รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
27 กรกฎาคม 2561
ข่าวเด่น
การเดินทางภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีให้เลือกหลากหลายเส้นทาง หนึ่งในวิธีการสัญจรในจุฬาฯ ที่มีสุดยอดแห่งนวัตกรรมช่วยให้เดินทางได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ที่สำคัญคือไม่ก่อมลพิษทางอากาศก็คือ CU TOYOTA Ha:mo รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนเพียง 5 กิโลวัตต์ สามารถวิ่งบนท้องถนนได้จริงในระยะ 50 กิโลเมตรและวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นความเร็วที่เหมาะสมกับการเดินทางภายในสถานศึกษา ด้วยรูปลักษณ์ของ CU TOYOTA Ha:mo ที่มีความกะทัดรัดและทันสมัย สามารถโดยสารได้เพียงหนึ่งที่นั่งเท่านั้น สดใสด้วยสีขาว ลายชมพูแซมสีดำ-เทา แถมวิ่งขึ้นเนินและที่ลาดชันได้ 11 องศา ใช้ระบบการชาร์จไฟแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป (เสียบปลั๊กและใช้ไฟกระแสสลับ 220 โวลท์) ใช้เวลาชาร์จ 6 ชั่วโมงก็มีพลังงานเพียงพอต่อการใช้งาน
CU TOYOTA Ha:mo เป็นความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และบริษัทคอนเน็คเต็ด ในการนำเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าสาธารณะมาใช้เชื่อมต่อการเดินทางเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ราบรื่น และไร้รอยต่อ สามารถเดินทางได้อย่างอิสระโดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กในการสัญจรบนท้องถนนครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น ภายในโตโยต้าซิตี้ที่โตเกียว โอโกยาม่า และโอกินาว่า ต่อมาถูกนำมาใช้ที่ประเทศฝรั่งเศสในเมืองเกรโนเบิล และประเทศไทยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในการใช้งานถือว่าสะดวกสบายและคล่องตัว ตั้งแต่สถานีที่ใช้บริการที่ครอบคลุมพื้นที่สำคัญภายในจุฬาฯ และเชื่อมต่อระบบขนส่งอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งยังมีช่องเก็บของท้ายรถไม่ต้องถือของหนักพะรุงพะรัง และที่สำคัญใช้พลังงานสะอาดที่ได้มาจากการชาร์จไฟ ซึ่งมีปลั๊กไฟให้บริการทุกสถานีและทุกช่องจอดรถ
สำหรับการเดินทางมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ เนื่องจากมีการชาร์จด้วยไฟฟ้า โดยมีอัตราค่าบริการเพียงแค่ 30 บาทต่อการใช้รถ 20 นาที ส่วนนาทีต่อไปคิดเพียงนาทีละ 2 บาท
แค่เปลี่ยนวิธีการเดินทางก็ช่วยประหยัดพลังงานได้ Together we can มันใจเราทำได้!
ขอเชิญนิสิตจุฬาฯ เข้าร่วมโครงการ The Comprehensive course in Japanese Business Innovation Program หลักสูตรเชิงลึกด้านนวัตกรรมธุรกิจญี่ปุ่น
อบรม “เสริมศักยภาพธุรกิจอาหาร: การประเมินคาร์บอนเพื่อความสำเร็จในยุคใหม่”
วันเด็กสยาม 2568 “CHULA LAND แดนเด็กเล่น” ครั้งแรกที่จุฬาฯเปลี่ยน ‘สยาม’ ให้เป็น ‘สนาม’ เด็กเล่น
ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลอายุรแพทย์ดีเด่น ด้านวิชาการ ประจำปี 2568
จุฬาฯ จัดพิธีตักบาตรเนื่องในโอกาสขึ้นพุทธศักราชใหม่ 2568
ขอเชิญอาจารย์และนิสิตจุฬาฯ เสนอชื่ออาจารย์หรือสมัคร เพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็น “อาจารย์แบบอย่างสภาคณาจารย์” ประจำปีการศึกษา 2567
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้