รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 7/4/2017 นักวิชาการ: ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 สำนักข่าวหลายแห่งพากันระบุว่า มีรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติเห็นชอบกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเพิ่มเติมที่จะต้องมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 จากเดิมที่มีแต่บุคคลดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และข้าราชการการเมืองฝ่ายต่างๆ
แต่ประกาศฉบับใหม่กำหนดให้บุคคลในตำแหน่ง เช่น รองอธิการบดี ปลัดเทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล องค์กรปกครองส่วนจังหวัด รวมถึงบุคคลในระดับผู้บริหารของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่น จเรตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ฯลฯ โดยระบุต่อท้ายประกาศฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายนเป็นต้นไป และให้บุคคลเหล่านี้แสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. ได้ในระหว่างวันที่ 3 เมษายน – 2 พฤษภาคม ปีนี้
อย่างไรก็ดี ภายหลังมีประกาศฉบับใหม่จาก ป.ป.ช. ออกมา สำนักข่าวหลายแห่งพากันระบุว่า มหาวิทยาลัยมหิดล มีคำสั่งที่ 976/2560 เรื่องให้พนักงานของมหาวิทยาลัยลาออกจากตำแหน่งผู้บริหาร ซึ่งระบุว่า รองอธิการบดีทั้ง 13 คน ของฝ่ายต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมีความประสงค์ที่จะลาออกจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม เป็นต้นมา และมหาวิทยาลัยก็มีแถลงการณ์ข้อเท็จจริงว่าคาดว่าการลาออกน่าจะเกี่ยวข้องกับการที่ให้รองอธิการบดีต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน เพราะเกิดความยุ่งยากและขัดข้องในการบริหาร ที่สำคัญไม่ทราบเงื่อนไขก่อนมาดำรงตำแหน่ง และไม่ได้เป็นการกลัวการตรวจสอบ แต่รู้สึกไม่เป็นธรรมกับผู้ปฏิบัติงาน
จากการสัมภาษณ์ ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ก็เข้าใจได้ว่าที่รองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้ง 13 คนลาออกนั้นเกิดจากความคับข้องใจ เพราะกฎหมายให้แสดงทรัพย์สินออกมาจากการแต่งตั้งรองอธิการบดีเรียบร้อยแล้ว อาจมีความจำเป็น เช่น ไม่สะดวก หรือไม่สบายใจที่ต้องมีการยื่นแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน
อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของ ศ.ดร.ไชยันต์ เชื่อว่า การแสดงบัญชีทรัพย์สินก็ไม่น่าจะเสียหายตรงไหน และยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างความมั่นใจโปร่งใสให้แก่ประชาชนได้ และจะทำให้ประชาชนรู้สึกพอใจเสียด้วยซ้ำ
“ผมว่าการที่รองอธิการบดีทั้ง 13 คนลาออก แล้วมีการแต่งตั้งรักษาการรองอธิการบดีโดยใช้คน ที่ลาออกไปมารักษาการ มันทำให้แย่ต่อภาพลักษณ์ของมหิดล มันอาจทำให้คนสงสัยหรือเปล่าว่าคนที่ลาออกไป ลาออกเพราะต้องการเลี่ยงบาลี ไม่อยากแสดงทรัพย์สินหรือเปล่า การทำแบบนี้ยิ่งทำให้สังคมตั้งข้อสงสัย และสรรพากรก็สามารถสืบย้อนหลังได้อยู่ดี” ศ.ดร.ไชยันต์ ระบุ
ศ.ดร.ไชยันต์ กล่าวว่า ขั้นตอนการแสดงทรัพย์สินไม่ได้เป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากหรือเสียเวลามาก มีข้อมูลจากเวบไซต์ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุว่า ผู้ที่มีหน้าที่ต้องแสดงทรัพย์สินและหนี้สินต่อ ป.ป.ช. ต้องแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะที่มีอยู่จริงทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งทรัพย์สินที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น หรือที่ให้บุคคลอื่นถือแทน
“ผมคิดว่าคนที่ทำงานฝ่ายบริหารควรโปร่งใส ยิ่งคนที่ต้องดูส่วนงบประมาณ หรือมีความเกี่ยวข้องกับงบประมาณก็ควรมีการตรวจสอบ มีปัญหาก็ดูก่อน-หลังทำงาน ถ้าพบว่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นและอธิบายไม่ได้ก็คงถูกยึดไปตามขั้นตอนตรวจสอบของ ป.ป.ช.” ศ.ดร.ไชยันต์ กล่าว
ล่าสุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในมหาวิทยาลัยมีการพูดคุยถึงรองอธิการบดี ทั้ง 9 คนเรียบร้อยแล้ว และไม่มีใครต้องการลาออก แต่สิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนคือการเตรียมการเอกสารภายใน 30 วันนี้ เพราะที่ผ่านมาไม่ได้มีการจัดระเบียบเอกสาร แต่อธิการบดีของจุฬาฯ จะเข้ามาให้คำแนะนำและช่วยจัดการให้บางส่วน
อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่ ศ.ดร.ไชยันต์ ย้ำคือ การออกกฎหมายให้มีการแสดงทรัพย์สิน ควรทำอย่างมีมาตรฐานและครอบคลุมทุกฝ่าย ยิ่งในรัฐบาลที่มีทหารดำรงตำแหน่งสำคัญ รวมถึงฝ่ายบริหารของกองทัพ ก็ควรมีการแสดงบัญชี และแจกแจงรายละเอียดทรัพย์สินด้วย
“มันควรจะเป็นกฎหมายที่ต้องให้ทุกคนอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน เช่น เป็นทหารที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง หรือฝ่ายบริหารของกองทัพก็ควรมีส่วนนี้เข้ามาควบคุม” ศ.ดร.ไชยันต์ กล่าว และระบุว่า คงต้องดูท่าทีของ ป.ป.ช. ต่อไปว่าจะมีแถลงการณ์หรือประกาศอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีของการแสดงทรัพย์สินในฝ่ายกองทัพด้วย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้