รู้ลึกกับจุฬาฯ

น้ำท่วมใต้ปัญหาผังเมืองไทย

นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา 11 จังหวัดในภาคใต้ นับตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปจนถึง จ.นราธิวาส ประสบภัยน้ำท่วมสร้างความเสียหายประมาณการอยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาท กระทบครัวเรือนมากกว่าแสนราย และประชาชนได้รับความเดือดร้อนมากกว่า 1 ล้านคน ทำให้หน่วยงานจากภาคส่วนต่างๆ รวมถึงประชาชนพากันส่งความช่วยเหลือแก่พี่น้องชาวใต้เป็นจำนวนมาก

จากการสอบถามกับ รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ อดีตหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ระบุว่า สาเหตุหลักของน้ำท่วมภาคใต้ในครั้งนี้มาจากปัจจัย 4 ประการ ได้แก่ 1.ปริมาณน้ำฝน 2.การระบายน้ำที่มีปัญหา 3.รูปแบบผังเมืองที่เอื้อต่อน้ำท่วม และ 4.รูระบาย หรือทางออกของน้ำที่ติดขัด

รศ.ดร.สุจริตอธิบายว่า ปีนี้มีฝนตกภาคใต้นานถึง 3-4 วัน ซึ่งถือว่าไม่ปกติ เพราะตามปกติลมฝนจะพัดออกทางมหาสมุทรอินเดีย และไม่ตกค้างอยู่ในประเทศไทยนานหลายวันขนาดนี้  จึงถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่คาดเดายาก เกิดขึ้นไม่บ่อย นับเป็นเหตุการณ์ที่แสดงถึงความผิดปกติทางธรรมชาติ ดังนั้นการทำนายเพื่อเตือนภัยชาวบ้านจะคลาดเคลื่อน แม้ว่าจะมีการเตือนแล้วว่าฝนจะตกหนัก แต่ในความเป็นจริงชาวบ้านเองก็ไม่ได้คิดว่าจะหนักขนาดนี้

ขณะที่ปัจจัยด้านอื่นๆ ล้วนเกิดจากฝีมือมนุษย์ทั้งสิ้น ซึ่ง รศ.ดร.สุจริตกล่าวว่า ตามปกติภาคใต้จะมีพรุเป็นพื้นที่เก็บกักน้ำ ช่วยขังน้ำไม่ให้เข้าเมือง และมีทางรถไฟ ซึ่งสร้างไว้สูงเป็นคันกั้นน้ำอีกที แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าพรุเหล่านั้นได้ลดลง มีหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้น ครั้งนี้เมื่อฝนตกหนักก็ไม่มีที่กักเก็บ น้ำจึงไหลเข้าเมือง

รศ.ดร.สุจริตระบุว่า ปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทยเป็นปัญหาใหญ่ ทุกส่วนต้องช่วยกันแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาที่คาราคาซังอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคือ ปัญหาเรื่องการแก้ไขผังเมือง เมื่อฝ่ายหนึ่งคือกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย กับฝ่ายผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งอยู่ในท้องถิ่น

“คือฝ่ายหนึ่งก็อยากจะรักษา อนุรักษ์ที่เอาไว้ แต่อีกฝ่ายอยากโต อยากขยายเอง มันเลยเป็นปัญหาคาราคาซัง ทุกวันนี้มีหลายที่ทำที่พักน้ำไม่ได้ และมีการก่อสร้างที่ไม่ได้รับอนุญาตเยอะมาก” รศ.ดร.สุจริตกล่าว

จากการพูดคุยกับนักวิชาการอิสระผู้ไม่ประสงค์ออกนามผู้หนึ่ง ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทำงานด้านทกภัย และเข้าใจปัญหาเรื่องผังเมืองเป็นอย่างดี ได้ระบุว่า ในการแก้ผังเมืองในท้องถิ่นมักมีการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของกลุ่มทุน

เวลาเขาประชุมแก้ไขผังเมือง ในท้องถิ่นมักมีกลุ่มธุรกิจบ้านจัดสรรเข้ามานั่งเป็นกรรมการด้วย พวกนี้แสดงบทบาทค้านสุดตัวเวลามีการเสนอให้ทำฟลัดเวย์ หรือทางผ่านของน้ำ เอาง่ายๆ อย่างการ ถอยร่นอาคารก็ชอบบอกว่าต้องแก้ให้เหลือ 5 เมตรเท่ากับ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร อ้างว่าทำไมต้องถอยร่นห่างจากน้ำ 50-60 เมตร ในเมื่อกฎหมายอีกฉบับบอกว่าแค่ 5 ถ้าไม่แข็งกฎหมายจริงๆ พวกนี้จะใช้ช่องว่างได้”

นอกจากนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองสามารถเวนคืนที่ดินและสร้างเป็นพื้นที่ใช้สอยป้องกันน้ำท่วมได้ แต่ทุกวันนี้ไม่สามารถกระทำได้ เพราะติดที่ดินของนายทุน รวมถึงงบประมาณซึ่งได้น้อยมากเพียงปีละ 2 หมื่นกว่าล้านเท่านั้น

“ฟลัดเวย์ลากไม่ได้ ติดที่ดินเจ้าพ่อเจ้าแม่ทั้งหลาย เขาไม่ยอมถ้าจะเวนคืนที่ก็สิ้นเปลือง เป็นหมื่นเป็นแสนล้าน ทำแล้วจะคุ้มไหม งบประมาณกรมโยธาฯแค่ 2 หมื่นล้าน เงินเดือนนี่ก็ปาเข้าไปเท่าไหร่แล้ว” เขาระบุ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนมีที่มาจากปัญหาของกฎหมายผังเมืองที่ใช้เวลานาน ในการออกตัวกฎหมายเขียนไม่ชัดเจน และมักก้าวล่วงกับกฎหมายอื่นทำให้กฤษฎีการะงับอยู่หลายครั้ง

รศ.ดร.สุจริตชี้แจงว่า หากแก้ไขที่ผังเมืองไม่ได้ก็ต้องหาทางออกแบบอื่น เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อชะลอน้ำบางส่วน หรือกำหนดเขตน้ำท่วมเหมือนในต่างประเทศ เช่นกำหนดให้พื้นที่ 100–200 ไร่ ตรงไหนเป็นพื้นที่พักน้ำสูง 2 เมตร ก่อนนำไประบายที่ทะเล เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวหากต้องมีการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนจริงๆ ก็ต้องคุยกันที่ผังเมือง ซึ่ง รศ.ดร.สุจริตมองว่า ต้องมีการพูดคุยกัน เพื่อหาทางออกที่หลากหลาย และอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายเพื่อให้เกิดความสบายใจ และคงไม่ใช่มาตรการทางกฎหมายเพียงอย่างเดียว เพราะคนจะอ้างว่าไม่รู้ ไม่ยอมทำตาม แต่ต้องมีมาตรการทางสังคมเข้ามากำกับดูแลด้วย

เมื่อสอบถามว่าในฐานะประชาชนคนธรรมดาควรทำอย่างไรเพื่อป้องกันและรับมือน้ำท่วม รศ.ดร.สุจริตระบุว่า ก่อนอื่นต้องมีความรู้ด้านภูมิประเทศและภูมิอากาศของชุมชนที่ตนเองอยู่ ตั้งหลักโดยใช้เหตุการณ์ปัจจุบันและชุดความรู้มาเป็นตัวตัดสินใจ อย่าใช้ประสบการณ์จากในอดีตว่า “คงเหมือนปีที่แล้ว ไม่ท่วมหรอก” มาเป็นตัวตั้งเพราะเหตุไม่คาดฝันมีโอกาสเกิดขึ้นได้

ขณะเดียวกัน ชุมชนเองก็ควรมีพื้นที่สีเขียว หรือพื้นที่สาธารณะ เช่น สวนสาธารณะ ซึ่งนอกจากจะเป็นที่ท่องเที่ยวแล้ว ยังสามารถนำมาใช้เป็นที่พักน้ำเมื่อเกิดปัญหาอุทกภัยได้ด้วย ถือเป็นการนำที่ดินมาใช้ประโยชน์
แบบยั่งยืนแก่คนในชุมชน

 

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า