รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 19/6/2017 นักวิชาการ: รศ.ดร.ณัฐพร พานโพธิ์ทอง คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวการทะเลาะกันในวงการบันเทิงที่เริ่มต้นจาก “บุ๋ม” ปนัดดา โพสต์ข้อความในอินสตราแกรมส่วนตัว และเกิดกระทบกระทั่งกับครอบครัวของบี้ เคพีเอ็น และ “กุ๊บกิ๊บ” สุมณทิพย์ ทำให้บุ๋มต้องออกมาชี้แจง ขณะเดียวกันฝั่งบุ๋มเองก็มีการทิ้งท้ายข้อความในโลกออนไลน์ว่า “ส่วนพี่ก็ยังจะตามดูเป่าเปาต่อไป มันน่ารักมากกกก” ซึ่งสร้างความไม่พอใจแก่บี้ ซึ่งเป็นคุณพ่อของน้องเป่าเปา ดาราเด็กชื่อดัง
ฝั่งบี้มีการโพสต์ข้อความโต้ตอบว่า “กรุณาอย่าเรียกลูกผมว่ามัน เกรงว่าจะไม่เหมาะสม เป่าเปาเป็นเด็กครับ” ทำให้ต่อมาบุ๋มต้องลงข้อความขอโทษทั้งครอบครัวนี้อีกครั้ง เหตุการณ์นี้สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์ รวมถึงเว็บบอร์ดต่างๆ พร้อมตั้งคำถามว่า การใช้สรรพนามว่า “มัน” ถือว่าสุภาพไหม
รศ.ดร.ณัฐพร พานโพธิ์ทอง หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งก็ได้ติดตามข่าวนี้เช่นกันได้อธิบายความเป็นมาของสรรพนาม หรือคำเรียกแทนคำนามในภาษาไทยว่ามีความซับซ้อน และมีมิติเชิงสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ใช้บอกอายุ ใช้แทนความสนิทสนม ให้เกียรติผู้ที่พูดด้วย เป็นต้น
“สมมติว่าเราไปเดินห้างพารากอน พนักงานขายของจะเรียกเราว่าคุณผู้ชาย คุณผู้หญิง แต่ถ้าไปเดินมาบุญครอง เขาจะเรียกเราว่าพี่ ซึ่งไม่ได้แปลว่า ไม่สุภาพ แต่มาบุญครองต้องการสร้างความสนิทสนม ส่วนพารากอนต้องการยกย่องให้เกียรติ สรรพนามใช้ทำแบบนี้ได้”
สรรพนามจึงเป็นการแสดงวิธีคิด หรือแนวคิดของคนไทยว่าเรากำหนดว่าตัวเราและผู้ที่สนทนาด้วยอยู่ในสถานะใด นอกจากนี้ก็ยังมีสรรพนามทางการ ได้แก่ ดิฉัน หรือกระผม ซึ่งถือว่าแตกต่างจากภาษาอังกฤษ ที่มีสรรพนามน้อยคำอย่าง “I You He She It”
“ถ้าให้อธิบายเชิงลึกเลย อิงจากงานวิจัยของ อ.กฤษดาวรรณ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ท่านอธิบายไว้ว่าการใช้สรรพนามของคนไทยเป็นแนวคิดแบบพุทธ คือการ ดำรงอยู่ของเราขึ้นอยู่กับผู้อื่น ตัวตนของเราแปรไปตามว่าเราคุยกับใคร ไม่ได้เหมือนของฝรั่ง ดังนั้นสรรพนามของไทยเราถึงมีคำว่า พี่ น้อง หนู ลูก สะท้อนว่าตอนนี้เรากำลังคุยกับใคร” รศ.ดร.ณัฐพรกล่าว
สรรพนามของไทยจึงมีลักษณะลื่นไหลไม่ตายตัว ซึ่ง รศ.ดร.ณัฐพรอธิบายว่า เรื่องนี้สร้างความสับสนแก่ชาวต่างชาติและนักวิชาการที่ศึกษาภาษาไทยมาก ยกตัวอย่างเช่น คำว่า “เรา” สามารถใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 ในรูปเอกพจน์แทนคนเดียว หรือพหูพจน์ แทนกลุ่มหมายถึงพวกเรา และใช้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 ได้ อย่างประโยคที่พูดกับเด็กว่า “เราเป็นไงบ้าง สบายดีหรือ”
หรือแม้แต่กรณีของคำว่า “เขา” “เค้า” ที่เข้าใจกันว่าเป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้เรียกผู้อื่นเท่านั้น ก็สามารถใช้เรียกตัวเองได้เช่นกัน เช่น “เค้าชอบกินของหวาน” เป็นต้นส่วนกรณีการปะทะกันของ “บุ๋ม” ปนัดดา และบี้เคพีเอ็น เป็นกรณีของสรรพนาม “มัน” ซึ่ง รศ.ดร.ณัฐพรอธิบายไว้ว่า สรรพนามนี้เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 ไม่ควรใช้หากผู้สนทนาด้วยไม่สนิทสนม หรือมีระยะห่างพอสมควร
“ในภาษาการสนทนาที่มีการใช้คำว่า ‘มัน’ สามารถใช้ในแง่ลบได้ สมมติพูดว่า ‘วันนี้ข้างบ้านจัดงานปาร์ตี้’ ก็ดูกลางๆ ไม่มีอะไร แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น ‘วันนี้ข้างบ้านมันจัดงานปาร์ตี้’ แสดงได้ว่าเราไม่พอใจอะไรบางอย่าง ปาร์ตี้ ที่เพื่อนบ้านจัดกระทบเราแน่ๆ” รศ.ดร.ณัฐพรอธิบาย
อย่างไรก็ดี สรรพนาม “มัน” ก็มีใช้ในเชิงบวกได้ ซึ่ง รศ.ดร.ณัฐพร ชี้ว่า ถ้าเป็นกรณีผู้ใหญ่พูดถึงเด็กด้วยความเอ็นดู หรือการแสดงความสนิมสนม ก็น่าจะไม่มีปัญหาอะไร เช่นเดียวกับกรณีสรรพนามคำว่า “แก” ที่หลายคนอาจมองว่าไม่สุภาพ แต่การใช้ในบริบท เช่น “อาจารย์แกไม่สบาย” และพูดด้วยความสนิทสนม หรือแสดงความเป็นห่วง ก็ไม่น่าจะเสียหายอะไรมากนักกรณีขัดแย้งระหว่าง “บุ๋ม” ปนัดดา และครอบครัวของบี้ เคพีเอ็น จึงน่าจะมีสาเหตุอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
“เดาว่าคนพูดคงพูดด้วยความเอ็นดู แต่พ่อแม่ไม่แฮปปี้อาจเป็นเพราะเขาไม่สนิทกัน หรือมีกรณีอะไรเขามากระทบทั้งสองฝ่าย เลยกลายเป็นว่าไม่ให้เกียรติ เพราะถ้าดูจากเนื้อความการสนทนาแล้วก็ไม่น่าจะมีความหมายด้านลบ ‘มัน’ ที่คุณบุ๋มพูดก็ไม่ได้ไม่สุภาพขนาดนั้น” รศ.ดร.ณัฐพรวิเคราะห์
ปัญหาที่แท้จริงอาจจะเป็นเรื่องอื่น ไม่ใช่สรรพนาม เช่น กรณีความขัดแย้งทางโซเชียลมีเดียที่ใช้ภาษาสื่อความคิดไม่ดี หรือใช้ภาษาสื่อไม่ได้ดั่งใจนึก โดยมีสรรพนามเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ความขัดแย้งน่าจะเป็นเรื่องอื่นที่มีความละเอียดอ่อนมากกว่า
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้