รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 12/6/2017 นักวิชาการ: ศ.สุริชัย หวันแก้ว คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ตกเป็นเป้าให้ชาวโลกวิพากษ์วิจารณ์กันอีกครั้งหลังจากประกาศจุดยืนว่าสหรัฐขอถอนตัวออกจากกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือที่เรียกกันว่า ข้อตกลงปารีส ที่เกิดจากความร่วมมือของ 195 ประเทศลงนามร่วมกันเมื่อปี 2559
ทั้งนี้ ข้อตกลงปารีสระบุว่า ประเทศลงนามต้องช่วยกันรักษาไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเกินกว่า 2 องศา และกำหนดว่า ประเทศร่ำรวยต้องนำเงินมาสนับสนุนช่วยเหลือประเทศยากจนในการพัฒนาเทคโนโลยี รับมือกับสภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ สำนักข่าวต่างประเทศพากันระบุว่าเหตุผลสำคัญที่ทรัมป์ไม่พอใจข้อตกลงนี้ก็เพราะเรื่องเงินสนับสนุนเป็นสำคัญ แต่ก็มีบางข่าวบอกว่าตัวทรัมป์เองก็เคยพูดปราศรัยว่าเขาไม่เชื่อว่าโลกร้อนมีอยู่จริง เป็นการกุข่าวเพื่อทำลายสหรัฐเท่านั้น
ศ.สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง และอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่าปรากฏการณ์ทรัมป์ถือว่าแปลกประหลาดและพิสดาร เพราะในมิติสังคมโลกทุกคนดูจะเชื่อและยอมรับว่าปรากฏการณ์โลกร้อนเกิดขึ้นจริง และได้สร้างผลกระทบมาแล้ว มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มายืนยัน การบอกว่าโลกร้อนไม่มีจริงจึงเป็นเรื่องที่ทำให้คนอึ้ง
“เวลาพูดเรื่องโลกร้อนมีหลายแบบ วิธีหนึ่งคือพูดแบบตื่นตูม พูดให้น่ากลัว เพราะต้องการให้คนสนใจ แต่มันไม่เกิดการสร้างการถกเถียงแบบวิทยาศาสตร์ คนเลยรู้สึกว่ามันเว่อร์นี่หว่า มาหลอกหรือเปล่า ทรัมป์เองก็ใช้กระแสตรงนี้เข้ามาโหมอารมณ์” ศ.สุริชัยกล่าว
ทั้งนี้ การปฏิเสธเรื่องโลกร้อนของทรัมป์สอดรับเป็นอันดีกับแคมเปญ Make America Great Again ที่แพร่หลายในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีก่อนหน้านี้ ศ.สุริชัย ชี้ว่า เมื่อทรัมป์มีแนวคิด “เรายิ่งใหญ่ จะไปทำตามทำไม”เลยไม่ต้องการทำตามข้อตกลงปารีสที่เชื่อว่าตนเองเสียผลประโยชน์ ทำไมสหรัฐต้องรับผิดชอบทั้งโลก ขณะเดียวกันก็โหนกระแส ชาตินิยมเนื่องด้วยความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจภายในประเทศมาเป็นเครื่องมือโจมตีชาติอื่นๆ
“ทรัมป์ใช้ประเด็นโดนใจผู้คนมากกว่าใช้เหตุผลหรือคำอภิปรายของนโยบายโลก ยิ่งเศรษฐกิจของสหรัฐไม่ดี ก็โหนกระแสว่าชาตินู้นชาตินี้ทำไม่ดีกับสหรัฐ เลยทำให้เศรษฐกิจแย่ เขาไม่โทษตัวเอง พออเมริกาทำแบบนี้ โลกก็ต้องปรับตัว” อย่างที่สำนักข่าวหลายเจ้าวิเคราะห์ไว้ว่าต่อไปนี้สหรัฐจะสูญเสียอำนาจในการเป็นผู้นำด้านพลังงานยั่งยืน และการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม
ศ.สุริชัย ยังบอกอีกว่า ความคืบหน้าในอุตสาหกรรมทางเลือกของโลกโตขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่อุตสาหกรรมพลังงานฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมันลดต่ำลง สะท้อนว่าโลกกำลังก้าวไปในทิศทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การที่อเมริกาประกาศถอนตัวอาจส่งผลให้จีนขึ้นมาเป็นผู้นำด้านพลังงานทางเลือกแทน
“ก่อนเซ็นข้อตกลงปารีส เขาต้องมีแคมเปญประกาศว่าจะทำเรื่องสิ่งแวดล้อมมาก่อน ซึ่งจีนเขาทุ่มเท ทำเยอะมากเพราะเขามีปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม มีกรณีถ่านเหมือนถล่มเขาเลยอยากเปลี่ยนไปทำพลังงานในแนวที่มั่นคงและยั่งยืนกว่า” ศ.สุริชัยอธิบาย
และองค์กรสหประชาชาติก็มีฝายคอยติดตามดูว่าแต่ละประเทศทำตามข้อตกลงปารีสด้วยหรือไม่ มีนักวิทยาศาสตร์ นักสังคมศาสตร์คอยดูผลการวิจัย ดูสถิติ และสำรวจเป็นระยะว่าเพื่อวัดว่าแต่ละประเทศมีความน่าเชื่อถือ หรือความจริงจังในการแก้ปัญหาโลกร้อนแค่ไหน
อย่างไรก็ตาม ศ.สุริชัย วิเคราะห์ว่าการป่าวประกาศถอนตัวของอเมริกา คงไม่จุดชนวนให้ประเทศอื่นๆ พากันถอนตัวตามไปด้วย เพราะหลังจากที่ทรัมป์ถอนตัวได้เพียง 24 ชั่วโมง สหภาพยุโรปก็โต้ตอบว่าผิดหวังแต่ไม่เห็นว่าจะต้องเจรจารอบใหม่กับสหรัฐ
ศ.สุริชัย อธิบายเพิ่มเติมว่า “ไม่มีคนคนเดียวเปลี่ยนทิศทางของสหรัฐได้” แม้จะเป็นประธานาธิบดีก็ตาม เพราะสหรัฐมีการกระจายอำนาจในต่ละมลรัฐ แต่ละแห่งมีอำนาจการตัดสินใจสูง และมีรายงานข่าวว่า รัฐบางแห่ง เช่น แคลิฟอร์เนีย ก็แสดงจุดยืนต่อต้านการถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีสของสหรัฐ และมีกรณีที่ปรึกษาของทำเนียบขาวประกาศลาออกเรียบร้อยแล้ว
“เรียกได้ว่าโลกกำลังขยับไปทางพลังงานสีเขียว การจ้างงานในส่วนนี้ก็เพิ่มสูงขึ้นมาก ส่วนฝั่ง พลังงานฟอสซิลก็ลดลงชัดเจน” ศ.สุริชัยกล่าว แต่เมื่อย้อนกลับมาดูที่ฝั่งไทยก็พบว่าแนวนโยบายพลังงานแบบยั่งยืนยังไม่ค่อยชัดเจนเท่าใดนัก ศ.สุริชัย ระบุว่า ไทยมีการลงนามข้อตกลงปารีสรวมถึงข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ก็จริง แต่ไทยก็ยังให้น้ำหนักกับพลังงานฟอสซิลมาก อย่างที่ปรากฏในกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินใน จ.กระบี่ และยังมีความเชื่อว่า พลังงานทางเลือกเป็น “อาหารเสริม” เท่านั้น
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้