รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 2/1/2017 นักวิชาการ: ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
เมื่อเร็วๆ นี้ คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ…. หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า พ.ร.บ.โค้ดมิลค์ กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นำมาซึ่งเสียงสนับสนุนและเสียงคัดค้านทั้งจากบุคลากรทางการแพทย์ ฝ่ายวิชาการ ข้าราชการ ฯลฯ
จากการพูดคุยกับ ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ ผู้ช่วยอธิการบดีและอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เข้าร่วมเวทีให้ข้อมูลสาธารณะเรื่อง “สิทธิแม่ลูก VS นมผงหมื่นล้าน : ได้เวลาผ่านกฎหมาย คุมการ ตลาดนมผง” ในที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่เพิ่งจัดไปเมื่อเร็วๆ นี้ กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นนักกฎหมาย คงไม่ไปตัดสินว่านมอะไรดีกว่ากัน ให้ฝ่ายการแพทย์เขาไปเถียงกันเอง แต่ พ.ร.บ. ฉบับนี้จะทำให้แม่ลูกอ่อนตัดสินใจได้ดีขึ้น
ผศ.ดร.ปารีณา กล่าวว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ได้ห้ามขายนม ไม่ได้ควบคุมคุณภาพอาหารทารก เพราะไทยมี พ.ร.บ.อาหารตั้งแต่ปี 2522 และมีประกาศกายใต้ พ.ร.บ.อาหารว่าด้วยคุณภาพอาหารสำหรับทารกมาตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งพูดเรื่องโฆษณาอาหารทารกไว้เพียงอ้อมแอ้ม ไม่มีอำนาจโดยตรง
พ.ร.บ.ฉบับใหม่จะเน้นไปที่การควบคุมโฆษณา รวมถึงการตลาดของบริษัทนมผง เนื่องจากที่ผ่านมา บริษัทเหล่านี้ใช้วิธีดำเนินการตลาดที่ไม่ถูกต้อง เช่น ใช้เด็กทารกในโฆษณาโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม มีการเข้าไปทำการตลาดกับแพทย์และพยาบาลเกิดเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน รวมถึงการให้ข้อมูลอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง มีฤทธิ์ ยิ่งกว่ายา
“ที่สำคัญคือการบิดเบือนข้อมูล บริษัทนมผงพวกนี้จะพูดว่านมแม่ดีที่สุดแต่บอกต่อมาว่า ถ้านมแม่ไม่พอ ก็ให้มาใช้นมผง ซึ่งในความเป็นจริงการใช้นมผงตั้งแต่แรกๆ จะเป็นตัวตัดวงจรนมแม่ แม่บางคนนมมาช้า แล้วพอเห็นว่า 2 วันแรกลูกกินนมแม่ได้น้อยก็ให้ลูกหันไปกินนมผง แล้วพอเด็กอิ่มนมผง ก็จะไม่กินนมแม่ นมแม่ก็ไม่ผลิต” ผศ.ดร.ปารีณากล่าว และย้ำว่า คำว่า “ไม่พอ” ในที่นี้ใครเป็นผู้กำหนด เพราะโดยธรรมชาติ นมแม่ย่อยเร็วกว่านมผง เด็กหิวนมแม่บ่อยจึงเป็นเรื่องปกติ
มีเสียงคัดค้านจากฝ่ายต่อต้าน พ.ร.บ. ว่าการออกกฎหมายฉบับนี้จะทำให้ปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร แม่ไม่รู้ว่ามีนมผงอย่างไรในตลาดทำให้ไม่รู้ว่าจะให้ลูกกินอะไร และทำให้เด็กไปกินนมชนิดอื่น หรืออาหารอย่างอื่นที่ไม่ดีต่อสุขภาพเข้ามาแทนที่ แต่ ผศ.ดร.ปารีณาตั้งคำถามว่าที่ผ่านมาบริษัทนมผงให้ข้อมูลจริงหรือ หรือแค่ทำการโฆษณาเท่านั้น
“เขาบอกว่าถ้าควบคุมอาหารมีประโยชน์ คือนมผง จะทำให้เด็กไปกินอาหารไม่มีประโยชน์แทน ซึ่งเรามองว่ามันไม่ใช่ เพราะอาหารไม่มีประโยชน์พวกขนมนมเนย น้ำหวานที่เด็กชอบกิน เขาไม่ได้ทำการตลาดเจาะที่เด็กทารกและไม่ได้จดทะเบียนเป็นสินค้าสำหรับทารกและเด็กเล็ก ซึ่งเป็นสินค้าเฉพาะที่มีการควบคุมเข้มข้นแยกออกมา คือมันเป็นการเปรียบเทียบของไม่เหมือนกัน ส่วนว่าใครจะเอาขนมให้ลูกกินตั้งแต่เล็กๆ นั้นก็แล้วแต่แต่ละบ้านจะมีดุลพินิจเอาเอง” ผศ.ดร.ปารีณาระบุ
ผศ.ดร.ปารีณา บอกว่า กฎหมายฉบับนี้ยึดตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งมีข้อแนะนำให้เด็กกินนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่อายุ 0-6 เดือน หลังจากนั้นจนถึง 2 ขวบ หรือนานกว่านั้นให้กินอาหาร ตามวัยกับนมแม่ หรืออาหาร ทดแทนนมแม่ก็ได้ แต่ที่ผ่านมากลุ่มต่อต้าน พ.ร.บ. ออกมาโจมตีว่าการให้ทารกกินนมแม่หลัง 6 เดือนอย่างเดียวไม่มีประโยชน์ ถือว่าเป็นการบิดเบือนข้อมูล
กฎหมายนี้จึงมีวัตถุประสงค์ให้แม่ หรือผู้บริโภคได้ข้อมูลที่ถูกต้องมีหลักฐานสนับสนุนจากบริษัทนมผง สามารถตัดสินใจเลือกนมได้ด้วยตนเองไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโฆษณาและการตลาดขณะเดียวกันก็มีการควบคุมไปถึงบุคลากรทางแพทย์ไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบริษัทนมเหมือนที่เคยเป็นมา
“คนเป็นหมอพูดมันมีความน่าเชื่อถือไง แต่ต้องถามก่อนว่าเวลาที่หมอออกมาพูดนี่ พูดตามหลักวิชาการที่ตนรู้มาจริงๆ หรือว่าพูดเพราะตนเองมีผลประโยชน์กับบริษัทนมผง เขาพาไปกินข้าว ไปเมืองนอก ไปสัมมนาต่างประเทศหรือเปล่า” ผศ.ดร.ปารีณาระบุ และบอกว่ากฎหมายไม่ได้พูดว่าหมอแจกนมผงไม่ได้ แต่บริษัทห้ามแจกนมผงให้หมอ รวมถึงการจัดเสวนาต่างๆ ด้วย
ในทัศนะของนักกฎหมายจากจุฬาฯ นอกเหนือไปจากการคุ้มครองผู้บริโภคจากข้อมูลที่ถูกต้องแล้ว กฎหมายฉบับนี้ก็มีความต้องการที่จะสนับสนุนให้แม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เช่นกัน อย่างไรก็ตามมีเสียงคัดค้านจากผู้ต่อต้าน พ.ร.บ. ว่าควรไปแก้ไขกฎหมายลาคลอดดีกว่าจะมาควบคุม พ.ร.บ.มิลค์โค้ด หากต้องการ ให้ลูกได้กินนมแม่จริงๆ เพราะแม่ส่วนใหญ่ไม่มีเวลาให้นมลูกแต่ ผศ.ดร.ปารีณาเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ต้องทำทีหลัง เพราะตอนนี้อะไรที่ควบคุมได้ก็ควรกระทำก่อน
พ.ร.บ.นมผง ช่วยแม่เลือกนม “นมผงไม่ควรตัดวงจรนมแม่ ทุกวันนี้ถ้าลองไปถามแม่ 100 คนว่าที่ให้ลูกกินนมผงนี่เป็นเพราะโฆษณาหรือเปล่า เชื่อว่าร้อยละ 99 ตอบว่าไม่ใช่ แต่จริงๆ คนเหล่านี้ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากโฆษณาว่า นมแม่ไม่พอเลยใช้นมผง ทั้งๆ ที่ตนเองยังไม่ได้ลองให้นมจริงจัง และไม่ได้มีการแก้ไขกรณีนมตัวเองออกน้อย แต่เลือกที่จะเอานมผงไปแทนที่นมแม่เลย” ผศ.ดร.ปารีณากล่าว
ผศ.ดร.ปารีณาทิ้งท้ายว่าผู้บริโภค ควรได้รับสิทธิ์ด้านข้อมูลที่ถูกต้องไม่ตกเป็นเหยื่อโฆษณาชวนเชื่อ หรือคำพูดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจนมผง แต่ต้องสามารถเลือกนมให้ลูกได้อย่างเหมาะสมสำหรับสภาพวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล ด้วยพื้นฐานความเป็นจริงตามข้อมูลที่ไม่ถูกปิดกั้นและบิดเบือน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้