดสินใจมีลูก มันต้อง จัมพ์ ก็ จัมพ์ เลย หมายความว่าอะไรจะเกิดก็เกิด แต่ทุกวันนี้ปัญหาคือคนเราต้องคิดเยอะมากขึ้นเวลาจะมีลูก มันไม่เหมือนสมัยก่อนที่คนเขาไม่คิดมาก พ่อแม่จับแต่งก็แต่ง ไม่มีคำว่าพร้อมหรือไม่พร้อม แต่ทุกวันนี้คนพูดกันว่าไม่พร้อมเยอะมาก” รศ.ดร.ปังปอนด์กล่าว
รศ.ดร.ปังปอนด์กล่าวเพิ่มเติมว่า เรื่องการมีลูกเป็นเรื่องการลงทุนใหญ่ของชีวิต ทุกคนคิดเยอะคิดหนัก แต่ไม่ควรคิดมากเกินไป ต้องมีการให้คำจำกัดความที่ชัดเจนว่าอะไรคือ “พร้อม” ในสายตาของคู่แต่งงานที่จะตัดสินใจมีลูก แต่ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะสังคมไทยยังมีสวัสดิการและระบบการช่วยเหลือเพียงพอที่จะช่วยให้คนตัดสินใจมีลูกได้ง่าย
นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องโครงสร้างประชากรที่ทำให้คนโสด ในทางประชากรศาสตร์เรียกว่า Marriage Mismatch วัฒนธรรมไทย ผู้หญิงต้องการแต่งงานกับผู้ชายที่มีคุณวุฒิ วัยวุฒิ หรือมีอายุมากกว่า ขณะที่ผู้ชายต้องการแต่งงานกับผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าตน แต่ปัจจุบันผู้หญิงมีการศึกษาสูง กว่าจะเรียนจบและตั้งตัวทำงานก็ใช้เวลานาน ผู้ชายซึ่งมีตัวเลือกมากกว่าก็จะเลือกผู้หญิงที่มีอายุน้อยแทน
สองนักวิชาการจากวิทยาลัยประชากรศาสตร์ยอมรับว่า ปัญหาสูงวัยควบคู่กับปัญหาคนโสด เป็นปัญหาทางประชากรศาสตร์ที่ประเทศทั่วโลกแก้ไขได้ยากมาก แม้แต่ประเทศฝั่งตะวันตกที่พัฒนาแล้วก็ยังทำได้เพียงชะลอ เช่น สวีเดน มีระบบสวัสดิการครบถ้วน แต่อัตราการเกิดของเด็กก็ลดลงช้าๆ เรื่อยมา
“พูดตรงๆ คือ มันก็เป็นความผิดพลาดของนโยบายประชากรไทยเมื่อ 10 ปีก่อน คือตอนนั้นเราต้องการลดอัตราเกิด มีนโยบายคุมกำเนิดเยอะมาก แล้วมันก็ลดลงจริง แต่เราก็ไม่ได้ทำอะไรต่อ ปล่อยนโยบายเว้นว่างจนตอนนี้เด็กเกิดน้อย ทุกวันนี้ข้อมูลประชากรที่ครบถ้วนครอบคลุมก็ไม่ค่อยมี” รศ.ดร.วิพรรณกล่าว
ขณะที่การแก้ปัญหาเรื่องนี้อาศัยเพียงหน่วยงานเดียวในการแก้ไขก็คงเป็นไปไม่ได้ ต้องมีการวางแผนระบบสวัสดิการ เงินช่วยเหลือ การลาหยุด การปลูกฝังทัศนคติ ต้องมีการอบรมก่อนแต่งงานเกี่ยวกับการวางแผนชีวิตถึงการมีครอบครัว นอกเหนือไปจากการเรียนเพศศึกษา เพราะการตัดสินใจมีลูกเป็นการวางแผนทั้งชีวิต นอกจากนี้สื่อก็ควรเข้ามามีบทบาทสร้างภาพลักษณ์ครอบครัวตัวอย่าง
“คือรัฐไม่ควรมองว่าเด็กที่เกิดใหม่เป็นปัจจัยการผลิต ต้องมองว่าเขาเป็นศักยภาพของประเทศ คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ ต้องทำให้ดี ให้ประชากรเกิดใหม่มีคุณภาพทุกราย ไม่ใช่มองที่จำนวน ส่วนพ่อแม่เองก็อย่ามองว่าลูกเป็นต้นทุนที่ต้องรับภาระเพียงอย่างเดียว” รศ.ดร.ปังปอนด์สรุป
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้