รู้ลึกกับจุฬาฯ

พลังงานไทยไปทางไหนดี

ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ข่าวที่ร้อนแรงในหน้าหนังสือพิมพ์และโซเชียลมีเดียมากที่สุดคงหนีไม่พ้นกรณีประท้วงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ จนนำไปสู่การจับตัวแกนนำผู้ชุมนุมที่มารวมตัวกันหน้าทำเนียบรัฐบาล ก่อนที่จะปล่อยตัวในเวลาต่อมาหลังจากรัฐบาลมีมติยอมทำตามข้อเรียกร้องและมีนโยบายจัดทำการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ใหม่

จากประเด็นปัญหานี้นำมาซึ่งคำถามที่หลายคนอาจสงสัยว่าสถานการณ์พลังงานของไทยเป็นอย่างไร และเพราะเหตุใดถึงต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มอีก

รศ.ดร.กุลยศ อุดมวงศ์เสรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ไทยมีศักยภาพผลิตไฟฟ้าสูง คือมีพลังงานสำรองรวมทั้งประเทศมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ แต่หากพิจารณาตามรายภาคจะพบว่า บางภาคที่ผลิตพลังงานได้มากกว่าหรือเท่ากับพลังงานที่มีการใช้

นั่นคือภาคกลางกับตะวันออก มีความสามารถในการผลิตและความต้องการใช้ราว 15,000 เมกะวัตต์ และภาคใต้ซึ่งมีความต้องการใช้และความสามารถในการผลิตไฟฟ้าราว 2,500 เมกะวัตต์ แต่ด้วยลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้จะทำให้มีปัญหาด้านพลังงานมากกว่าภาคอื่นๆ

“ภาคอื่นเขาผลิตได้มากกว่าใช้ มีอยู่ 2 ภาคที่ความต้องการใช้มากกว่าหรือหมิ่นเหม่ที่ผลิตได้คือภาคกลาง/ตะวันออก และภาคใต้ แต่ลักษณะถูมิประเทศของภาคกลาง ถ้าไฟฟ้าไม่พอก็ไปเชื่อมเอาไฟฟ้าที่ภาคอื่นผลิตเกินมาใช้ได้ แต่ภาคใต้เชื่อมได้แค่ภาคตะวันตกที่เดียวมันเสี่ยง” รศ.ดร.กุลยศกล่าว

เคยมีเหตุการณ์ที่ภาคใต้ไฟดับ 10 ชั่วโมงเพราะเส้นทางเชื่อมจากภาคตะวันตกถูกฟ้าผ่า สายไฟขาด เรียกได้ว่ามีสายส่งเพียงเส้นทางเดียวทำให้มีสภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการขาดแคลนพลังงานมากกว่าภาคอื่นๆ ดังนั้นเมื่อรัฐบาลมีการพัฒนาด้านพลังงานก็มักจะ พิจารณาภาคใต้เป็นตัวเลือกแรก

รศ.ดร.กุลยศ กล่าวว่า ความต้องการการใช้ไฟฟ้าของไทยเติบโตขึ้นร้อยละ 5 ทุกปี ตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่การพึ่งพาพลังงานของไทยปัจจุบันพบว่ามีสัดส่วนการใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ถ่านหินลิกไนต์และถ่านหินบิทูมินัส อยู่ที่ร้อยละ 20 ส่วนพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ร้อยละ 6

“เราใช้พลังงานฟอสซิล หรือจากก๊าซธรรมชาติเยอะ เพราะเราไปขุดพบเจอในอ่าวไทย คราวนี้พอใช้นานๆ เข้ามันก็เริ่มไม่พอ ต้องนำเข้าจากพม่า ซึ่งราคาแก๊สเหลวก็แพงขึ้น ทำให้เราต้องหันไปใช้พลังงานอื่นๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง ตัวเลือกที่มีเลยมาลงที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน เพราะไม่ควรไปเพิ่มโรงไฟฟ้าก๊าซอีก” รศ.ดร.กุลยศอธิบาย

รศ.ดร.กุลยศบอกว่า มีการพูดคุยถึงพลังงานนิวเคลียร์ แต่ข้อสรุปบอกว่าไทยยังไม่พร้อมในขณะนี้เพราะเห็นบทเรียนจากญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีวินัยและมีเทคโนโลยีสูงก็ยังเกิดปัญหา ส่วนพลังงานทางเลือกที่หลายคนสนับสนุนเพราะเห็นว่าปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งเฉยเพราะมีการใช้มากถึงร้อยละ 6 แต่คำถามคือจะให้เป็นพลังงานหลักของประเทศได้หรือไม่

“คือถ้าพูดถึงในอนาคต เทคโนโลยีที่พัฒนาแล้วก็เป็นไปได้ แต่ ณ ปัจจุบันที่เรากำลังมีปัญหาเร่งด่วนภาคใต้ไฟไม่พออาจจะไม่ทันการ เรายังพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนได้ไม่เต็มที่” รศ.ดร.กุลยศกล่าว พร้อมยกตัวอย่างพลังงานหมุนเวียนต่างๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ก็มีข้อจำกัดคือสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้แค่ตอนกลางวัน แต่ภาคใต้มีการใช้ไฟสูงสุดในเวลาหัวค่ำ จะทำอย่างไร

ขณะที่ฝั่งพลังงานลม ก็พบว่าไทยไม่ได้มีลมแรงต่อเนื่องเหมือนในยุโรปเหนือและจีน ลมในไทยมาเป็นพักๆ และผลิตไฟฟ้าได้ชั่วขณะ ส่วนพลังงานชีวมวล เช่นจากการหมักน้ำเสีย หมักขยะ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรก็ต้องอาศัยเชื้อเพลิงที่ป้อนตลอดเวลา ต้องมีเชื้อเพลิงที่เพียงพอ ไทยอาจจะต้องปลูกพืชพลังงานสำหรับเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งจะแย่งพื้นที่ชลประทานพืชอาหารด้วย

“ต้องบอกว่าเทคโนโลยีปัจจุบันเราทำได้แค่โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนได้แค่โรงเล็กๆ ผลิตไฟฟ้าได้แค่ 6-10 เมกะวัตต์ ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินเราสร้างโรงเดียวผลิตทีเป็น 1,000 เมกะวัตต์ได้ ดูแลรักษาโรงเดียวก็ง่ายกว่าจัดการเป็นร้อยโรง” รศ.ดร.กุลยศอธิบาย

กระนั้นก็มีข้อระมัดระวังที่หลายคนกังวล ซึ่ง รศ.ดร.กุลยศ ระบุว่า การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินมีหลายคนกังวลเรื่องคุณภาพและผลกระทบ แต่เทคโนโลยีทันสมัยมีวิธีทำให้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลดลง และต้องเป็นถ่านหินบิทูมินัสเพราะมีคุณภาพสูงกว่าลิกไนต์ อย่างไรก็ตาม ก็ควรควบคุมอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะขั้นตอนขนส่งเชื้อเพลิง

รศ.ดร.กุลยศ บอกว่า ไม่มีประเทศใดในโลกพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงเพียงชนิดเดียว เพราะเรื่องพลังงานถือเป็นยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของประเทศ ควรกระจายความเสี่ยงให้หลากหลายและรับมือกับเหตุไม่คาดฝัน เช่นการขาดแคลนเชื้อเพลิงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ก็รอช้าไม่ได้ ควรยอมรับข้อผิดพลาดในอดีตเพื่อปรับปรุงทำให้ดีขึ้นในอนาคต เพราะหากปล่อยไว้ต้นทุนความเสี่ยงของประเทศจะสูงขึ้นอย่าง

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า