รู้ลึกกับจุฬาฯ

โมเดล ‘ประชาร่วมใจ’ แก้ภัยพิษสุนัขบ้า

Rabies

สถานการณ์และปัญหาการระบาดของของโรคพิษสุนัขบ้า(Rabies)ในประเทศไทย

สถานการณ์ปัญหาการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า(Rabies) ในประเทศไทยดูท่าจะร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่ามี 15 จังหวัดทั่วประเทศที่พบโรคระบาดในคน มี 41 จังหวัดที่พบโรคในสัตว์ และมีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า(Rabies)แล้ว 5 รายในปีนี้

ในงานเสวนา “ฝ่าวิกฤติโรคพิษสุนัขบ้า(Rabies)”  โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ที่ผ่านมา ระบุว่า สถานการณ์ที่รุนแรงขึ้นอาจเป็นผลมาจากการให้วัคซีนพิษสุนัขบ้าที่ไม่ทั่วถึง

มิหนำซ้ำสุนัขบางตัวยังได้รับวัคซีนพิษสุนัขบ้าซ้ำเกินหนึ่งเข็ม ทำให้กลุ่มที่สมควรได้รับวัคซีนเข้าไม่ถึงยา เป็นผลให้มีการให้วัคซีนทุกปี แต่ยังพบเชื้อมากขึ้น

อีกทั้งยังมีปัญหาวัคซีนบางตัวมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่ามาตรฐาน โดยเฉพาะเมื่อปี 2559-2560 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีการเรียกคืนยา 3 ลอต เนื่องจากพบว่ามีวัคซีนที่ไม่มีมาตรฐาน

ความเห็นของอาจารย์จุฬากับการแก้ปัญหาเรื่องสัตว์จรจัด หมาแมวจรจัด

อาจารย์ภาวรรณ หมอกยา จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำรงตำแหน่งผู้แทนกลุ่มสานสายใยชีวิต SOS ที่ทำงานด้านปัญหาสัตว์จรจัด หมาแมวจรจัด เป็นหนึ่งในวิทยากรงานเสวนา อธิบายว่า ปัญหาเรื่องสัตว์จรจัด หมาแมวจรจัด แท้จริงแล้วก็คือปัญหาของคน

“ครูขอพูดว่าปัญหาทุกอย่างต้องแก้โดยมนุษย์ เพราะเราฉลาดที่สุด และเรามีอำนาจที่จะแก้กฎหมายหรือจัดระเบียบสังคมได้ ดังนั้นปัญหาสัตว์จึงเป็นปัญหามนุษย์ร้อยเปอร์เซ็นต์ และที่สำคัญปัญหานี้ มนุษย์จะต้องร่วมมือร่วมใจกันทั้งสังคม”

จุดเริ่มต้นของโครงการช่วยเหลือสัตว์จรจัด SOS ของจุฬาฯ

ด้วยแนวคิด “ประชารวมใจ” กลุ่ม SOS (Save our strays) เน้นการทำงานช่วยเหลือสัตว์จรจัด หมาแมวจรจัด โดยดึงคนหลายฝ่ายที่เป็นทุกข์กับปัญหานี้เข้ามาพูดคุยกัน และร่วมกันหาทางออกว่าจะทำอย่างไรทั้งกลุ่มคนรักสัตว์ คนไม่รักสัตว์ รวมถึงตัวสัตว์เอง เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือสัตว์

“คนรักสัตว์เขาก็เป็นทุกข์ เห็นหมาข้างถนน น่าสงสาร คนไม่รักสัตว์เขาก็เป็นทุกข์ เขากลัวโดนกัด ส่วนสัตว์ถ้ามันพูดได้มันก็เป็นทุกข์ เรามองว่างานที่ท้าทายคือการดีลกับคน เพราะบางทีคุยกันไม่รู้เรื่อง แต่ข้อสรุปของการทำงานคือทุกคนจะต้องแก้ปัญหา”

การทำงานของกลุ่มช่วยเหลือสัตว์จรจัด SOS ของจุฬาฯ

งานของกลุ่มช่วยเหลือสัตว์จรจัด หมาแมวจรจัด SOS เป็นงานประสานงานร่วมกับคนในชุมชน จะเป็นผู้จับสัตว์แล้วให้คนในชุมชนคุยกันว่าจะทำอย่างไร จะร่วมกันออกเงิน พาสัตว์จรจัดไปรักษา ฉีดวัคซีนมากน้อยแค่ไหน โดย SOS จะมีหน้าที่ดังนี้

  • หน้าที่อาสาพาสัตว์รับ-ส่ง 
  • พาไปหาหมอ ก่อนที่จะกลับมาไว้ที่เดิมในชุมชน 

อาจารย์ภาวรรณระบุว่า การนำสัตว์มาไว้ที่เดิมก็ต้องมีคนดูแล คือกลุ่มคนที่รักสัตว์ในชุมชนนั้นๆ ต้องเป็นคนช่วยดู

ต้นตอปัญหาการระบาดโรคพิษสุนัขบ้า(Rabies)

อาจารย์ภาวรรณชี้ว่าต้นตอสำคัญของเรื่องโรคพิษสุนัขบ้าคือความ “ไม่รู้” ส่งผลให้ปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า(Rabies)  แม้จะอยู่ในสังคมไทยมานานหลายสิบปีก็ยังคงอยู่ ทั้งตัวผู้เลี้ยงสัตว์ รวมถึงภาครัฐที่ควรจะมีหน้าที่ให้ความรู้ ก็ไม่มีประสิทธิภาพพอ

“เงินอย่างเดียวแก้ปัญหาไม่ได้ ต้องมีทั้งความรัก และความรู้ด้วย นี่คือหลักการประชาร่วมใจของ SOS คือการมีความรักจะทำให้เราทุ่มเทกับงาน  รับผิดชอบกับสิ่งที่ทำ ไม่ย่อท้อ มองว่าสัตว์ หมาแมวจรจัดเป็นเพื่อนร่วมโลก ส่วนการมีความรู้ก็ต้องรู้ว่าเลี้ยงสัตว์ต้องทำอย่างไร”

ประเด็นการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ด้วยการกำจัดสัตว์

อาจารย์ภาวรรณกล่าวอีกว่า ประเด็นเซตซีโร่ หรือแนวทางกำจัดสัตว์จรจัด หมาแมวจรจัด ที่มีหลายคนเสนอ และมีประเทศบางแห่งได้นำไปใช้ ปรากฏว่าไม่ลดการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า(Rabies) เพราะไม่มีมาตรการอื่นๆ มารองรับ มิหนำซ้ำ แนวทางเซตซีโร่ ยังทำให้เกิดการแตกแยกของคนในสังคมอีกด้วย

การแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า(Rabies)ในต่างประเทศ

“ประเทศที่แก้ปัญหาเบ็ดเสร็จสำเร็จจริงๆ มีลักษณะเด่นๆ เลยคือ เป็นเกาะ เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ หรือบางเคสเป็นประเทศเล็กๆ อย่างบางประเทศในยุโรป เขาทำได้เพราะเขาเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีทุกอย่างพร้อม ประชาชนมีความสุข การศึกษาดี มีสวัสดิการคน สวัสดิการสัตว์ดี สัตว์อยู่แต่ในบ้าน ได้รับการดูแล ไม่มีออกมาเพ่นพ่าน”

สรุป

อาจารย์ภาวรรณย้ำว่า สังคมที่มีความพร้อม จะมีแนวคิดประชารวมใจด้วยตัวเอง เพราะประชาชนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ไม่มัวแต่มานั่งรอรัฐบาลให้แก้ปัญหา ขณะเดียวกันสังคมที่มีเสรีภาพในการคิดแก้ปัญหา รัฐบาลสนับสนุนคน จะยิ่งโน้มนำให้ปัญหาลุล่วงได้

กลุ่ม SOS จึงนำแนวคิดนี้มาปรับใช้เป็นแนวคิดหลักในการทำงาน และพยายามทำงานร่วมกับคนทุกคน ทุกกลุ่ม ให้เข้ามามีส่วนร่วม ในการแก้ปัญหา เพราะทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นบทพิสูจน์ว่าคนทุกคนก็สามารถมีส่วนช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า