รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 1/11/2016 นักวิชาการ: รศ.นสพ.ดร.สุดสรร ศิริไวทยพงศ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานมานานกว่า 30 ปี เพราะทรงเห็นว่าหากการพัฒนาประเทศคำนึงแต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลักอาจจะเกิดปัญหา และควรเน้นการพอมีพอกินของประชาชน เป็นการพัฒนาในทางสายกลาง ไม่ประมาท ใช้ความรู้และคุณธรรมในการดำเนินชีวิต อันนำจะไปสู่ความสุขอันยั่งยืน
โดยที่เกษตรทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรพอเพียง เป็นตัวอย่างการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ สำหรับเกษตรกรนำไปจัดการที่ดินเพาะปลูก ปศุสัตว์ และที่อยู่อาศัย ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการร่วมมือกันของคนในชุมชนช่วยกันสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน และช่วยกันพัฒนาให้ชุมชนเดินไปข้างหน้า
รศ.นสพ.ดร.สุดสรร ศิริไวทยพงศ์ รองคณบดีสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร และอาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ภารกิจอย่างหนึ่งของการเรียนการสอนด้านปศุสัตว์คือต้องนำนิสิตลงไปคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงในชุมชน ให้เด็กได้เข้าไปมีส่วนร่วม และเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านในด้านต่างๆ
“การเข้าไปทำงานในชุมชนเป็นประจำ ทำให้ได้เข้าไปรู้จักและร่วมงานกับโครงการของมูลนิธิปิดทองหลังพระ และมูลนิธิรากแก้ว คือไปช่วยพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ” รศ.นสพ.ดร.สุดสรรระบุ นิสิตได้เข้าไปทำประโยชน์ให้ชุมชน โดยวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ คือ ยกระดับฐานะความเป็นอยู่และส่งเสริมอาชีพของคนในชุมชน ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจและกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ ศิลปวัฒนธรรมไทย
ตัวอย่างชุมชนในโครงการ อาทิ การพัฒนาชุมชนในหมู่บ้านน้ำป้าก ต.ตาลชุม อ.ท่าวังผา จ.น่าน ซึ่งมักประสบอุทกภัยอยู่บ่อยครั้ง และเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขานิยมการทำไร่เลื่อนลอย ทำให้ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นตัวหลักในการส่งเสริมอาชีพใหม่ๆ ในชุมชนมีการนำสุกรพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เข้าไปสอนให้ชาวบ้านรู้จักเพาะเลี้ยง จากเดิมที่ชาวบ้านเลี้ยงสุกรเพื่อเอาไว้ใช้เป็นอาหารหรือทำพิธีอย่างเดียว ก็มีการเพาะพันธุ์ ขยายพันธุ์สุกรให้มีจำนวนมากขึ้นได้ลูกสุกรที่มีคุณภาพ จนกระทั่งทุกวันนี้กลายเป็นชุมชนต้นแบบที่นำเกษตรพอเพียงทฤษฎีใหม่ไปใช้ “การทำงานของเราเน้นเดินตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จุฬาฯ วางบทบาทตนเองเป็นแหล่งความรู้ที่มีต้นทุนจากการเรียนการสอนและงานวิจัยเราจะดูความต้องการของพื้นที่ว่าเขาต้องการอะไร และจะนำสิ่งนั้นไปเผยแพร่ แต่พอถึงจุดจุดหนึ่งเราจะปล่อยให้ชุมชนจัดการตนเอง และคอยให้คำแนะนำหากเขาต้องการ” รศ.นสพ.ดร.สุดสรรกล่าว
อีกโครงการหนึ่งที่หมู่บ้านโป่งลึก และหมู่บ้านบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ก็มีโครงการพัฒนาชุมชนที่จุฬาฯ เข้าไป ร่วมมือด้วย เนื่องจากชุมชนมีปัญหาขาดแคลนน้ำไว้ใช้ทำการเกษตรเนื่องจากอยู่บนที่ราบสูง และชาวบ้านเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิต นิยมหาของป่า ล่าสัตว์ ตัดไม้มาปลูกบ้าน แต่ตัวหมู่บ้านอยู่ในเขตอุทยานทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างทางการกับชุมชน
“มูลนิธิปิดทองหลังพระ จึงร่วมมือกับจุฬาฯ ช่วยเขาจากส่วนนี้ เราไปทำเกษตร ช่วยให้เขารู้จักปลูกพืช ปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ ให้เขาสามารถเลี้ยงตัวเองได้”ขณะเดียวกัน จุฬาฯ เองก็ส่งคนจากคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัย ไปช่วยพัฒนาในด้านที่แตกต่างกัน ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าไปช่วยเหลือเรื่องการนำน้ำจากที่ต่ำขึ้นมาใช้บนเขา คณะสถาปัตยกรรมเข้าไปช่วยเหลือเรื่องการปลูกบ้านให้คงทน ไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า เป็นต้น
ปัจจุบันชุมชนใน อ.แก่งกระจาน สามารถปลูกข้าวไว้ใช้กินและเลี้ยงเป็ดไข่เพื่อนำมาใช้เป็นอาหารได้ และดำเนินชีวิตเป็นไปตามความพอเพียง สามารถเลี้ยงดูตนเองและยังชีพได้ รศ.นสพ.ดร.สุดสรร เล่าว่า ขณะนี้มูลนิธิปิดทองหลังพระมีการทำข้อตกลงร่วมกันกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ เพื่อกระจายพื้นที่พัฒนาตามแนวพระราชดำริให้กว้างขวางมากขึ้น โดยแบ่งเขตรับผิดชอบตามแต่ละที่ มหาวิทยาลัยนั้นสังกัด ได้แก่ ภาคใต้ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภาคอีสานโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาคกลางโดยมหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนภาคเหนือโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะมีต้นทุนในการทำงานด้านต่างๆ และมีศูนย์การเรียนรู้อยู่ที่ จ.น่าน และมีนิสิตจากสำนักวิชาการเกษตรต้องไปศึกษาในชั้นปีที่ 3 และ 4 ทุกปี สิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมจากการดำเนินงานพัฒนาชุมชนเหล่านี้คือ คนในชุมชนปลดหนี้กันได้มากขึ้น รู้จักทำมาหากินเลี้ยงชีพตนเอง มีเงินเก็บ ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น เป็นการหาความสุขที่ยั่งยืน และเกิดขึ้นจริงจากแนวทางพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานไว้ให้
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้