รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
3 กุมภาพันธ์ 2566
ผู้เขียน ปริณดา แจ้งสุข
เปิดรับสมัครแล้ว! โครงการ “จุฬาฯ ชนบท” มอบทุนเรียนฟรีตลอดการศึกษาให้นักเรียนยากจนในชนบท เข้าถึงการศึกษาขั้นสูงในหลายคณะที่สนใจ หวังให้บัณฑิตพัฒนาชีวิตและภูมิลำเนา เริ่มสมัคร 14-23 กุมภาพันธ์นี้ ผ่านระบบ TCAS
สำหรับเด็กต่างจังหวัดฐานะยากจนคนหนึ่งกับชีวิตที่ต้องปั่นสามล้อบ้าง รับจ้างปั้นอิฐบ้าง เพื่อหาเลี้ยงครอบครัวและส่งตัวเองเรียนหนังสือ ความฝันที่จะเรียนในระดับอุดมศึกษาเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่า ดูจะริบหรี่และห่างไกล จะเอาเงินจากไหนเป็นค่าเล่าเรียน อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการดูแลความเป็นอยู่
จนเมื่อได้รับข่าวโครงการ “จุฬาฯ-ชนบท” นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ไม่ลังเลที่จะคว้าโอกาส ด้วยผลการเรียนในระดับดีและครอบครัวขาดทุนทรัพย์ ตามเกณฑ์ที่จะได้รับทุน นายชัยวัฒน์ ได้เข้าเรียนในคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนั่นเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิต ที่ทำให้หลายปีต่อมา สังคมได้รู้จัก นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ทำคุณประโยชน์ เป็นแบบอย่างและเป็นที่รักของประชาชนในจังหวัดที่ท่านมีวาระไปรับใช้ในฐานะ “พ่อเมือง” ปัจจุบัน ศิษย์เก่าโครงการ “จุฬาฯ-ชนบท” ผู้นี้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย
“ภูมิใจทุกครั้งเมื่อได้เห็นพี่เก่า ๆ จากโครการจุฬาฯ-ชนบท เล่าเรื่องราวชีวิตและความสำเร็จในหน้าที่การงานให้ฟัง ถือว่ามหาวิทยาลัยของเราได้สร้างคนที่มีความรู้และมีคุณภาพ ที่สร้างผลกระทบที่ดีให้กับสังคม” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืองวิทย์ บรรจงรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์จุฬา-ชนบท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว พร้อมเสริมว่าศิษย์เก่าของโครงการจุฬาฯ-ชนบท จำนวนมากมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคมหลากหลายด้าน ทั้งการแพทย์ สาธารณสุข อาจารย์ นักการสื่อสาร นักธุรกิจ ฯลฯ
“หลายคนเป็นผู้บริหารระดับประเทศ เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หลายคนกลับภูมิลำเนาของตนเอง ช่วยเหลือชาวบ้านและเกษตรกร”
ด้วยความตั้งใจที่จะเปิดโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียนที่เรียนดี แต่ยากจนในพื้นที่ชนบท จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ก่อตั้ง “ศูนย์จุฬาชนบท” ขึ้น และเริ่มเปิดรับนักเรียนจากชนบทเพื่อมาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่จุฬาฯ รุ่นแรกในปี 2525 จนปัจจุบัน มีนักเรียนที่ได้รับโอกาสนี้และจบการศึกษาในฐานะบัณฑิตจุฬาฯ แล้วทั้งสิ้น 2,328 คน (ข้อมูล ณ ปีการศึกษา 2565)
สำหรับปีการศึกษา 2566 นี้ โครงการจุฬาฯ-ชนบท จะเปิดรับสมัครนักเรียนรุ่นที่ 40 เพื่อรับทุนนี้ ระหว่างวันที่ 14 – 23 กุมภาพันธ์ 2566 ผ่านระบบการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี (TCAS) ในรอบที่ 2 (Quota)
ทุนการศึกษาในโครงการจุฬาฯ-ชนบท เป็นทุนที่เปิดกว้างให้นักเรียนจากต่างจังหวัด ได้เลือกเรียนในคณะที่ตนเองสนใจและมีความถนัด โดยทุนในโครงการจุฬาฯ-ชนบท มีด้วยกัน 3 แบบ ดังต่อไปนี้
เปิดรับ 161 ทุน โดยมีคณะที่เข้าร่วมโครงการ 16 คณะ (จากทั้งหมด 19 คณะ) ได้แก่
(สำหรับคณะที่ไม่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เนื่องจากคณะเหล่านี้มีโครงการให้ทุนการศึกษาของคณะเองจำนวนมากอยู่แล้ว)
**รายละเอียดและเงื่อนไขต่าง ๆ อ่านได้จากประกาศรับสมัคร โครงการจุฬาฯ-ชนบท
เป็นโครงการที่รับนักเรียนจากโรงเรียนปอเนาะพิเศษในโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยในปีการศึกษา 2566 เปิดรับสมัครด้วยกัน 2 คณะ รวม 9 ทุนการศึกษา ได้แก่
**รายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆ อ่านได้จากประกาศรับสมัคร โครงการจุฬาฯ-ชนบท โรงเรียนปอเนาะพิเศษฯ
เป็นโครงการพิเศษที่เน้นการรับนักเรียนในพื้นที่ที่ขาดแคลนทันตแพทย์โดยเฉพาะ (โดยมีเงื่อนไขการรับที่แตกต่างจากทุนคณะทันตแพทย์ของจุฬาฯ-ชนบท โครงการที่ 1) ดังนั้น นักเรียนต้องติดตามว่าในแต่ละปีการศึกษา โครงการนี้จะเปิดรับที่จังหวัดใด และจะต้องเป็นนักเรียนที่อาศัยอยู่ในภูมิลำเนานั้น เนื่องจากเมื่อเรียนจบจะต้องกลับไปปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ทีกำหนด เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนทันตแพทย์ในพื้นที่นั่นเอง
สำหรับปีการศึกษา 2566 นี้ จะเปิดรับนักเรียนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดตาก นครพนม สุรินทร์ ศรีสะเกษ และเชียงใหม่
**รายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆ อ่านได้จากประกาศรับสมัคร โครงการจุฬาฯ-ชนบท โครงการสืบสานปณิธานสมเด็จย่าทันตแพทย์จุฬาฯ-ชนบท
ฐานะของผู้ปกครองเป็นเรื่องหลักในการพิจารณา อ.เรืองวิทย์ กล่าว นอกจากนั้น นักเรียนต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่กำหนดตามเงื่อนไขของแต่ละโครงการด้วย
สำหรับขั้นตอนการคัดเลือกนักเรียนที่จะได้รับทุน มีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้
ผู้สมัครจะต้องทำการสอบ TGAT TPAT หรือ A-Level ซึ่งจัดสอบโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ตามแต่ที่คณะกำหนดไว้ โดยเกณฑ์ของแต่ละคณะก็จะแตกต่างกันไป ดังนั้นผู้สมัครจะต้องเข้าไปอ่านประกาศของคณะนั้น ๆ
ผู้สมัครต้องยื่นเอกสารประกอบการสมัคร เช่น เอกสารการขอรับทุนจุฬาฯ-ชนบท หนังสือรับรองเงินเดือนของบิดา-มารดา เป็นต้น เพื่อให้ทางศูนย์จุฬาฯ-ชนบท ได้พิจารณาถึงความจำเป็นในการขอรับทุนการศึกษา โดยคัดเลือกจากฐานะของผู้ปกครองเป็นหลัก
เมื่อคะแนนผ่าน เอกสารต่าง ๆ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว เจ้าหน้าที่จากศูนย์จุฬาฯ-ชนบทจะลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยมบ้านผู้สมัครเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและจำเป็นในการรับทุน
ข้อมูลทั้งหมดที่ได้ตรวจสอบจากทั้ง 3 ขั้นตอนข้างต้น จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการรับนักเรียนเพื่อพิจารณาร่วมกัน ซึ่งจะเป็นคณะกรรมการชุดใหญ่ที่ท่านอธิการบดีแต่งตั้งขึ้นเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกว่าใครเหมาะสมที่จะได้รับทุนจุฬาฯ-ชนบท เพื่อเข้าศึกษาในจุฬาฯ
เมื่อเข้ามาเป็นนิสิตจุฬาฯ ผ่านโครงการจุฬาฯ-ชนบทแล้ว นิสิตจะได้รับการสนับสนุนทั้งการเรียนและความเป็นอยู่ จนกว่าจะสำเร็จการศึกษา ดังมีรายละเอียด ดังนี้
อ.เรืองวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย ชักชวนน้อง ๆ นักเรียนมัธยมที่กำลังมองหาโอกาสทางการศึกษาเพื่อสานฝันชีวิตในอนาคตว่า “ทุกวันนี้ผมคิดว่าการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษานั้นง่ายกว่าสมัยรุ่นผมเยอะ เพราะฉะนั้นไม่ต้องท้อ ไม่ต้องเสียใจเลยว่าจะไม่มีเงินเรียนต่อ ขอให้เตรียมตัวทางวิชาการให้พร้อม เรื่องอื่นไม่ต้องกังวล เรื่องค่าใช้จ่าย ไม่ต้องกังวล เพราะจุฬาฯ-ชนบทจะช่วยสนับสนุนให้จนเรียนจบแน่นอน”
ครบทุกคำตอบ “กายภาพบำบัด” ฟื้นฟูและพัฒนาสุขภาพสำหรับคนทุกช่วงวัย ในงานประชุมวิชาการสภากายภาพบำบัด 21-22 พ.ย.นี้
แพทย์จุฬาฯ แนะวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ลดความเสี่ยงติดเชื้อในทุกวัย
มิตรเอิร์ธ (MitrEarth) แพลตฟอร์มความรู้ ชี้จุดเสี่ยง แจ้งเตือนภัยพิบัติ ลดความสูญเสีย
คีเฟอร์น้ำเกสรดอกกุหลาบ เครื่องดื่มสุขภาพต้านอนุมูลอิสระ ผลงานนิสิตจุฬาฯ คว้าเหรียญทองระดับโลก
The Skinov’e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
น้ำยายืดอายุกระดาษ นวัตกรรมจุฬาฯ อนุรักษ์เอกสารและภาพศิลปะโบราณให้คงสภาพอีกนานนับทศวรรษ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้