รู้ลึกกับจุฬาฯ

พ.ร.บ.คอมพ์กระทบผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างไร

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ลงมติเห็นชอบผ่านพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกกันว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ ซึ่งกำลังจะมีผลบังคับใช้
เป็นกฎหมายพร้อมประกาศกระทรวงที่จะออกตามความในมาตราต่างๆ ตามมา ปรากฏการณ์นี้ได้สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วโลกออนไลน์ รวมถึงความกังวลว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้อาจจะซุกซ่อน “ซิงเกิลเกตเวย์” ที่เคยเป็นประเด็นถูกต่อต้านมาก่อน

ขณะเดียวกันก็เกิดกระแสมีการชุมนุมรวมตัวประท้วงในที่สาธารณะ รวมถึงการโจมตีเว็บไซต์ของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นการระดมโจมตีทางออนไลน์ หรือ DDOS ทำให้เว็บไซต์ใช้การไม่ได้ และการแฮ็กฐานข้อมูลของรัฐแล้วนำมาเผยแพร่เพื่อแสดงจุดยืนคัดค้าน พ.ร.บ.ฉบับนี้

ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดเวทีเสวนาจุฬาฯ ครั้งที่ 3 เรื่อง “ก้าวต่อไปของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หลัง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2559” เพื่อเป็นเวทีให้ผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ ภาคสื่อมวลชน รวมถึงตัวแทนภาครัฐในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางเกี่ยวกับการออกประกาศกระทรวงเพื่อฟังงานเสวนาครั้งนี้ กล่าวว่า เห็นด้วยกับวิทยากรเสวนาในงานว่า “กฎหมายนี้ไม่ได้ปรับจากเดิมมาก เปลี่ยนแล้วดีขึ้นก็มี ทำให้ชัดเจนมากขึ้น เช่นในมาตรา 14 วรรคหนึ่ง มีการเพิ่มเติมชัดเจนว่าเป็นเรื่องการหลอกลวงด้วยการสร้างตัวตนปลอมและไม่ใช่ความผิดฐานหมิ่นประมาท”

อย่างไรก็ดี ดร.สุพจน์ชี้ว่ากฎหมายที่ประกาศจะใช้ฉบับนี้ยังมีข้อวิตกกังวลอยู่มาก โดยเฉพาะผลกระทบต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นคนจำนวนมากในประเทศ อย่างมาตรา 16/2 ที่ระบุว่า “ผู้ใดรู้ว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ในความครอบครองของตนเป็นข้อมูลที่ศาลสั่งให้ทำลายตามมาตรา 16/1 ผู้นั้นต้องทำลายดังกล่าว หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษ…” เปิดช่องให้เกิดความไม่แน่นอน

“ผมเสนอว่าควรแก้ไขให้ชัดว่าผู้ใดควรเกี่ยวข้อง ซึ่งควรจะเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เพราะผู้ใช้อย่างเราๆ วันหนึ่งได้รับข้อมูล คอนเทนต์อะไรต่างๆ เยอะ แล้วเราไม่รู้ว่าที่เราเซฟๆ ไว้เนี่ยมันจะผิดไหม มันมีคำสั่งศาล
ออกมาหรือยัง แล้วถ้าวันหนึ่งมีเจ้าหน้าที่รัฐมาเปิดดูเครื่องเรา เราก็โดนโทษได้” ดร.สุพจน์ระบุ

รวมถึงมาตราที่หลายคนกังวลว่าเป็นการชักใยให้เกิดการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต คือมาตรา 20 ที่ระบุว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำการระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเองสั่งให้
ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลนั้นได้” ก็เป็นที่วิตกว่าจะทำให้เกิดระบบดักจับข้อมูลหรือไม่

“มีมาตรานี้หมายความว่ารัฐจะทำ man in the middle attack หรือการแทรกเข้ามาเป็นคนกลางดักจับข้อมูล ด้วยข้ออ้างเหตุแห่งความมั่นคงของประเทศหรือเปล่า แล้วถ้าหากเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปดูได้จริง มาตรานี้ก็ไม่ได้กำหนดฐานความผิด ถ้าหากเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปแล้วล่วงรู้ข้อมูลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดี หรือว่าทำข้อมูลรั่วไหล จะทำอย่างไร” ดร.สุพจน์กล่าว

นอกจากนี้ยังมีมาตรา 19 ซึ่ง ดร.สุพจน์กล่าวว่า “ไม่ค่อยสบายใจ” เพราะมีการเชื่อมโยงกับกฎหมายอื่น เนื่องจากระบุว่า “คำร้องต้องระบุว่าเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด
อันเป็นความผิด” ก็อาจเปิดช่องให้เกิดเหตุเช่น กำลังจะไปชุมนุมมีการเรียกร้องรวมตัวในโลกออนไลน์ แต่รัฐเข้าไประงับและหยุด ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้กระทำ ก็เป็นได้

ในงานเสวนามีการพูดคุยถึงกรณี “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” จะทำให้เกิดการตีความที่กว้างและเหมารวมไปทุกกรณีอย่างที่เกิดขึ้นในกฎหมายอื่นๆ ซึ่งในจุดนี้ ดร.สุพจน์เห็นว่าคณะกรรมาธิการพิจารณากฎหมายควรไปทำวิจัย รวบรวมผลการวินิจฉัยในชั้นศาลว่าเป็นอย่างไร เพื่อทำหมวดหมู่หลักเกณฑ์ให้ชัดเจนมิเช่นนั้นก็ยังมีเสียงครหาจากประชาชนอยู่มาก

ดร.สุพจน์ชี้ว่าสิ่งที่รัฐควรทำคือระบุให้ชัดว่าจะปิดเฉพาะกรณีไหน กรณีที่น่าสงสัยและมีคำสั่งศาลสั่งเฉพาะกรณีไป ขณะเดียวกันสิ่งหนึ่งที่ควรทำในตอนนี้ แต่ยังไม่มีใครเอ่ยถึงคือการออกกฎหมายนโยบายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในโลกออนไลน์ เพราะกระแสความไม่มั่นใจในหมู่ประชาชนเพิ่มสูงมาก

“ผมมองว่ารัฐบาลยุคนี้เน้นกระแสความมั่นคงมากๆ เลยทำให้สิทธิส่วนบุคคลถูกลิดรอน ไม่ชัดเจน ตอนแรกก่อนมางานเสวนาผมก็เฉยๆ นะ คิดว่าคนคงตกใจกันโอเวอร์ไป แต่พอมาฟังแล้วก็พอรับรู้ว่ากฎหมายนี้ไม่ได้
มีหลักประกันชัดเจนว่าสิ่งต่างๆ จะไม่เกิด” ดร.สุพจน์ระบุ เมื่อถามถึงกรณีเลวร้ายที่สุดที่จะเกิด ดร.สุพจน์วิเคราะห์ว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์เซ็นเซอร์ตัวเอง หรือ Self Censorship คนไม่กล้าแชร์ข้อมูล แสดงความเห็น รวมถึงรับข่าวสาร เพราะคนกลัวดำเนินคดีทางกฎหมาย นอกจากนี้ในกรณีที่มีการระงับเว็บไซต์ หรือลบข้อมูลทิ้ง ก็อาจทำให้ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์และการศึกษาเชิงวิชาการที่หาที่ไหนไม่ได้ต้องสูญหายไป

ในแง่ผู้บริโภคที่ต้องปรับตัว ดร.สุพจน์ชี้ว่าคงต้องจับตาดูประกาศกระทรวงและกฎหมายลูกที่จะตามมาอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันก็ต้องเรียนรู้ว่าอะไรควรแชร์ ไม่ควรแชร์ เพราะปัจจุบันภาวะการรู้เท่าทันสื่อของคนไทย
ค่อนข้างน้อย ได้ข้อมูลมาก็แชร์เลยเพียงแค่อ่านแต่พาดหัว และมีนิสัยเชื่อข่าวลือจนพูดปากต่อปากกันไปหมด และต้องเรียนรู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา หรือลิขสิทธิ์ในโลกออนไลน์มากกว่านี้

“แต่ก็ไม่ใช่ว่าพอคนไม่มีการรู้เท่าทันสื่อแล้วจะเอากฎหมายไปจำกัดสิทธิส่วนบุคคลของคน มันต้องไปด้วยกัน คือใช้กฎหมายคุมไปพร้อมกับการเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อให้ประชาชน สุดท้ายแล้วก็ต้องเลือกว่าจะอยู่
จุดไหนที่สมดุลกัน จะให้รัฐเข้าไปสอดส่อง มีคนกลางไปตรวจตราตลอดก็คงไม่ได้ รวมถึงการมีเสรีภาพเกินไปจนละเมิดคนอื่นด้วย” ดร.สุพจน์ทิ้งท้าย

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า