รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 26/6/2017 นักวิชาการ: รศ.ดร.วิชิต คนึงสุขเกษม คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาฯ
ข่าวใหญ่ในวงการกีฬาที่สร้างสุขและความภูมิใจให้แก่คนไทยทั้งชาติในเวลานี้ คือ “โปรเม” เอรียา จุฑานุกาล นักกอล์ฟหญิงชาวไทยวัย 21 ปี ผู้คว้าแชมป์มานูไลฟ์ แอลพีจีเอ คลาสสิก เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และหลังจากมีการจัดอันดับนักกอล์ฟหญิง ปรากฏว่าโปรเม ขึ้นแท่นนักกอล์ฟหญิงมือหนึ่งของโลก
“โปรเม” นับเป็นกีฬามืออาชีพรุ่นใหม่ที่กำลังเดินตามรอยนักกีฬาชาวไทยอย่าง “บอล” ภราดร ศรีชาพันธุ์ นักเทนนิส หรือ “วิว” เยาวภา บุรพลชัยนักเทควันโด รวมถึง “เมย์” รัชนก อินทนนท์ นักแบตมินตันที่เคยสร้างกระแสกีฬาฟีเวอร์ จนมีพ่อแม่หลายคนพาลูกไปเรียนกีฬามาแล้ว
รศ.ดร.วิชิต คนึงสุขเกษม อดีตคณบดีคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอธิบายสิ่งที่เหมือนกันระหว่างครอบครัวของโปรเมกับนักกีฬารุ่นพี่อย่างภราดร คือเริ่มต้นจากการผลักดันของครอบครัว จนประสบความสำเร็จ
“ผมรู้จักครอบครัวศรีชาพันธุ์มาก่อน เริ่มต้นพ่อเขาเห็นลูกมีแววเทนนิส เลยเสี่ยงโชคย้ายลูกมาเรียนใน กทม. จากเดิมอยู่ที่ขอนแก่นยังไม่รวมต๋อง ศิษย์ฉ่อย อะไรพวกนี้ คือพ่อแม่เขาซื้อโต๊ะสนุ้กให้ลูกเล่นตั้งแต่เด็กเลย” รศ.ดร.วิชิตกล่าว
สำหรับโปรเม มีจุดเริ่มต้นจากพ่อขายอุปกรณ์กอล์ฟ ตอนเล็กๆ จึงได้เข้าไปคลุกคลีและไปเล่นกีฬาด้วย ต่อมาพ่อแม่เห็นว่าลูกสาวทั้งสองคนทั้งเมและโม (พี่สาว) มีแวว เลยส่งไปเรียนกอล์ฟ ซึ่ง รศ.ดร.วิชิต บรรยายแบบติดตลกถึงกระบวนการหลังจากนั้นว่า “บ้าเลือดมาก”
“ผมเคยอ่านบทสัมภาษณ์ของพ่อเขา คือถึงขั้นขายรถขายบ้าน เอาเงิน 20 ล้านพาลูกซ้อม ทัวร์ ไปเรียนกอล์ฟกับโปรต่างชาติ ค่าเรียนชั่วโมงละเป็นพันเหรียญ จ้างนักจิตวิทยากีฬามาบำบัดสภาพจิตใจเวลาแข่ง ตัวโปรเมเองก็เคยสัมภาษณ์ว่าพ่อขายหมดทุกอย่าง เหมือนหลังพิงฝาต้องทำให้ได้ เลยมีความมุ่งมั่นมานะจนมีทุกวันนี้” รศ.ดร.วิชิตกล่าว +
ความสำเร็จของโปรเม จึงเกิดจากการมองการณ์ไกลของครอบครัว และความเชื่อมั่นของพ่อแม่ที่มีต่อตัวลูก อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าพ่อแม่ทุกคนจะสามารถสนับสนุนลูกได้ถึงขนาดนี้ ถ้าไม่มีเงินสนับสนุนจริงๆ จะเป็นเรื่องยาก
รศ.ดร.วิชิตชี้ว่าการ“เห็นแวว”เด็กจะต้องเริ่มต้นมาตั้งแต่เด็กมีอายุน้อยๆ ต้องมีผู้จัดการ หรือที่เรียกว่า “แมวมอง” คอยดูเด็กที่มีศักยภาพ และสนับสนุนให้ใช้ชีวิตเส้นทางนักกีฬาได้อย่างเต็มที่ แต่ระบบเหล่านี้ วงการกีฬาของไทยยังขาด ทั้งในเชิงการคัดเลือก หรือ“เห็นแวว”เด็ก การฝึกฝน รวมไปถึงการสนับสนุนด้านองค์ความรู้เทคโนโลยีอุปกรณ์ต่างๆ
“อย่างจีนเนี่ยเป็นประเทศที่หวังสูง ต้องการเป็นแชมป์โลก ดังนั้นเขาจะคัดเด็ก ฝึกเด็กเคี่ยวมาก มีโรงเรียนกีฬาเยอะแทบทุกมณฑล เข้ามาเรียนจบมัธยมปุ๊บก็เข้ามหาวิทยาลัยกีฬาต่อได้เลย ส่วนของไทยผมไม่แน่ใจว่าโรงเรียนกีฬาเราจะเข้มข้นมากขนาดนั้นหรือเปล่า” รศ.ดร.วิชิต อธิบาย
ขณะเดียวกัน การพัฒนาด้านองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การกีฬาของไทยก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร แม้ว่าจะมีการพัฒนาขึ้นในด้านสถาบันการศึกษาต่างๆ มีการเปิดวิชาการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์การกีฬามากขึ้นจริงแต่เป็นการเปิดสอนโดยที่ไม่ได้สอนให้รู้ลึก บางสถาบันเองก็ไม่มีเครื่องมือเพียงพอ และงานวิจัยที่เกิดขึ้นก็ไม่สามารถเอามาใช้ได้จริง
“ผมเสนอว่าทางการกีฬาแห่งประเทศไทยควรจะต้องตั้งโปรเจคพิเศษขึ้นมาเพื่อ groom เด็กให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น ต้องฝึกฝนจริงจังจากโค้ชที่มีความสามารถ คือต้องมีงบประมาณพิเศษขึ้นมาเพื่อเด็กที่มีพรสวรรค์ มีความสามารถจริงๆแล้วโครงการแบบนี้ต้องไม่ลูบหน้าปะจมูก ต้องเป็นแผนระยะยาว ของโปรเมนี่ใช้เวลาเป็น 10 ปีถึงจะเห็นผล เราต้องมีคนทำ คน groom เด็กและติดตามผล” รศ.ดร.วิชิต อธิบาย
อย่างกรณีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเองก็มีโควตาคัดเลือกนักกีฬาหรือเด็กที่มีเกียรติประวัติทางด้านกีฬาดีอยู่ทุกปี และมีการสนับสนุนด้านการฝึกซ้อม รวมถึงด้านการเรียน เช่น การจัดชั้นเรียนพิเศษให้เด็กนักกีฬาที่เรียนไม่ทัน เพราะต้องซ้อมกีฬา เป็นต้น
นอกจากนี้ เมื่อปีที่ผ่านคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ทำให้ประเทศไทยกำลังจะมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยกีฬาแห่งชาติ โดยยกระดับจากสถาบันการพลศึกษาในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และจะมีการทำงานด้านการศึกษา และเป็นศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรทางกีฬา และกำลังจะเริ่มเปิดสอนในเดือนสิงหาคมนี้
ซึ่ง รศ.ดร.วิชิต ก็ได้ฝากข้อเสนอแนะแก่ผู้เกี่ยวข้องไว้ด้วยว่า “มหาวิทยาลัยกีฬามีปรัชญา วัตถุประสงค์ทำให้วงการกีฬาเจริญรุ่งเรืองขึ้น ผมขอฝากไว้ว่าต้องพยายามทำตามปรัชญานี้ให้จริง อย่าทำผิดเพี้ยนไป ต้องสนับสนุนนักกีฬา บุคลากรด้านกีฬาให้เต็มที่ และต้องวางการแนวทางไว้ให้ดีว่าจะไปให้ทิศทางใด เพื่อตอบโจทย์การพัฒนากีฬาของประเทศไทยให้ได้”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้