รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 30/04/2018 นักวิชาการ: ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
การพบกันระหว่างผู้นำเกาหลีเหนือ คิม จอง อึน และประธานาธิบดีเกาหลีใต้ มุน แจ อิน เมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา ณ หมู่บ้านปันมุนจอม เขตปลอดทหารบริเวณชายแดนสองประเทศ ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ มีการประกาศแถลงการณ์ร่วมในชื่อ “ปฏิญญาปันมุนจอม” เพื่อปูทางสู่สันติภาพระหว่างสองชาติ และหาทางสู่การยุติสงครามเกาหลีอย่างถาวร
ศ.กิตติคุณ ดร.ไชยวัฒน์ ค้ำชู จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออก และศึกษาเหตุการณ์ความขัดแย้งในคาบสมุทรเกาหลีมากว่า 30 ปี ได้อธิบายไว้หลังจากเกาหลีเหนือประกาศยุติโครงการระเบิดนิวเคลียร์เมื่ออาทิตย์ก่อน ว่าการพบกันในวันที่ 2 7เมษายน ที่ผ่านมา เป็นการพบกันครั้งที่ 3 ระหว่างผู้นำเกาหลีเหนือและใต้
“แต่การพบกันคราวนี้ถือว่าน่าสนใจมาก เพราะปีที่แล้ว มีความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีถ้าเราจำได้ เทียบกับ 2 ครั้งก่อนในสมัยคิมจอง อิล จะมีความเป็นทางการ และชาวโลกไม่ค่อยได้เห็นเหมือนคราวนี้” อาจารย์ไชยวัฒน์ระบุ พร้อมบอกอีกว่า ท่าทีของผู้นำสองชาติเมื่อวันที่ 27 เมษายน ทำให้เห็นว่าทั้งสองชาติต้องการปรองดองอย่างจริงจัง
รูปถ่ายที่ปรากฏเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2561 ในหมู่บ้านปันมุนจอม สะท้อนให้เห็นภาพของผู้นำเกาหลีเหนือและประธานาธิบดีเกาหลีใต้ที่มีท่าทางยิ้มแย้มแจ่มใสจูงไม้จูงมือกะหนุงกะหนิง ราวกับเป็นญาติพี่น้องที่ห่างเหินมาเจอกัน คือหลักฐานที่ชี้ว่าทั้งสองชาติต้องการปรองดองและอยู่ร่วมกัน และพร้อมที่จะแก้ปัญหาความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี
แต่ตัวปฏิญญาปันมุนจอมเองก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ แถลงการณ์ดังกล่าวมีการระบุว่าคาบสมุทรเกาหลีต้องปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งรวมถึงเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เช่นเดียวกับแถลงการณ์เมื่อปี ค.ศ.1992 ที่ต้องการให้มีการDenuclearization ในคาบสมุทรเกาหลี
“นับตั้งแต่หยุดยิงเมื่อปี ค.ศ.1953 เกาหลีเหนือตกอยู่ภายใต้การข่มขู่ของสหรัฐมา 33 ปี เพราะสหรัฐเอาอาวุธนิวเคลียร์เขาไปตั้งในเกาหลีใต้ ซึ่งละเมิดข้อตกลงปี 1953 พอปี 91 (ค.ศ 1991) ถึงได้เปลี่ยนไปติดตั้งอาวุธอย่างอื่นแทน ถัดจากนั้นถึงได้มี Denuclearization ออกมา”
อาจารย์ไชยวัฒน์กล่าวดังเดิมว่า สิ่งที่เกาหลีเหนือกระทำ ทำเพราะอ้างถึงความรู้สึกไม่มั่นคงในชาติที่ถูกสหรัฐคุกคาม ทำให้ต้องมีการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธ ขณะเดียวกันในเกาหลีเหนือเองก็มีคำกล่าวว่า “เขาเหมือนกุ้งฝอย ชาติมหาอำนาจเหมือนปลาวาฬ ถ้าเขาสู้กัน เราก็เหมือนถูกบดขยี้”
การเพิกเฉยและการละเมิดข้อตกลงหลายต่อหลายครั้งของสหรัฐ นำมาซึ่งการพัฒนาระบบนิวเคลียร์ในเกาหลีเหนือ แต่เกาหลีเหนือก็ยืนยันหลายต่อหลายครั้งว่าชาติตนเองพร้อมที่จะเจรจาและพร้อมที่จะทำลายอาวุธนิวเคลียร์ได้ทุกเมื่อหากชาติมหาอำนาจให้คำมั่นสัญญาและปฏิบัติอย่างจริงจัง
“น่าเชื่อได้ไหมที่ผู้นำเกาหลีอ้างว่าต้องทำเพราะความมั่นคง เรื่องนี้ได้รับการยืนยันจากคุณ Donald Gregg เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำเกาหลีใต้ช่วงปี 1989 – 1993 ไปเยือนเกาหลีเหนือหลังเกษียณ ถามผู้นำเกาหลีเหนือว่าทำไมต้องทดสอบนิวเคลียร์ คำตอบที่ได้คือเกาหลีพร้อมเสมอที่จะทำลายถ้าสหรัฐทำตามข้อตกลง ส่วนคุณ William Perry รมต. กลาโหมสหรัฐช่วงปี 1994-1997 ก็เคยถามและก็ได้รับคำตอบแบบเดียวกัน”
อาจารย์ไชยวัฒน์กล่าวต่อว่าลำดับต่อไปที่ผู้นำเกาหลีเหนือจะพบประธานาธิบดีสหรัฐ ถือเป็นเรื่องน่าสนใจว่าจะตกลงกันอย่างไร คาดว่าน่าจะมีการเสนอข้อเรียกร้องให้ยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์ที่ป้องกันเกาหลีใต้ ยกเลิกการเป็นพันธมิตรทางการทหารระหว่างสหรัฐและเกาหลีใต้ หรือยกเลิกการตั้งฐานทัพสหรัฐในเกาหลีใต้แต่จะเริ่มจากตรงไหนให้ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันยังต้องติดตามต่อไป
ส่วนการทำสัญญาสันติภาพเพื่อยุติสงครามเกาหลีที่ยืดเยื้อมากว่า 65 ปี และเป็นฉบับถาวร ซึ่งตามข่าวระบุว่าจะให้มีการเสร็จสิ้นในปีนี้ อาจารย์ไชยวัฒน์มองว่าเป็นสนธิสัญญาที่ทำได้ง่ายถ้าหากเป็นสนธิสัญญาคู่กันระหว่างเกาหลีเหนือและใต้ ไม่ให้สหรัฐ จีน รัสเซียเข้ามาร่วมด้วย ก็ถือว่าสามารถกระทำได้ในทางการเมืองระหว่างประเทศ
อาจารย์ไชยวัฒน์เสริมอีกว่าเกาหลีเหนือและใต้เคยมี ความฝันที่จะรวมชาติมาตั้งแต่ปี 1972 มีข้อตกลงว่าทั้งสองประเทศจะรวมโดยเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซง ของชาติมหาอำนาจ โดยรวมกันเป็นหนึ่งอย่างสันติไม่คำนึงถึงความเชื่อ อุดมการณ์ แต่ในปัจจุบันอนาคตของการรวมประเทศยังคงอีกยาวนาน เพราะทั้งสองชาติมีสภาพเศรษฐกิจและสังคมไม่สอดคล้องกันแล้วหลังจากแยกกันมา 65 ปี
อย่างไรก็ดี การประกาศหยุดโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ มีประกาศเสริมซึ่งสื่อต่างชาติไม่ค่อยให้ความสนใจ ใจความว่าที่ตนเองยุตินิวเคลียร์เพราะว่าต้องการลดนิวเคลียร์ทั่วโลก ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าตนเองพร้อมกับประชาคมโลกตามสนธิสัญญาไม่เผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ (Non-Proliferation Treaty หรือ NPT) ซึ่งระบุว่าต้องไม่เผยแพร่ ลด และยกเลิกใช้ “เป็นการส่งสัญญาณจากเกาหลีเหนือ โดยวิจารณ์ประเทศมหาอำนาจ ว่าทำไมไม่ทำตาม NPT ทำไมประเทศมหาอำนาจถึงมีนิวเคลียร์ได้ และกดดันไม่ให้ชาติอื่นมี แต่ตัวเองดันมีเพื่ออ้างว่าต้องป้องกันตัว” อาจารย์ไชยวัฒน์กล่าว
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้