รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 07/05/2018 นักวิชาการ: เภสัชกร ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน อาจารย์ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ
ข่าวการดำเนินคดีผลิตภัณฑ์เสริมความงามและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อ “เมจิกสกิน” พบว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวใช้เครื่องหมายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ปลอม และผลิตอาหารเสริมไม่มีคุณภาพ หลอกลวงผู้บริโภค เป็นข่าวใหญ่ที่ทำให้สังคมไทยตระหนักถึงพิษภัยของผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ไม่ได้ มาตรฐานอีกครั้ง หลังจากที่ธุรกิจเหล่านี้ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำจากการขายมานานนับปี
ตามทัศนะของ เภสัชกร ดร.วีระพงษ์ ประสงค์จีน อาจารย์ภาควิชาชีวเคมีและจุลชีววิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นว่า ทางออกของปัญหาอยู่ที่การปิดช่องโหว่ในกระบวนการตรวจสอบของ อย. ทั้งนี้ การขึ้นทะเบียนของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอยู่ในการควบคุมของ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งกำหนดมาตรฐานการกำกับดูแล เช่น มาตรฐานของสถานที่ผลิต หรือนำเข้าใบอนุญาตผลิตหรือนำเข้าและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ต้องมีฉลากโภชนาการ ไม่ใส่สารอันตรายตามประกาศกระทรวง เป็นต้น
ปัญหาหลักมักเกิดขึ้นจากการโฆษณาอวดสรรพคุณสินค้าเกินจริง จนผู้บริโภคบางคนเชื่อว่าอาหารเสริมหรือสินค้าต้องมีฤทธิ์ในการบำรุงรักษา หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางบวกต่อสุขภาพร่างกาย และเสริมสุขภาพความงาม เกิดการคุยกันปากต่อปาก ไปจนถึงการรีวิวสินค้าทางสื่อสังคมออนไลน์ และพัฒนาเป็นกระแสนิยม
“ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่จดทะเบียนนั้นจะโฆษณาบรรยายได้เพียงสรรพคุณทั่วไป ต้องไม่มีผลในการป้องกันหรือรักษาโรค ดังนั้นเขียนได้เพียงหน้าที่เหมือนวิตามินธรรมดา”
ตามหลักการ ผู้ขายจะกล่าวอ้างสรรพคุณของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้นั้น ก็ต่อเมื่อมีการทดลองในมนุษย์จนมีความสมเหตุสมผล มีงานตีพิมพ์วิชาการรับรองมากพอ แต่โดยพฤตินัยแล้ว ทาง อย.ก็ไม่สามารถตรวจในขั้นตอนการผลิตและการโฆษณาได้ละเอียดทุกขั้นตอน มีเพียงการสุ่มตรวจเท่านั้น
อาจารย์วีระพงษ์ชี้ว่า อย.เองก็มีข้อจำกัดในการตรวจตรา โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ช่องทางการสื่อสารมีทั้งออฟไลน์และออนไลน์ที่ น่าวิตกคือขณะนี้ อย.มีจำนวนบุคลากรไม่เพียงพอ เพราะธุรกิจอาหารเสริมโตวันโตคืน และมีจดขึ้นทะเบียนกับ อย. นับแสนรายการ นอกจากนี้ คดีฟ้องร้องเกี่ยวกับการโฆษณามีอายุความเพียงปีเดียว ขั้นตอนในการตามจับ หรือสืบหาเรื่องราวก็มักจะกินเวลาเกินกว่านั้น
แต่ล่าสุด ทาง อย. และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำลังทำระบบตรวจสอบการโฆษณาของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ในขณะเดียวกัน ทางด้านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็มีระบบตรวจสอบเลขทะเบียนโรงงานผู้ผลิตอาหารเสริมที่ได้รับการรับรองจากทางสภาอุตสาหกรรม เป็นการรับประกันคุณภาพอีกรูปแบบหนึ่ง
อาจารย์วีระพงษ์ชี้ว่า ต่อไปควรมีการตรวจตราตั้งแต่ในระดับชุมชน ไม่ใช่แค่การส่งปัญหามาให้ส่วนกลางแก้ไข แต่ทางด้านหน่วยงานในท้องถิ่น อาทิ โรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข และศูนย์ปฐมภูมิต่างๆ ควรมีบทบาทมากกว่านี้ รวมถึงพัฒนาระบบการตรวจสอบให้ทันสมัย เข้ากับเทคโนโลยีของยุคปัจจุบัน
ผู้บริโภคเองก็ต้องตื่นตัวและตระหนักถึงความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ บางส่วนยังหลงยึดติดในมายาคติความงาม เช่น การมีผิวขาว มีหุ่นดี ผลักดันให้คนจำนวนมากหันไปใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพราะเชื่อว่าจะเป็นทางลัดไปสู่เป้าหมาย โดยยอมเสี่ยงอันตรายที่ตนเองไม่รู้ตัว ดังนั้นอย่าเชื่อคนขายถ้าหากสินค้าไม่น่าเชื่อถือ บรรยายสรรพคุณดีเกินจริง ผู้บริโภคจึงควรทำตัวเป็นนักเรียน นักค้นหาความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพ ตัวเองอย่างถูกวิธี
“ถึงมีเลข อย. ก็ไม่ได้หมายความว่าปลอดภัย เพราะเลขที่ได้จากการจดทะเบียนคือเลขจดโดยดูจากสารอาหารว่าเคยมีการใช้สารชนิดนี้อยู่แล้ว ซึ่งของ่าย และบริษัทเหล่านี้ก็มักจะใช้ทะเบียนแบบเดิมๆ ที่เคยมีการใช้แล้วมาขึ้นทะเบียน” โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เฉพาะกลุ่ม เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีการอวดอ้างสรรพคุณลดความอ้วน เพิ่มสมรรถภาพความแข็งแรง สมรรถภาพทางเพศ มักจะมีการ ปนเปื้อนยาที่ให้ผลรุนแรง
อาจารย์วีระพงษ์ให้คำแนะนำว่า “อย่าเชื่อคนขายทั้งหมด” แม้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมีการอวดอ้างว่าทำจากสารธรรมชาติก็ตาม เพราะไม่ได้เป็นตัวรับประกันว่าปลอดภัย ผลิตภัณฑ์บางชนิดอาจมีผลขัดขวางยารักษาโรค ดังนั้นผู้ป่วยโรคเรื้อรังบางโรคต้องควรระวัง และควรปรึกษาผู้รู้ เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพยา เพื่อหาข้อมูลที่ถูกต้อง เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
“ผู้ผลิตเองก็ต้องมีจริยธรรมที่ดีมากกว่านี้ ไม่มุ่งหวังผลกำไร แต่ต้องควบคุมมาตรฐานการผลิตให้ถูกต้องและปลอดภัย ขณะเดียวกันหน่วยงานตรวจสอบ ก็ต้องเร่งปิดช่องว่างทางกฎหมายที่มีอยู่ให้ได้” อาจารย์วีระพงษ์กล่าวสรุป
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้