โรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ


โรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ ณ อาคารจันทนยิ่งยง เปิดทำการวันแรก 22 เมษายน 2564 เพื่อเตรียมพร้อมรองรับนิสิต-บุคลากรจุฬาฯ ที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการน้อย ไม่มีความจำเป็นต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล ไม่สะดวกในการกักตัวที่บ้าน

(สำนักงานโรงพยาบาลสนาม ตั้งอยู่ใต้ถุนอาคารจุฬาพัฒน์ 14)

แผนที่


รู้จักโรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ

โรงพยาบาลสนามสำหรับโควิด-19 คือสถานที่ที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการหรือมีอาการน้อย ในกรณีที่เกิดการระบาดของโรค ซึ่งเกินศักยภาพการจัดระบบบริการในโรงพยาบาลทั่วไป เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์และชุมชน ทั้งช่วยลดภาระเตียงในโรงพยาบาลต่างๆ

โรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ อยู่ที่อาคารจันทนยิ่งยง สำนักงานโรงพยาบาลสนาม ตั้งอยู่ที่ใต้ถุนอาคารจุฬาพัฒน์ 14

ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการน้อย ไม่มีความจำเป็นต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล ไม่สะดวกในการกักตัวที่บ้าน สามารถรองรับได้จำนวน 100 เตียง

เปิดทำการวันแรก 22 เมษายน 2564 สำนักงานโรงพยาบาลสนาม เปิด 7.00 – 19.00 น. จอดรถได้ที่อาคารจอดรถ 4 ทางเข้าฝั่งจุฬาฯ 12

ติดต่อผ่าน Call Center ของศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ โทร. 0 2218 1299 ผ่านกระบวนการคัดกรองและส่งตัวมาพักที่โรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ ผู้ติดเชื้อต้องรายงานอาการของตนเองรายวันผ่าน Google Form ผู้ติดเชื้อจะพักอยู่ในโรงพยาบาล จนกว่าแพทย์จะอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลสนามได้



เกณฑ์รับผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลสนาม

(17 เมษายน 2564)

ผู้ป่วยที่เป็นนิสิตหรือบุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจากผล swap ยืนยัน COVID-19 และแพทย์พิจารณา ตามเกณฑ์ดังนี้

  • อายุไม่เกิน 60 ปี หรืออยู่ในเกณฑ์พิจารณาของแพทย์
  • ไม่มีโรคประจำตัวรุนแรง โดยพิจารณาตามความเห็นแพทย์ผู้ประเมิน
  • สามารถดูแลตนเองได้
  • ใช้โทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารได้

มีอาการดังต่อไปนี้

  • ไม่มีไข้ (BT <38°C)
  • ไม่มีอาการไอรุนแรง/หอบเหนื่อย
  • ไม่มีอาการรุนแรงอื่นตามการพิจารณาของแพทย์

ผู้ป่วยที่เป็นนิสิตหรือบุคลากรที่ได้รับการดูแลอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และแพทย์พิจารณาให้ย้ายมาโรงพยาบาลสนาม


การพิจารณาย้ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลสนามมาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ผู้ป่วยที่มีอาการข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ให้พิจารณาย้ายมาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

  • มีไข้ BT >38.5°C สองครั้ง หรือ >39°C
  • ไอมาก เหนื่อย หอบ แน่นหน้าอก
  • SpO2 < 95%
  • มีอาการรุนแรงอื่นๆ ที่แพทย์พิจารณาว่าควรย้ายไปรับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาล

การจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน

เมื่อครบ 14 วัน นับจากวันที่ผลเป็นบวกครั้งแรก โดยนับวันที่ผลบวกครั้งแรกเป็นวันที่ 1 (D1) และจำหน่ายผู้ป่วยในวันที่ 15 (D15) พิจารณา Nasopharyngeal swab PCR เฉพาะรายที่แพทย์เห็นสมควร


การปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ในระหว่างกักตัวที่โรงพยาบาลสนาม จุฬาฯ

ควรปฏิบัติตนในระหว่างกักตัวอย่างเคร่งครัด

  1. ไม่ให้บุคคลอื่นมาเยี่ยมระหว่างที่แยกตัว
  2. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือถูมือด้วยแอลกอฮอล์เจล (หากมือเปรอะเปื้อน) เป็นประจำโดยเฉพาะ
    1. ภายหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ขณะไอ จาม หรือหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ
    2. ก่อนสัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้อื่นใช้ร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ฯลฯ
  3. ต้องอยู่ในโรงพยาบาลสนามตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ ควรสวมหน้ากากอนามัยหากยังมีอาการไอจามเป็นระยะ
  4. หากจำเป็นต้องเข้าใกล้ผู้อื่นต้องสวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างอย่างน้อย 1 เมตร (ยกเว้นในกรณีที่เป็นมารดาให้นมบุตร ยังสามารถให้นมบุตรได้ เนื่องจากไม่พบเชื้อในน้ำนม แต่มารดาควรสวมหน้ากากอนามัยและล้างมืออย่างเคร่งครัดทุกครั้งก่อนสัมผัสหรือให้นมบุตร) หากไอจามไม่ควรเข้าใกล้ผู้อื่นหรืออยู่ห่างอย่างน้อย 2 เมตร
  5. หากไอจามขณะที่สวมหน้ากากอนามัยอยู่ไม่ต้องเอามือมาปิดปาก เนื่องจากมืออาจเปรอะเปื้อน หากไอจามขณะที่ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยให้ใช้แขนหรือข้อศอกปิดปากจมูก
  6. ใช้ห้องน้ำ ให้ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำทำความสะอาดโถส้วมสุขภัณฑ์หรือพื้นที่ที่อาจเปื้อนเสมหะ น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งด้วยน้ำและน้ำยาฟอกผ้าขาวโซเดียมไฮโปคลอไรด์เข้มข้น 0.5% (ผสมน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 9 ส่วน)
  7. แยกสิ่งของส่วนตัว ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น จาน ชาม ช้อนส้อม แก้วน้า ผ้าเช็ดตัว โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
  8. ไม่ร่วมรับประทานอาหารกับผู้อื่น ควรให้ผู้อื่นจัดหามาให้แล้วแยกรับประทานคนเดียว
  9. ซักเสื้อผ้า ผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอก ถ้าทำได้ซักผ้าด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิน้ำ 70-90 องศาเซลเซียส
  10. แยกถุงขยะของตนต่างหาก ขยะทั่วไปให้ทิ้งลงถุงได้ทันที ขยะที่อาจปนเปื้อนเสมหะ น้ำมูก สารคัดหลั่งอื่น ๆ เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู ฯลฯ ให้ทิ้งในถุงพลาสติก เทน้ำยาฟอกผ้าขาวโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 0.05% (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 99 ส่วน) ลงในถุงเพื่อฆ่าเชื้อก่อนแล้วผูกปากถุงให้สนิท ก่อนทิ้งรวมกับขยะทั่วไปหลังจากนั้นต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ทุกครั้ง
  11. นอนพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไปและมีอากาศถ่ายเทสะดวก ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ งดดื่มน้ำเย็นจัด พยายามรับประทานอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ
  12. หากมีอาการป่วยเกิดขึ้นใหม่หรืออาการเดิมมากขึ้น เช่น ไข้สูง ไอมาก เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ หายใจ ไม่สะดวก เบื่ออาหาร ให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่พยาบาลทันที เพราะโรคนี้อาจมีอาการรุนแรงมากขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของความเจ็บป่วยได้
  13. ระหว่างการแยกตัว ทำความสะอาดเป็นประจำบริเวณพื้นที่ที่ผู้ป่วยพัก หรือจับต้องและเครื่องเรือนเครื่องใช้ เช่น เตียง โต๊ะ เก้าอี้ โทรศัพท์ ฯลฯ ด้วยน้ำและผงซักฟอกอย่างเหมาะสมกับวัสดุอุปกรณ์ ภายหลังครบกำหนดการแยกตัวข้างต้นให้ทำความสะอาดให้ทั่วถึงที่สุดเท่าที่ทำได้ด้วยน้ำยาฟอกผ้าขาวโซเดียมไฮโปคลอไรท์เข้มข้น 0.5% ข้างต้น

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับโรงพยาบาลสนาม

  • พักรักษาผู้ป่วย
  • ไม่มีการตรวจโรค

เป็นสถานที่พักรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้วเท่านั้น ไม่มีการตรวจคัดกรองโรค การตรวจคัดกรองโรคต้องทำที่สถานพยาบาลทั่วไป

  • ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย/เบา
  • ไม่มีอาการหนัก

สถานที่กักตัวสำหรับผู้ติดเชื้อที่ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์และชุมชน ทั้งช่วยลดภาระเตียงในโรงพยาบาลต่างๆ

  • ส่งต่อจากโรงพยาบาล
  • ไม่รับ walk-in

รับเฉพาะผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากสถานพยาบาลทั่วไปเท่านั้น ผู้ป่วยไม่สามารถขอเข้าพักที่โรงพยาบาลสนามได้เอง

  • เป็นทางเลือก “หนึ่ง”
  • ไม่เป็นทางเลือก “เดียว”

โรงพยาบาลสนามไม่ใช่ทางเลือกทดแทนสถานพยาบาลทั่วไปเพียงทางเดียว ผู้ป่วยสามารถเลือกพักรักษาใน Hospitel และที่พักอาศัยของตนได้

สื่อแนะนำและเอกสารเผยแพร่

เอกสารเผยแพร่

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า