รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 12/12/2016 นักวิชาการ: รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
จากกรณีปลัดกระทรวงการคลังเปิดเผยเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ว่ามีการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเรื่องการให้บริษัทประกันเอกชนเข้ามาบริหารเงินค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ ในวงเงินประมาณ 7 หมื่นล้านบาท และจะเริ่มทำในเดือนตุลาคม 2560 พร้อมย้ำว่าสิทธิประโยชน์ของข้าราชการต้องไม่ต่ำกว่าเดิม โดยสาเหตุที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังต้องทำเช่นนี้เพราะต้องการลดการรั่วไหลจากการที่มีข้าราชการเวียนเทียนหาหมอเพื่อให้จ่ายยาราคาแพงจำนวนมากและนำไปขายต่อ
ล่าสุด เครือข่ายปฏิรูประบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ หรือ คสร. ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของนักวิชาการและข้าราชการหลายฝ่าย แถลงข่าวแสดงความคิดเห็นและนำเสนอทางออกแก่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ที่ผ่านมา ณ ศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวิทยากรทั้งจากฝั่งข้าราชการและนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสาธารณสุขของไทยเข้าร่วมเครือข่ายฯ แสดงความคิดเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลจะอ้างว่ายังคงสิทธิให้แก่ข้าราชการเท่าเดิม เพราะการให้เอกชนบริหารงานย่อมมีค่าบริหารจัดการ ค่ากำไรที่จะเอกชนจะหักไปเป็นของตน ทำให้ส่วนที่เหลือย่อมน้อยลง กระทบต่อสิทธิของข้าราชการแน่นอน พร้อมเสนอว่ารัฐควรจัดการตั้งหน่วยตรวจสอบ ระบบติดตามเรื่องนี้ให้พัฒนาขึ้น มิใช่อ้างว่าพอทำไม่ไหวแล้วก็ยกให้เอกชนทำแต่ท่าเดียว
จากการพูดคุยสอบถามกับ รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ อาจารย์จากภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทำการศึกษาระบบประกันสุขภาพของไทยมาเป็นเวลานาน ระบุว่า ปัญหาหลักๆ ที่ทำให้รัฐบาลตัดสินใจยกให้เอกชนทำ เป็นเพราะว่าสวัสดิการรักษาข้าราชการไทย พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะใน 2-3 ปีที่ผ่านมา อัตราค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสูงถึงปีละ 6 เปอร์เซ็นต์ แซงหน้าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
สาเหตุหลักๆ เกิดจากอัตราค่าใช้จ่ายรักษาข้าราชการแบบผู้ป่วยนอก เพราะเป็นบริการแบบ Free For Service หรือจ่ายตามบริการ คนไข้รักษาไปเท่าไร โรงพยาบาลก็จะเบิกไปเท่านั้นตามจริง มีบางรายการเท่านั้นที่กรมบัญชีกลางกำหนดราคาคงที่มา และควบคุมยาที่ใช้รักษาต้องเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ แต่โดยรวมแล้ว มักจะเป็นกระบวนการปลายเปิด
รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ ชี้ว่ามีบางกรณีที่เกิดความหละหลวมในการตรวจสอบ คือมีข้าราชการบางคนเวียนเทียนตระเวนซื้อยาตามโรงพยาบาลต่างๆ แล้วนำไปขายต่อ เมื่อกรมบัญชีกลางจับได้ก็จะเกิดการฟ้องร้องจนเป็นข่าว แต่รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ ย้ำว่าปริมาณคนที่ทำเช่นนี้ไม่ได้มากพอจนถึงขั้นที่รัฐบาลจะอ้างว่าให้เอกชนเข้ามาดูแลแทนได้
“มันก็ไม่ได้เกิดจากการหละหลวมในการควบคุมทั้งหมด คือค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นสูงตามธรรมชาติของสังคมด้วย เพราะทุกวันนี้ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ข้าราชการบำนาญมีอายุยืนมากขึ้น ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นตาม” รศ.ดร.นพ. จิรุตม์กล่าว
เมื่อสอบถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่กระทรวงการคลังมองว่าถ้าให้เอกชน ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าเข้ามาบริหารจัดการสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการแทนแล้ว จะช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี และอาจทำให้งบประมาณการใช้จ่ายต่อไปลดลง รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ ชี้ว่าเป็นไปได้ และไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่เอกชนจะได้กำไร เพราะเป็นเรื่องวิน-วิน ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือเอกชนก็ได้กำไรไป ส่วนรัฐบาลก็ลดค่าใช้จ่ายได้
แต่ข้อจำกัดในเชิงระบบปัจจุบัน อาจทำให้เอกชนไม่สามารถบริหารจัดการได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า เพราะการมอบให้เอกชนเข้ามาดำเนินการแทนรัฐ จะต้องมีการจัดจ้างภายใต้วงเงินงบประมาณ 7 หมื่นล้านนี้ จากนั้นเอกชนจะนำเงินก้อนนี้ไป แล้วนำไปจ่ายให้สถานพยาบาลภาครัฐ หรือโรงพยาบาลอีกต่อหนึ่ง ส่วนนี้จะต้องระวังให้ดี ถ้าหากเกิดกรณีที่เอกชนได้กำไร แต่โรงพยาบาลรัฐเกิดความเสียหาย ขาดทุน จะเกิดข้อร้องเรียนและฟ้องร้องได้ว่ารัฐทำสัญญาแบบไหนถึงทำให้ตนเอง เสียหาย
“จากเดิมที่เป็นรัฐต่อรัฐจัดการกันเอง ถ้าให้เอกชนทำปุ๊บแล้วรัฐขาดทุน ซึ่งอาจไม่ได้กำหนดในสัญญาเอกชน มันจะเกิดปัญหาทางกฎหมายขึ้น แล้วถ้าเกิดกรณีร้องเรียน มีการปฏิเสธจ่ายโรงพยาบาลรัฐจะไปร้องเรียนกับใคร คือมันต้องมีแนวทางว่าจะทำอย่างไรถ้าเงินมากขนาดนี้ เรื่องพวกนี้มันเกิดขึ้นได้และจะทำให้ระบบวุ่นวาย นอกจากนี้ถ้าเปลี่ยนระบบใหม่ก็ต้องอาศัยคน ซึ่งไทยก็ไม่ได้มีหมอเหลือเฟือให้มานั่งทำเอกสาร แล้วระยะเวลาสั้นๆ ไม่ถึงปีจะเตรียมการทันได้อย่างไร”
รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ระบุ รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ ยังตั้งคำถามต่ออีกว่า หากเอกชนคุมเงินไม่ได้จะทำอย่างไร เช่นมีการดำเนินการไปแล้ว 2 ปีพบว่าขาดทุน ปีถัดมาเอกชนจึงยื่นขอเสนองบประมาณ 8 หมื่นล้าน รัฐบาลจะต้องทำอย่างไร หากปฏิเสธ เอกชนก็สามารถยกเลิกสัญญา ไม่ขอดำเนินการต่อ ทำให้ภาระทั้งหมดกลับมาที่กรมบัญชีกลางอีกครั้ง
“คือต้องคิดถึงกรณีแย่สุดๆ ไว้ด้วยว่าถ้าเอกชนทำไม่ได้เราจะทำอย่างไรต่อ ถ้าเขาทำแล้วเขาพบว่าตนเองขาดทุน 2 ปี เขาก็เลิกทำแล้วก็ลอยตัว แต่ภาระหลังจากนั้นมันจะกลับมาอยู่กับรัฐ แล้วข้าราชการกับผู้มีสิทธิจะทำอย่างไร ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่แต่ไม่มีใครพูดถึง”
นอกจากนี้ การดำเนินงานด้านสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ยังมีผลต่อหลักประกันสุขภาพโดยรวมของประเทศ ซึ่งจะต้องนำมาบูรณาการร่วมกัน ไม่ใช่แยกกันเป็นสองระบบ เพราะจะทำให้หน้างาน ในสถานรักษาพยาบาลของรัฐเกิดความวุ่นวายอย่างมหาศาล รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ทิ้งท้ายไว้
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้